ผู้วิจัย

สุพัตรา รักการศิลป์ 1 / เอมอร แสวงวโรตม์ 2 / ผกามาศ มูลวันดี 3 / ฐิติพร วรฤทธิ์ 4 / แก้วมณี อุทิรัมย์ 5 / และทิพย์สุดา ทาสีดำ 6

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีที่มีต่อ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต และเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีที่มีต่อหลักสูตร บัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นปี และหมู่เรียน แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บุรีรัมย์ ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ สมมติฐาน ประกอบด้วย t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มีความ พึงพอใจต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิต โดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านเนื้อหา รายวิชา ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และ ด้านการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ที่มีอายุ ระดับชั้นปี และหมู่เรียนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

บรรณานุกรม

บุญชม ศรีสะอาด. (2554 : 121). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุรีวิยาสาส์น. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2554). การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร บัญชีบัณฑิตภาควิชาบัญชีการเงินและเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2554. รายงานการวิจัย. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. สาขาวิชาการบัญชี. (2555). หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). มคอ.2 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทาง การปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2558). Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York : Harper and Row. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610. yler, K., & Hastings, N. (2011). “Factors Influencing Virtual Patron Satisfaction with OnlineLibrary Resources and Services”. Journal of Educators Online. 8(2) : 1-34.

ไฟล์แนบ

pdf 97130-Article-Text-242434-1-10-20170824

ขนาดไฟล์ 222 KB | จำนวนดาวน์โหลด 1186 ครั้ง

ความคิดเห็น