ผู้วิจัย
นายเทพพร โลมารักษ์ และคณะ
นวัตกรรมการเสริมสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์ (Social Innovation for Social Cohesion in Aging Society, Buriram Province)
บทสรุปผู้บริหาร
การนำนวัตกรรมการสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม เพื่อรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์ ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะทางสังคมผ่านกิจกรรรมทางกายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านการเรียนรู้หลักสูตรดนตรีและเพลงพื้นบ้าน การเสริมสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านยุทธศาสตร์วิชาชีวิตพฤฒพลัง และการเสริมสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมด้วยกลไกการพัฒนาระบบเครือข่ายการสนับสนุนทางสังคมผู้สูงวัยเพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัยรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัยนำเสนอนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูงอายุ โดยมีผลสำคัญผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ได้แก่
1. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้อย่างมีคุณค่า และสร้างกลไกที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พร้อมรับสังคมสูงวัย นวัตกรรมทางสังคมที่เกิดจากการวิจัยจะส่งเสริมและสนับสนุนให้คนทุกวัยใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีคุณภาพ มีแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม (social cohesion) และผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ 4 ชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์
2. ได้รูปแบบกิจกรรมการขับเคลื่อนสุขภาวะสังคมสูงวัยที่เหมาะสมจำนวน 4 ชุมชน
3. ประชาชนทุกช่วงวัยมีความรู้ด้านกฎหมายผู้สูงอายุ รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในสังคมได้
ผู้ที่จะได้รับผลกระทบ
1. ผู้สูงอายุในพื้นที่ 4 ตำบล ของจังหวัดบุรีรัมย์
2. ผู้สูงอายุสามารถปรับสภาพตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อันจะไม่เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม และชุมชน
4. ผู้สูงอายุและชุมชนเกิดความเข้มแข็งมั่นคงและมีความสุขมากขึ้น
ความคิดเห็น