ผู้วิจัย

อาจารย์อุกฤษฎ์ นาจำปา

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง อิฐมวลเบาจากเถ้าลอยผสมเม็ดพลาสติกโพลีสไตรีน ผู้วิจัย อาจารย์อุกฤษฎ์ นาจำปา ผู้ร่วมวิจัย นายธวัชชัย เสกขา นางสาวเจนจิรา อรกุล สถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2563 อิฐมวลเบาจากเถ้าลอยผสมเม็ดพลาสติกโพลิสไตรีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของอิฐมวลเบาจากเถ้าลอยที่ ซึ่งเป็นขยะทางอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าถ่านหินและเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาผสมเม็ดพลาสติกโพลิสไตรีน โดยการนำเถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าลอย ซึ่งใช้สูตรผสมทั้งหมด 6 สูตร แทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าลอยร้อยละ 50, 40, 30, 20, 10 และใช้ปูนซีเมนต์ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขึ้นรูปลูกบาศก์ขนาด 15 × 15 × 15 ลูกบาศก์ - เซนติเมตร โดยทำการทดสอบ ความสามารถในการทำงาน ความหนาแน่น การดูดซึมน้ำ การนำความร้อน และต้านทานความร้อน และกำลังรับแรงอัด จากการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของอิฐมวลเบาจากเถ้าลอย และเม็ดโพลีสไตลีน พบว่าการแทนที่เถ้าลอยในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทำให้คุณสมบัติทางกายภาพ และสมบัติเชิงกลของอิฐมวลเบาน้อยลง แต่ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของอิฐมวลเบาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการทดสอบสูตรผสมทั้ง 6 สูตร พบว่าสูตรผสมที่ 6 ที่ใช้ปูนซีเมนต์ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นสูตรผสมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด พบว่ามีความหนาแน่น 973.14 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การดูดซึมน้ำร้อยละ 3.84 การนำความร้อน 0.3391± 0.012 วัตต์ต่อมิลลิเคลวิน ความต้านทานความร้อน 0.1017 ตารางเมตรเคลวินต่อวัตต์ และมีกำลังรับแรงอัดมากที่สุด คือ 4.78 เมกกะปาสคาล ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย มอก. 2601 - 2556

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

       การทำอิฐสำหรับก่อสร้างของไทยได้ทำกันมานานแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวในแถบชนบท ซึ่งมีขนาดเล็ก และอิฐที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นอิฐมอญต่อมาได้มีการตั้งโรงงาน
ใช้เครื่องจักรมาช่วยมากขึ้น โดยอิฐที่ทำการผลิตมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้นได้แก่ อิฐบล็อก อิฐเบาหรืออิฐมวลเบา อิฐโฟม อิฐแก้ว โดยเฉพาะการผลิตอิฐมวลเบาในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างแบบใหม่สำหรับวงการก่อสร้างของไทย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นทางเลือกใหม่แก่วงการก่อสร้าง เนื่องจากอิฐมวลเบามีคุณสมบัติพิเศษ ที่แตกต่างจากอิฐชนิดอื่น ๆ    

       ตลาดอิฐมวลเบาในปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดวัสดุก่อสร้าง จึงถือเป็นโอกาสในการขยายตลาดของอิฐมวลเบา เนื่องจากเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ และเมื่อรวมกับคุณสมบัติของอิฐมวลเบาที่มีน้ำหนักเบา และขนาดที่เท่ากันทุกก้อน ซึ่งสามารถช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ทำงานก่อ และฉาบปูน ส่งผลให้กลุ่มผู้รับเหมามีแนวโน้มจะใช้อิฐมวลเบาแทนอิฐมอญมากขึ้น
เพราะสามารถลดต้นทุนค่าก่อสร้างงานฐานรากจากน้ำหนักรวมของอาคารที่ลดลง รวมทั้งลดการพึ่งพาแรงงานจำนวนมากในงานก่อสร้างที่กำลังเป็นปัญหาของผู้รับเหมาในปัจจุบัน (ธรัทนล
ศรีทองเติม, 2558)

       ในปัจจุบัน สารประกอบแร่ธาตุผสมเพิ่มมีบทบาทมากขึ้นในการผลิตอิฐมวลเบาในประเทศ โดยเฉพาะการนำขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น เถ้าลอย เป็นถ่านหินที่เหลือจากการจากผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ 25 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีส่วนประกอบของโลหะหนักเมื่อหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และความผิดปกติทางประสาท ดังนั้นเถ้าลอยขยะจากการผลิตกระแสไฟฟ้าถือเป็นมลภาวะอีกชนิดที่ทำให้เกิดมลภาวะโลกร้อน จึงเป็นวัสดุทดแทนการผลิตซีเมนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดผลกระทบต่อมลภาวะทางอากาศ ทั้งนี้ข้อมูลจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยรายงานว่าปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ    ในประเทศไทยมาจากอุตสาหกรรมซีเมนต์มากเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็นสัดส่วน 75 เปอร์เซ็นต์ซึ่งหมายความว่า ถ้าลดการผลิตซีเมนต์ได้บางส่วนจะสามารถลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (ณิชชา บูรณสิงห์, 2560)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

1.2.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาการใช้เถ้าลอยในการนำไปเป็นวัตถุผสานแทนที่ปูนซีเมนต์
ผลิตคอนกรีตมวลเบา

1.2.2 เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตมวลเบาจากเถ้าลอย เพื่อให้ได้คอนกรีตมวลเบาที่มีคุณสมบัติเฉพาะเทียบเท่าหรือเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย

1.2.3 เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาจากเถ้าลอย

ไฟล์แนบ

doc บทคัดย่อ

ขนาดไฟล์ 17 KB | จำนวนดาวน์โหลด 275 ครั้ง

doc ภาคผนวก

ขนาดไฟล์ 6 MB | จำนวนดาวน์โหลด 383 ครั้ง

ความคิดเห็น