ผู้วิจัย

สุจิตรา ยางนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมมโหรีสู่สาธารณะ 2. กระบวนการเผยแพร่นวัตกรรมสื่อชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3. สรุปบทเรียนผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมสื่อชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านปะคำสำโรง ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การอภิปรายกลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างจากประชากรในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษา พบว่า 1) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมมโหรีสู่สาธารณะ ประกอบด้วย ตัวโน๊ต อัดเสียงทำนอง วีดิทัศน์ การขับเคลื่อนสู่สาธารณะผ่านรายการชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ตอน “มโหรีชีวิต” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS ) และข้อมูลพื้นฐานกลุ่มอนุรักษ์มโหรีพื้นบ้านปะคำสำโรง 2) กระบวนการเผยแพร่นวัตกรรมสื่อชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ สร้างความตระหนัก โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางการบริการวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กับ กลุ่มอนุรักษ์มโหรีพื้นบ้านบ้านปะคำสำโรง และ องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ และ 3) สรุปบทเรียนผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมสื่อชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การถอดบทเรียนเพื่อประเมินผลสำเร็จการขับเคลื่อนกิจกรรม ประเมินความพึงพอใจ ประเมินการรับรู้จากผู้รับชมการแสดงและผู้ว่าจ้าง คำสำคัญ : นวัตกรรม, สื่อชุมชน, สื่อสาธารณะ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การพัฒนาอย่างยั่

บรรณานุกรม

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์. ______. (2548). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม. ขนิษฐา โสดานิล และคณะ. (2549). การศึกษาค้นคว้าประวัติ ความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของวงมโหรีโคราช กรณีศึกษาวงรวมมิตรศิษย์หนองจอก จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา. คำล่า มุสิกา และคณะ. (2552). การศึกษาเรื่องการอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้ม จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). จง บุญประชา. (2557). การออกแบบสื่อการจัดแสดงเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน : กรณีศึกษาศูนย์เยาวชนสวนอ้อย. รายงานการวิจัย สาขาออกแบบลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ณัฐวดี ใจแสวงทรัพย์. (2557). การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดวงพร คำนูณวัฒน์. (2546). การดำเนินงานหอกระจายข่าวสารเพื่อสนองตอบความต้องการของชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). ประเวศ วะสี. (2546). ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2548). นวัตกรรมการเรียนรู้ : คน ชุมชน และการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.). วิจารณ์ พานิช. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สายธุรกิจ. Rogers, Everett M. (1995). Diffusion of Innovations. 4thed. New York: Free Press. Rogers, Everett M. (2003). Diffusion of innovations. 5th ed. New York: Free Press.

วงมโหรีพื้นบ้านเขมร มีเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นเฉพาะตัว มีทำนองที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นทำนองเพลงช้าหรือว่าทำนองเพลงเร็ว ผู้คนที่ได้เข้ามาชมมาฟังก็เกิดความประทับใจเห็นความสำคัญมากขึ้น เราต้องอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมนี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด ที่มาคำบอกเล่าของคำบอกเล่าของนายบุญช่วย ดัดตนรัมย์ (สัมภาษณ์, 2558)

“หากมีครูภูมิปัญญามโหรีท้องถิ่นเสียชีวิตไป ตามความชราภาพบ่อยขึ้น แนวโน้มอนาคตดนตรีมโหรีพื้นบ้านอาจจะต้องสูญหาย” จากประเด็นการสนทนาพูดคุยกับนักวิจัยชุมชน

“เมื่อก่อนเวลาละเล่นมโหรีเพลงที่เล่นนั้นไม่มีตัวโน๊ตเป็นการเล่นแบบวิธีการสัมผัส มันจึงมีความยากแก่การที่จะให้คนที่เล่นไม่เป็นเลยมาฝึก ซึ่งสมาชิกวงมโหรีที่สามารถละเล่นได้เพราะมีความชำนาญซึ่งสืบสานต่อจากครูเพลงที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว การที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้มาทำวิจัยถอดตัวโน๊ตเพลงวงมโหรีถือว่าคุ้มค่าได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้” คำบอกเล่า ของนายบุญมี ดีรื่นรัมย์ ผู้ประสานงานวงมโหรีพื้นบ้านปะคำสำโรง

     

    

    

     

          

         

 

ความคิดเห็น