ผู้วิจัย

ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ [ผู้แต่งหลัก ] , โกวิท วัชรินทรางกูร, อารีรัตน์ เมืองแสน, อมฤทธิ์ บุพโต, ไพจิตร อภัยจิตต์, จันทรา ปักการะโถ, สุธาทิพย์ สารทพลกรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรทอ้ งถิ่น เรื่อง “อารยธรรมขอม” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การร่างหลักสูตร โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร และครูโรงเรียนพนมรุ้ง เพื่อวิเคราะห์จุด แข็งจุดอ่อนของหลักสูตรสถานศึกษา และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากนั้นได้นำมาจัดทำเป็นเอกสารแล้วจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการวิพากษ์หลักสูตรโดยผู้ร่วมวิพากษ์ประกอบด้วย คณะผู้วิจัย ครูผู้ชำนาญการด้านการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษา เมื่อได้ร่างหลักสูตรแล้ว คณะผู้วิจัยได้ส่งร่างหลักสูตรให้ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้องเกี่ยว กับวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้สำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของ โรงเรียนพนมรุ้งเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การใช้หลักสูตร คณะผู้วิจัยได้ทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียน ชั้น มัธยมปีที่ 1 และ 2 3) การประเมินผลหลักสูตรได้ดำเนินการประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามนักเรียน และสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนนักเรียน ผู้บริหาร เพื่อนครูที่สอน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ได้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องอารยธรรมขอมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผลการประเมินการใช้หลักสูตร พบว่าหลังเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่นอารยธรรมขอมหลังเรียนอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 และ 3.89 ตามลำดับ โดยนักเรียนมีความภูมิใจในแหล่งอารยธรรมขอมในท้องถิ่นของตน นักเรียนมีจิตสำนึกรักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของตนเอง รู้สึกรักประเทศชาติ และท้องถิ่นมุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคมและท้องถิ่นตามลำดับ นักเรียนมีความพึงพอใจในการ ปรับปรุงการเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นมากที่สุดคือด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการวัดผลประเมินผล และด้านคุณลักษณะ/บุคลิกภาพนักเรียน ผู้ปกครองอยากให้เด็กได้เรียนวิชานี้ต่อไป เพราะเป็นเอกลักษณ์ให้ภูมิใจในท้องถิ่นของตน กิจกรรมที่ผู้ปกครองภูมิใจคือเห็นบุตรได้แสดงละครเกี่ยวกับพนมรุ้ง และส่วนหนึ่งบุตรได้เล่าความรู้เกี่ยวกับพนมรุ้งให้ผู้ปกครองฟัง และเห็นบุตรวาดรูปและเขียนบรรยายเกี่ยวกับปราสาทพนมรุ้ง ครูผู้สอนกล่าวว่า วิชานี้เป็นที่สนใจของนักเรียน ชุมชนเสนอแนะว่า ถ้าจะให้ต่อเนื่อง ต้องให้หน่วยงานในท้องถิ่นเข้ามาช่วยสนับสนุนอีกทางหนึ่ง และต้องการให้โรงเรียนออกไปทำกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพนมรุ้งให้ชุมชนรับรู้ด้วย

ไฟล์แนบ

pdf การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง “อารยธรรมขอม”

ขนาดไฟล์ 105 KB | จำนวนดาวน์โหลด 352 ครั้ง

ความคิดเห็น