ผู้วิจัย
นายธเนศ เฮ่ประโคน, นางสาวรุ่งรัตน์ หัตถกรรม, นายดรัสวิน วงศ์ปรเมษฐ์
บทคัดย่อ
จังหวัดบุรีรัมย์มีการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวโดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี โดย ในปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1,627,328 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 5.97 มีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชาผ่านจุดผ่อนปรนทางการค้าช่องสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ผ่านมา ได้มีการร่วมประชุมหารือเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์ ราชอาณาจักรไทย กับจังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดบันเตียเมียนเจย ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อหาแนวทางสร้างความร่วมมือของทั้ง 3 จังหวัด เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและด้านเศรษฐกิจ โดยการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอารยธรรมขอมข้ามแดน และพัฒนาตลาดการค้าในบริเวณพื้นที่จุดผ่อนปรนทางการค้าช่องสายตะกู จังหวัดบุรีรัมย์ กับช่องจุ๊บโกกี จังหวัดอุดรมีชัย โดยในขณะนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกระดับช่องสายตะกูเป็นจุดผ่านแดนถาวรแล้ว (สิงหาคม 2560) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมรอประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวกัมพูชาและชาติอื่น ๆ สู่การท่องเที่ยวข้ามแดน นอกจากนี้ ในพื้นที่บริเวณชายแดนจังหวัดบุรีรัมย์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบอารยธรรมขอมที่น่าสนใจ โดยในฝั่งประเทศไทย คือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง ซึ่งมีปราสาทหินเมืองต่ำ ตั้งตระหง่านอยู่กลางชุมชน ชุมชนท่องเที่ยวบ้านโคกเมืองมีกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ แหล่งเรียนรู้ทอผ้าไหมลายผักกูด การทอเสื่อกกและแปรรูปเสื่อกก และกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มปราสาทเมืองต่ำ-ปราสาทเขาปลายบัด-กุฏิฤาษี-ปราสาทพนมรุ้ง เป็นต้น ในขณะที่ ฝั่งประเทศกัมพูชา มีปราสาทบันทายฉมาร์ซึ่งเป็นปราสาทหินยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีพื้นที่บริเวณปราสาทกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ในชุมชนบันทายฉมาร์ จังหวัดบันเตียเมียนเจย โดยในปี พ.ศ. 2560 มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมจำนวน 1,392 คนต่อปี มียอดการใช้จ่ายประมาณ 30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ชุมชนมีห้องพักจำนวน 30 ห้อง รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คนต่อคืน นอกจากการเที่ยวชมปราสาทบันทายฉมาร์ที่ยิ่งใหญ่แล้วยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ กิจกรรมท่องเที่ยวกลุ่มปราสาทตาโมน-ปราสาทตาควายบริเวณชายแดน กิจกรรมเรียนรู้ทำอาหารพื้นถิ่นกัมพูชา กิจกรรมเรียนรู้ทอผ้าไหมกัมพูชา กิจกรรมรับประทานมื้อเที่ยงหรูหราริมปราสาท-ดินเนอร์ใต้แสงเทียนเคล้าเสียงดนตรีพื้นบ้าน กิจกรรมนั่งเกวียนชมวิถีชุมชน เป็นต้น ปัจจุบันทั้งสองชุมชนต่างพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยวในชุมชน จนกระทั่งปัจจุบัน ทั้งสองชุมชนประสบความสำเร็จได้รับมาตรฐานการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ระดับมาตรฐานอาเซียน โดยมีจุดเด่นด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมกัน คือ มีปราสาทหินคนละยุคสมัยตั้งอยู่กลางชุมชนอย่างโดดเด่นเหมือนกัน ทั้งสองชุมชนอยู่ใกล้กันมากแต่ถูกเส้นพรมแดนและปัญหาความมั่นคงทางชายแดนแบ่งกั้นความสัมพันธ์มานาน ดังนั้นการยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนช่องสายตะกูเป็นด่านถาวรนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวข้ามแดนผ่านการศึกษารูปแบบโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชื่อมโยงทั้งสองชุมชนจะสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขยายต่อจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่แต่เดิม จุดปลาย (end node) บริเวณชายแดนนี้ มีอุปสรรค คือ อยู่ไกลบริเวณริมขอบประเทศ และอาจต้องย้อนกลับเส้นทางเดิม การศึกษาระบบโลจิสติกส์ท่องเที่ยวข้ามแดนนี้ จึงเป็นการปรับอุปสรรคเป็นโอกาสทางการท่องเที่ยวโดยการต่อขยายจุดปลายของเส้นทางท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงข้ามแดนเพิ่มความน่าสนใจ โดยการศึกษานี้ สร้างสองชุมชน คือ บ้านโคกเมือง และบันทายฉมาร์ ให้เป็นจุดท่องเที่ยว (tourism node) ที่มีศักยภาพในการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในอัตรา (scale) ที่ใหญ่ระดับจังหวัด เพื่อเสริมศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวหลักในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดบันเตียเมียนเจยนำไปสู่จุดขายด้านการตลาดอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายชุมชนการท่องเที่ยวแบบข้ามพรมแดน เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระดับท้องถิ่นให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และสร้างความร่วมมือระหว่างจังหวัดชายแดน เพื่อยกระดับทางด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภาพระดับชุมชนและระดับจังหวัดของทั้งสองประเทศ
