ผู้วิจัย

สุธีรา สุนทรารักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแท่งเพาะชำจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าร่วมกับเปลือกถั่วลิสงซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งของชุมชน ในอัตราส่วนต่างๆ ด้วยแผนการทดลองแบบ Complete Randomized Design รวมหน่วยการทดลองทั้งสิ้น 18 หน่วยการทดลอง ทำ 3 ซ้ำ มี 6 ทรีทเม้นท์ โดยในแต่ละทรีทเม้นท์ มีอัตราส่วนระหว่างก้อนเชื้อเห็ดเก่า : เปลือกถั่วลิสง เท่ากับ 0 : 100, 40 : 60, 50 : 50, 60 : 40, 100 : 0 และดินปลูก โดยน้ำหนัก (กรัม) ตามลำดับ แล้วทำการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของ แท่งเพาะชำก่อนนำไปทดสอบปลูกพริก เพื่อศึกษาอัตราการงอกการเจริญเติบโตและสำรวจ ค่าความพึงพอใจของผู้ใช้แท่งเพาะชำโดยเน้นคุณสมบัติทางกายภาพ ผลการทดลองพบว่า ก่อนการทดลองปริมาณธาตุไนโตรเจนไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติระหว่าง ทรีทเม้นท์ ส่วนปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และความชื้น มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีปริมาณของเปลือกถั่วลิสงมากขึ้น ทั้งนี้หากพิจารณาความเหมาะสมจากลักษณะทางกายภาพด้านความคงทน คุณสมบัติทางเคมีด้านธาตุอาหารและปริมาณผลผลิตต้นกล้า พบว่า ทรีทเม้นท์ที่ 2 ซึ่งมีอัตราส่วนของก้อนเชื้อเห็ดเก่า : เปลือกถั่วลิสง ที่ 40 : 60 โดยน้ำหนัก (กรัม) มีความเหมาะสมมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวโดยสรุปได้ว่า ก้อนเชื้อเห็ดเก่าสามารถใช้เป็นวัสดุเพื่อการผลิตเป็นแท่งเพาะชำได้ ทั้งนี้การผสมเปลือกถั่วลิสงก็ได้ส่งผลต่อคุณสมบัติของแท่งเพาะชำที่ดีขึ้นอีกด้วย

บรรณานุกรม

[1] กรมวิชาการเกษตร. (2548). การตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์กรมวิชา การเกษตร. กรมวิชาการเกษตร. [2] กรมวิชาการเกษตร. (2562). การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเห็ดนางรมด้วยวัสดุเหลือทิ้งกากกาแฟ. สำนักงานวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. [3] จรินทร์ บัวขม. (2539). การเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้วัสดุเพาะฟางหมักผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [4] ณัฐพงษ์ สิงห์ภูงา. (2550). การเพาะเห็ดนางรมจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่แช่ในน้ำผสมด่างแทนการนึ่งฆ่าเชื้อ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [5] ปัญญา โพธิ์ฐิรัตน์. (2532). เทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. [6] วันทนา นาคีสินธ์. (2556). การใช้กากกาแฟทดแทนขี้เลื่อนในการเพาะเห็ดนางรมฮังการี. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศิลปากร. [7] วิภา ประพินอักษร. (2552). เห็ดและราในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. [8] สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [9] สุธีรา สุนทรารักษ์, เจนจิรา การรัมย์ และศศิธร ดัชถุยาวัตร. (2561). การใช้ประโยชน์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเหลือทิ้งร่วมด้วยวัสดุเสริมอาหารเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตเห็ดในชุมชน. ใน เรื่องเต็มการประชุมวิชาการวิทยาการสิ่งแวดล้อมระดับชาติ 2561 ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, หน้า 122-135. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หน่วยงานการอ้างอิง

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ไฟล์แนบ

pdf The National Environmental Conference 2020 suteera BRU nursary block

ขนาดไฟล์ 558 KB | จำนวนดาวน์โหลด 463 ครั้ง

ความคิดเห็น