ผู้วิจัย
อาจารย์ ดร.เทพพร โลมารักษ์
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสมรรถนะด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา หลังการอบรมของครูโรงเรียน และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้วิทยาศาสตร์ของครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยโปรแกรมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็ม แบบทดสอบวัดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้บ่งชี้ระดับระดับสมรรถนะด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนกำหนดไว้ 4 ระดับ คือ ยอดเยี่ยม ชำนาญ เริ่มชำนาญ และเริ่มต้น ผลการประเมินสมรรถนะด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาหลังการอบรม ทั้ง 5 องค์ประกอบ พบว่า ผลการประเมิน (ค่าเฉลี่ยรายด้าน) เท่ากับ 2.48 (S.D.=0.41) ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพระดับเริ่มชำนาญ (Approaching Proficient) ส่วนผลการทดสอบหลังการฝึกอบรมด้วยโปรแกรมพัฒนาครูแบบบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 62.23 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.04 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของครูหลังการฝึกอบรมพบว่าคะแนนสอบของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นคะแนนความรู้ด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ของครู หลังหลังการอบรมสูงกว่าเกณฑ์ คำสำคัญ: สะเต็มศึกษา โปรแกรมพัฒนาครู ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ Abstract The purpose of this research was to (1) assess teaching competencies and skills after implementing a professional development instructional program integrated science, technology, engineering, and mathematics (STEM) for developing in-service science teachers’ pedagogical content knowledge, and (2) compare teachers’ achievement score on science content knowledge of the Education Development Foundation Schools, Buriram. Research instruments including the Professional Development Instructional Program Integrated STEM, teachers’ achievement score on science content knowledge and the rubric scoring assessment observational form and teachers’ achievement score on science content knowledge designed for classifying competencies’ levels of teaching and skills consisted of beginning, approaching proficient, proficient, and distinguished levels. The research findings revealed that competencies’ levels of teaching and skills in teaching and learning management of in-service science teachers was achieved as approaching proficient level (Mean = 2.48, S.D.=0.41)) in 5 aspects including --planning for STEM instruction, classroom environment and STEM classroom learning management, Strategies for encouraging student to learn effectively, feedback and assessment, and Teaching Reflection—with approaching proficient level of assessment. The results of t-test one sample indicated that teachers' achievement score on content knowledge after implementing the integrated STEM program was higher than the criterion score of 75% at the 0.01 level of significance. Keywords: STEM education, Professional Development Program, Pedagogical Content Knowledge, Competencies of teaching and learning management
บรรณานุกรม
เอกสารอ้างอิง ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์. รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). รายงานสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ STEM Education. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2559, จาก http://www.slideshare.net/focusphysics/stem-workshop-summary. พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21. นักบริหาร, 33(2), 49 – 56. สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2547. มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายการปฏิรูป วิทยาศาสตร์ศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สุมณฑา จุลชาต และวิสาข์ จัติวัตร์. 2556. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมมือโดยเน้น ครูเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู โรงเรียน ประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม). อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และ คณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19 (มกราคม–ธันวาคม 2556), 15 – 18 Baxter, J. A., & Lederman, N. G. 1999.Assessment and measurement of pedagogical content knowledge. In J.Gess-Newsome & N. G. Lederman (Eds.), “Examining pedagogical content knowledge” (pp. 147-161). Dordrecht, The Netherlands: Kluwer Academic Publisher. Bell, J., Veal, W. R., & Tippins, D. J. 1998. “The evolution of pedagogical content knowledge in prospective secondary physics teachers”. Paper presented at the annual meeting of the National Association for Research in Science Teaching, San Diego, CA. Breiner, J. M., Carla, C. J., Harkness, S. S., & Koehler, C. M.. (2012). What is STEM? A discussion about conceptions of STEM in education and Shelly Sheats Harkness Partnerships. School Science and Mathematics, 112(1),3-11. Chueng, M. (2011). Creativity in Advertising Design Education: An experimental study. Instructional Science, 39(6), 843 – 864. Dejarnette. (2012). America’s children: providing early exposure to STEM (science, technology, engineering and math) initiatives. Education, 133(1), 77–84. Duch, B. (2001). Writing problems for deeper understanding. In B. Duch, S. E. Groh, & D. E. Allen (Eds.), The power of problem-based learning: A practical “how to” for teaching undergraduate courses in any discipline (pp. 47-53). Sterling, VA: Stylus Publishing. Goodnough, K. (2006). Exploring problem-based learning in the context of high school science: Design and implementation issues. School Science and Mathematics, 106(7), 280-296. Han, S., Yalvac, B., Capraro, M.M., & Capraro, R. M. (2015). Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 11(1), 63-76. The Danielson Group. (2013). The Framework for Teaching Evaluation Instrument (2011/2013). Retrieved July 10, 2018, from http://www.danielsongroup.org/framework/ Torp, L., & Sage, S. (1998). Problems as possibilities: Problem-based learning for K-12 education. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development. Wayne, C. (2012). What is S.T.E.M. and why do I need to know? Retrieved February 10, 2018, from https://issuu.com/carleygroup/docs/stem12online.
หน่วยงานการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การประเมินประเมินสมรรถนะด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ในบริบทของครูโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์
Assessing of Teaching Competencies and Pedagogical Content Knowledge after Implementing the Professional Development Instructional Program Integrated STEM in Context of the Education Development Foundation Schools, Buriram
เทพพร โลมารักษ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
อีเมล : tepporn.lm@bru.ac.th
ความคิดเห็น