ผู้วิจัย

ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง,อนงค์ ทองเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาบริบทของการเป็นอยู่ของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่อาศัย ในเขตพื้นที่เทศบาลเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2)เพื่อศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุ 3)เพื่อพัฒนาระบบบูรณาการสารสนเทศเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชาการผู้สูงวัย ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุตามจำนวนคือ250 คนเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 59ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสร้างเครื่องมือระบบบูรณาการสารสนเทศเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงวัย ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเป็นประชากรในเขตและประชากรแฝง มีกลุ่ม เกษียณอายุราชการ อาชีพค้าขาย อาชีพรับจ้าง และบางคนมีทักษะความรู้ด้านต่างๆ ความต้องการของผู้สูงอายุ พบว่า ภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ด้านแรก คือ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน ด้านที่สอง คือ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลและ ด้านที่สามคือ ด้านความมั่นคงทางสังคมผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและการคุ้มครองการพัฒนาระบบบูรณาการสารสนเทศเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชาการผู้สูงวัย ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์แบ่งส่วนการใช้งานออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับเจ้าหน้าที่ และระดับผู้บริหารผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบบูรณาการสารสนเทศมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีผ่านเกณฑ์การประเมินและสามารถนำไปใช้งานได้ ความสำคัญ การบูรณาการระบบสารสนเทศ, สังคมสูงวัย, การเพิ่มขึ้นของสังคมสูงวัย ,เทศบาลเมืองบุรีรัมย์

บรรณานุกรม

การละมุด โนดประโคน. (2556) ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์: องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ชัยวัฒน์ บุตรไชย (2554). การบูรณาการข้อมูลของแหล่งข้อมูลเสมือนโดยใช้เว็บเซอร์วิสและเพียร์-ทู-เพียร์ /ชัยวัฒน์ บุตรไชย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ธีระวัฒน์ จันทึก (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประชากรผู้สูงอายุที่มีผล ต่อการเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ธีระวัฒน์ จันทึก. (2556) เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. เพชรบุรี: โครงการตำราและหนังสือ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ธีระวัฒน์ จันทึก. (2557) อรรถประโยชน์ในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุภายใต้บริบทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ. 8ม 13-29. นันทนา อยู่สบาย. (2557) ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจระเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยบูรพา. พิมพ์ลักษณ์. พรทิพย์ เดชพิชัย (2558). รูปแบบและแนวทางการเตรียมการด้านสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น(2561) .สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.จาก www.nic.go.th/สารสนเทศสถิติ/บทความวิเคราะห์/358-สูงวัย-ใจสตรอง.html ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2534) แนวทางการจัดการบริการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ กรุงเทพฯ สมควร ใจกระจ่างและคณะ.(2552) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลประชากรและสุขภาพชาวเขา.แม่ฮ่องสอน: ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2557) รูปแบบการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม: กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์ (2556).สรุปประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามหมวดอายุ เป็นรายอำเภอและเขตการปกครอง พ.ศ.2556 จากhttp://buriram.old.nso.go.th/nso/project/search_option/search_result.jsp อุทุมพร ศตะกูรมะและคณะ. (2556) ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก: วารสารบัญฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ABSTRACT

 

There are three aspects in this study. The first aspect is studying living conditions of elders who live in the town municipality in Buriram province. The second aspect is to study the requirements of elders. The last aspect is to develop information systems integration of elder for support increasing aging society in town municipality in Buriram province. Quota sampling was used in this study. The sample involved 250 elders who are older than 59 years old from various communities. The research instruments are questionnaire and deep interview.The data analysis of the study is percentage, the samples mean, standard deviation and developing information systems integration of elder for support increasing aging society in town municipality in Buriram province.

The result of the study found that there is increasing number of elders. The elders are population who live in town municipality and nonregistered population. The elders include elderly retired, elders who are merchant, elder who has other knowledge and elder who are an employee. The elders have generally high requirement. The first requirement is creating service and creating helping connection. The second requirement is health and medical treatment. The last requirement is social security and caretaker for elders. The information systems integration of elders for support increasing aging society is divided into two levels: officer and manager level. The result of evaluation of information systems integration of elder for support increasing aging society was held in high regard, it passed the assessment and is deemed fit for use

 

Keywords: Information Systems Integration, Aging Society, Increasing Aging Society, Town Municipality in Buriram

ไฟล์แนบ

pdf บทความ การบูรณาการระบบสารสนเทศผู้สูงอายุ

ขนาดไฟล์ 827 KB | จำนวนดาวน์โหลด 560 ครั้ง

ความคิดเห็น