ผู้วิจัย

รัฐศาสตร์ รอดไธสง ญาศุมินทร เย็นสกุล ณปภัช วรรณตรง

บทคัดย่อ

โครงงานวิจัยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และออกแบบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ โปรแกรมที่ใช้พัฒนาคือ Visual Studio Code, Photoshop, Android Studio และ Filezilla ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา คือ PHP, HTML, CSS และ JavaScript เฟรมเวิร์คที่ใช้ในการพัฒนา คือ Codeigniter Framework ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนา คือ MySQL การเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่น ๆ คือ API PayPal, API Mailgun และ API Facebook ผลของการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลสินค้า ข้อมูลสมาชิก ข้อมูลการซื้อ ข้อมูลการขาย ข้อมูลการชำระเงิน ข้อมูลการจัดส่ง ข้อมูลการประเมินคะแนนสินค้า ค้นหาสินค้า และมีการออกแบบเพื่อรองรับในส่วนการใช้งานของผู้สูงอายุ ผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จำนวน 43 คน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้ผู้สูงอายุ 20 คน กลุ่มบุคคลทั่วไป 20 คน และ กลุ่มผู้ดูแลระบบ 3 คน มีค่าเฉลี่ย 4.57 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจมากที่สุด คำสำคัญ: Electronic Marketplace, Elderly , Web Application

บรรณานุกรม

บุญชม ศรีสะอาด. 2541. วิธีการทางสถิติสําหรับการวิจัย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาร์น. ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุ แนวโน้ม และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย. ปฏิบัติ ปรียาวงศากุล. (2554). การออกแบบเกมดิจิตอลเพื่อผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร. ณปภัช วรรณตรง. (2561). การส่งเสริมรายได้ผู้สูงอายุภาคครัวเรือนภายใต้กระแสสังคมออนไลน์ ในพื้นที่ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานวิจัยเรื่องการส่งเสริมรายได้ผู้สูงอายุภาคครัวเรือนภายใต้กระแสสังคมออนไลน์ ในพื้นที่ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. เยาวลักษณ์ ศรีมาต และณปภัช วรรณตรง. (2559). ระบบซื้อ-ขายออนไลน์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์หัตถกรรมบ้านหนองบอน. วิทยา ศาสตบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์. สุณิสา ตรงจิตต์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม.

ไฟล์แนบ

pdf NCTIM2019-ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

ขนาดไฟล์ 329 KB | จำนวนดาวน์โหลด 568 ครั้ง

ความคิดเห็น