บทคัดย่อ
การศึกษาพรรณไม้น้ําและคุณภาพน้ําในลําห้วยจระเข้มาก จากจุดศึกษา 6 จุด คือ บริเวณอ่างเก็บน้ํา
ห้วยจระเข้มาก บ้านม่วงใต้ บ้านบัว บิ๊กซี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ และชุมชนในเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การศึกษาครั้งนี้พบพรรณไม้น้ํา 28 ชนิด 24 วงศ์ จําแนกเป็น พืชใต้น้ํา 3 ชนิด 3 วงศ์ พืชลอยน้ํา
5 ชนิด 5 วงศ์ พืชโผล่เหนือน้ํา 3 ชนิด 2 วงศ์ และพืชชายน้ํา 17 ชนิด 14 วงศ์ ได้แก่ ดีปลีน้ํา
(Potamogeton malaianus Miq) สาหร่ายพุงชะโด (Cerariphyllum demersum Linn) สาหร่ายหางกระรอก
(Hydrilla verticillata) จอกหูหนู (Salvinia cucullata Roxb) ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forsk) ผักตบชวา
(Eichornia crassipes (Mart)) ผักกระเฉด (Neptunia oleracea Lour) แพงพวยน้ํา (Jussiaea repens Linn)
เอื้องเพ็ดม้า (Polygonum tomentosum Wild) บัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn) บัวสาย (Nymphaea
pubescens Willd) กระโดนน้ํา (Careya sphaerica Roxb) กระทกรก (Passiflora foetida Linn) กกเล็ก
(Cyperus pulcherrimus Willd) กกสามเหลี่ยมใหญ่ (Scirpus grossus Linn) กระถิน (Leucaena
leucocephalade) ขี้เหล็ก (Cassia siamea Britt) ชุมเห็ดไทย (Cassia tora Linn) ธูปฤาษี (Typha
angustifolia Linn) บอน (Colodium esculenta (Linn)) ไมยราบ (Mimosa pudica Linn) ไมยราบยักษ์
(Mimosa pigra Linn) ผักแว่น (Marsilea crenata Presl) สาบเสือ (Chromolaena oforatum Linn) หญ้าคา
(Imperata cylindrical Linn) หญ้าไซ (Leersia hexandra) หญ้าขน (Brachiaria mutica (Forssk) Stapf)
และ หญ้าใต้ใบ (Phyllanthus niruri Linn) ผลการศึกษาคุณภาพน้ํา พบว่า ออกซิเจนละลายน้ํามีค่าระหว่าง 0-
13.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี 4.80-105.63 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรด-ด่าง
7.20-7.53 อุณหภูมิ 30-31 องศาเซลเซียส สารแขวนลอย 0.3-19.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ความโปร่งแสง 16-81
เซนติเมตร และเหล็ก 1.25-1.67 มิลลิกรัมต่อลิตร ความสัมพันธ์ระหว่างพรรณไม้น้ํากับคุณภาพน้ํา พบว่า พรรณ
ไม้น้ํามีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับความโปร่งแสงและออกซิเจนละลายน้ําอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ
นัยสําคัญ 0.01 และพรรณไม้น้ํามีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับปริมาณเหล็ก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
อ่านฉบับเต็ม ความหลากหลายของพรรณไม้น้ําและคุณภาพน้ําในลําห้วยจรเขม้าก จังหวัดบุรีรัมย์
ความคิดเห็น