ผู้วิจัย
กิ่งแก้ว ปะติตังโข
บทคัดย่อ
การวิจัยข้าวพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูล ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ (2) สำรวจข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ (3) ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ (4) ศึกษาการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ โดยทำการสำรวจ และทำการสัมภาษณ์ แล้วนำมาทดลองปลูกในแปลงนา ผลการวิจัยพบว่า (1) จังหวัดสุรินทร์มีประเพณีแซนโดนตาที่นำข้าวไปประกอบการทำบุญ (2) ชนิดและพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ มีทั้งหมด 33 ชื่อ จำแนกเป็นข้าวเหนียว 8 ชื่อ ได้แก่ ก่ำ ป้องแอ้ว สันป่าตอง เหนียวดำต้นขาว เหนียวกอเดียว เหนียวขาวใหญ่ อีเตี้ย เหนียวลอย จำแนกเป็นข้าวเจ้า 25 ชื่อ ได้แก่ กรึม ข้าวไร่ คาบูร เจ้าลอย เจ้าเหลือง นางคง นางร้อย นางสะอาด เนียงกวงแดง เนียงทน บองกษัตริย์ ปะกาลำดวน ปะกาอำปึล ตาแห้ง มะลิแดง หอมนิล มะลินิลสุรินทร์ เมล็ดเล็ก ไรซ์เบอร์รี ลูกปลาแดง ลืมผัว สเน็ดเสาะ หน่วยเขือ ลูกปลา อีลอยแดง (3) ลักษณะสัณฐานวิทยาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง พบว่า มีความหลากหลายของลักษณะต่างๆ ได้แก่ การมีขนบนแผ่นใบ สีของแผ่นใบ สีของกาบใบ มุมของยอดแผ่นใบ สีของลิ้นใบ รูปร่างของลิ้นใบ ความยาวเยื่อกันน้ำฝน สีของหูใบ สีของข้อต่อใบกับกาบใบ สีของปล้อง และทรงกอ (4) การใช้ประโยชน์เพื่อบริโภคเป็นอาหาร เป็นสมุนไพร และการเลี้ยงสัตว์ คำสำคัญ: พันธุ์ข้าวพื้นเมือง การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง จังหวัดสุรินทร์
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2543). ข้าวพันธุ์ดี. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร. ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง=Sufficiency Economy. กรุงเทพฯ : วังอักษร. กิ่งแก้ว ปะติตังโข (2558). การสำรวจความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง เพื่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏ บุรีรัมย์. กิตติชาติ ชาติยานนท์. (2550). การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรให้ได้มาตรฐานตาม โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฎจันทรเกษม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. ฉวีวรรณ วุฒิญาโณ. (2543). พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร. ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. (2558). ศึกษาความหลากหลายของคุณภาพทาง ด้านโภชนาการในข้าวสีพันธุ์พื้นเมืองของไทย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ชาญ มงคล. (2536). ข้าว. กรุงเทพฯ : ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู. ทรายแก้ว มีสิน. (2547). โครงสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ข้าว พื้นเมืองไทย. ธีรยุทธ ตู้จินดา อภิชาต วรรณจิตร และสมวงศ์ ตระกูลรุ่ง. (2548). “ความก้าวหน้าของ การวิจัยข้าว” ใน ข้าว-มัน-กุ้ง ผลผลิตคู่ชีวิตคนไทย. ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ กัญญวิมว์ กีรติ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. นิตยา กนกมงคล. (2552). “งานบุญเดือนสิบ เวลาแห่งการอุทิศ” คุณธรรม จริยธรรมของ กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. บริบทจังหวัดสุรินทร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 จาก https:/th.wikipedia บุรีรัมย์ภูมิหลังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. (2555). บุรีรัมย์ : คณะกรรมการบริหารสภา วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. ประภา เหล่าสมบูรณ์. (2552). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของ เกษตรกรรายย่อย อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง. ร่วมจิตร นกเขา และคนอื่นๆ. (2550). การรวบรวมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ และ การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไร่ของจังหวัดชุมพร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ (วช.). สงกรานต์ จิตรากร. (2545). เอกสารประกอบการบรรยายในงานสัมมนาและนิทรรศการ “ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพข้าว”. กรุงเทพฯ : ศูนย์พันธุกรรม- วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 28 ตุลาคม 2545. สถาบันวิจัยข้าว. (2544). ฐานข้อมูลเชื้อพันธุ์พืช : ข้าว. (Plant Germplasm Database : Rice). ปทุมธานี : สำนักคุ้มครองพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร. สถาบันวิจัยข้าว. (2545). ข้าวกับคนไทย. ปทุมธานี : สำนักคุ้มครองพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร. สาร สาระทัสนานันท์. (2540). พิธีสู่ขวัญลำคำขวัญโบราณอีสานสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2551). ขวัญข้าว: งานอัญเชิญแม่โพสพคืนนา เฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว. (2557). คู่มือการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในครัวเรือน. กรุงเทพฯ : สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว. สุรพล ใจดี และไพฑูรย์ ทองพิทักษ์. (2531). สภาพการปลูกข้าวพื้นเมืองในเขต 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สถาบันข้าว กรมวิชาการเกษตร. เสถียร ฉันทะ. (2554). ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนใน ภาพตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรด. (ความหลากหลายทาง ชีวภาพ). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. IRRI-IBPRG Rice Advisory Committee. (1980). “Descriptors for Rice Oryza Sativa L. International Rice Research Institute and International Board for Plants Genetic Resources,” International Rice Research Institute. IRRI Rice Almanac 1993-1995. 142p.
หน่วยงานการอ้างอิง
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ความคิดเห็น