การบรรเลงดนตรีประกอบพิธีแกลออ

ผู้วิจัย

พนาสินธุ์ ศรีวิเศษ1

บทคัดย่อ

กลุ่มชาติพันธุ์กูยเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเขตอีสานตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ชาวกูย มีประเพณีและความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมเพื่อการบำบัดรักษาคนไข้ ด้วยวิธีการทางดนตรีบำบัดที่ได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน บทความวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาบริบททางดนตรีและองค์ประกอบของดนตรีประกอบพิธีกรรมแกลออของกลุ่มชาติพันธุ์กูย กรณีศึกษา: ชุมชนหมู่บ้านขามน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสารและการลงพื้นที่ภาคสนาม ด้วยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์จากผู้รู้ นักดนตรีและผู้ชมในชุมชน นำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ดนตรีสำหรับการบรรเลงประกอบพิธีกรรมแกลออ จะปรากฏอยู่ในหมู่บ้านขามน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการบรรเลงดนตรีจะเป็นการสื่อสารให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงมาประทับผู้เข้าทรง เพื่อการบนบานศาลกล่าวและปัดเป่ารักษาผู้ป่วย องค์ประกอบทางดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องดนตรี ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า คือ แคน และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี คือ กลอง เป็นการรวมวงดนตรีขนาดเล็ก จะเริ่มการบรรเลงบทเพลง ที่มีจังหวะปานกลาง เป็นเพลงทำนองลายพิเศษของการบรรเลงประกอบพิธีแกลออ ทำนองเพลงเต้ย และเพลงทั่วไป เพลงบรรเลงเป็นเพลงทำนองสั้น ๆ บรรเลงวนซ้ำทำนองไปมา สำหรับประกอบการฟ้อนรำของผู้เข้าทรง แบ่งโครงสร้างของบทเพลงเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน มีระบบเสียงที่เรียกว่าเพนทาโทนิค ดนตรีประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กูย มีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องดนตรีที่มีการนำเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาร่วมบรรเลง เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันและความสะดวกสอดคล้องกับความนำสมัยในยุคปัจจุบัน

บรรณานุกรม

Burutpat, S. (1994). Study of language and life of Kuy – Kuoy (Suay) from conversation. Bangkok: Saha Dhammik Ltd. . (1995). Encyclopedia of Kuy ethnic group. Nakorn Pathom: ASEAN Institute for Health Development Press, Mahidol University. Poungboot, S.(1984). Local songs and folk plays in Surin province. Bangkok: Krung Siam Press. Triprom, D. (2017, March 14), interview. Visutpat, M. (1990). Analysis of Thai music. Bangkok: Chuan Phim Press. Yutaekul, S. (2017, March 14), interview.

หน่วยงานการอ้างอิง

มานุษยสังคมสาร

ไฟล์แนบ

doc บทความ อ.พนาสินธุ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปรับแก้ไข5

ขนาดไฟล์ 0 B | จำนวนดาวน์โหลด 2942 ครั้ง

ความคิดเห็น