บรรณานุกรม
กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย. (2548). คู่มือปฏิบัติการและคำแนะนำเกี่ยวกับเขตแดนของ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย. บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรช แอนด์ ดีไซน์. วุฒิไกร งามศิริจิตต์ และคณะ (2555). โครงการการศึกษาระบบขนส่งแบบตอบสนองความต้องการ สําหรับภาคบริการท่องเที่ยวเมืองพัทยา สืบค้นจาก https://elibrary.trf.or.th ศรีสมรัก อินทุจนทร์ยง และคณะ. (2013). รายงานวิจัยฉบับสมบรูณ์โครงการศึกษาโซ่อุปทานและตัวแบบข้อมูลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย. เศกสรรค์ ยงวณิชย์ และคณะ. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษาศักยภาพพื้นที่เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนไทย-สปป.ลาว กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย และ นครเวียงจันทน์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. Chen, C. F. & Chen F. S. (2010). Experience quality, perceived value, satisfaction and behavioral intensions for heritage tourists. Tourism Management, 31(1), 29-35. Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text, 2nd ed., Australia: Hodder Education. Gale, B. T. (1994). Managing customer value: Creating quality and service that customers can see. New York: The Free Press. Gelbman, A. (2008). "Using wellness elements for branding an exclusive image of tourism sites in the North of Israel", in Smith, M., and Puczko, L., (eds) Health and wellness tourism, Butterworth-Heineman, [S.l.], 335-340. Khot, S., Nonsiri, P. & Janchua, C. (2015). The Development of Community-based Tourism Standard: a Case Study of Banteay Chhmar Community-based Tourism, Cambodia. Journal of Global Business Review, : 17 (2) p. 29-50. Kaosa-ard, Mingsarn. (2008). the Integration of Sustainable Tourism Development of Mekong. Chiang Mai: Social Research Institute Chiang Mai University Komsan, S. (2008). Conceptual Framework of Tourism Logistic. Retrieved 24 January 2020. From http://www.tourismlogistics.com. Lambert, M. D. & Cooper, M.C. (2000). Issues in supply chain management. Industrial Marketing Management. Vol. 29, p. 65–83. Lumsdon, L. and Page, S. (2004) Progress in Transport and Tourism Research: Reformulating the Transport-Tourism Interface and Future Research Agendas?, In Les Lumsdon and Stephan Page (eds.), Tourism and Transport: Issues and Agenda for the New Millennium. London: Elsevier. McIntosh, Robert W. (1980). Tourism : Principles, Practices, Philosophies. New York : Wiley Press. Matznetter, J. (1979). Border and tourism: Fundamental relations. In Paper presented at the Tourism and Borders: Proceedings of the Meeting of the IGU Working Group-Geography of Tourism and Recreation.-Frankfurt: Institut für Wirtschaftsund Sozialgeographie der Johann Wolfgang Goethe Universität (61-73). Morm, S. (2018). A study of the community based tourism for successful implementation in Banteay Chhmar Temple, Cambodia. (Independent study, Master of Business Administration). Bangkok: Siam University. Pawson, S. (2017). The value of community-based tourism in Banteay Chhmar, Cambodia. Tourism Geographies, 19 (3), p.378-397. Woodruff, R. B. and Gardial, S. F. (1996). Know your customer: New approaches to understanding customer value and satisfaction. Cambridge, MA: Blackwell Publishers. Zeithaml, V. (1988). Consumer perceptions of price, quality and value: a means-end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52, 2-22.
แผนงานวิจัย
การพัฒนาความร่วมมือและสร้างคุณค่าเพิ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมข้ามแดนไทย-กัมพูชาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กับชุมชนบันทายฉมาร์ จังหวัดบันเตียเมียนเจย
Sustainable Cooperation Development and Added Value Creation of Cultural Tourism along Thailand – Cambodia Border: A Case Study of Khok Muang Community of Buriram Province and Banteay Chhmar Community of Banteay Meanchey Province
ความคิดเห็น