ผู้วิจัย

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา1* จารินี ม้าแก้ว2 สรรเพชร เพียรจัด3 ธัญรัศม์ ยุทธสารเสนีย์4 และ ผกามาศ มูลวันดี5

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้เตาเผาถ่านของชุมชนรอบป่าโคกกลางตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงที่เหมาะสมของชุมชนรอบป่าโคกกลาง และ 3) เพื่อถ่ายทอดขยายผลการใช้เตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงที่เหมาะสมของชุมชนรอบป่า กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ได้แก่ ผู้ที่ประกอบอาชีพเผาถ่านและมีเตาเผาถ่านรอบป่า 4 หมู่บ้าน 20 คน ผลการวิจัยพบว่าเตาเผาถ่านที่ชาวบ้านใช้เป็นเตาเผาถ่านแบบดั้งเดิม ใช้ดินปั้นขึ้นมา ใช้วิธีการขุดดินเป็นหลุมวางไม้ฟืนในหลุมจนเต็มแล้วพอกดินขึ้นเป็นเหมือนหลังเต่า ปัญหา คือ มีความแข็งแรงไม่มาก มีควันเยอะ การเผาแต่ละครั้งใช้เวลาหลายวัน จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่า เตาเผาถ่านโดยรอบชุมชนมีประมาณ 55 เตา มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกัน ทางคณะผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดพัฒนารูปแบบเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงที่เหมาะสมกับชุมชนรอบป่า โดยออกแบบโดยใช้ถังเหล็กวางแบบแนวตั้งสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก จากการทดลองพบว่าปริมาณถ่านไม้ที่ได้จากการเผาถ่าน 11.40 กิโลกรัม มีปริมาณควันจากปากปล่องด้านบนน้อยเนื่องจากเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มีการเจาะรูไว้ 3 ด้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการไล่อากาศในแต่ละด้านของถังให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ มีปริมาณขี้เถ้าและเศษถ่านที่เหลือจากการเผาถ่าน 0.91 กิโลกรัม ระยะเวลาที่ใช้ให้ความร้อนหน้าเตาเผาถ่านจนปิดเตาเผาถ่าน 120 นาที (2 ชั่วโมง) มีการหาอัตราการผลิตถ่านเป็น 5.70 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถเผาถ่านไม้ได้ 3 ครั้งต่อวัน

บรรณานุกรม

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). คู่มือการพัฒนาและการลงทุนพลังงานทดแทน: พลังงานชีวมวล. กรุงเทพฯ : เอเบิล คอนซัลแตนท์. ธรรมยศ ศรีช่วย. (2557). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน10 ปี (พ.ศ. 2555-2564). แหล่งข้อมูล: http://www.dede.go.th/dede/images/stories/aedp25.pdf. 15 กันยายน 2557. กระทรวงพลังงาน. (2557). สัมมนาเชิงวิชาการเพื่อระดมความคิดเห็นในการศึกษาภาพอนาคตพลังงานไทย2558. แหล่งข้อมูล: http://www.eri.chula.ac.th/eri-main/wpcontent/ uploads/2014/08/PP-Discuss-on-Thailand-Energy-Scenario-17-7-14.pdf. 19 กรกฎาคม 2557. อยู่ แขมพลกรัง. (2550). ถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้. นครราชสีมา : สำนักงานพลังงานจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงพลังงาน. จิระพงษ์ คูหากาญจน์. (2550). คู่มือการผลิตถ่านและน้าส้มควันไม้. กรุงเทพฯ : เกษตรกรรมธรรมชาติ. จิระพงษ์ คูหากาญจน์. (2543). ศักยภาพทางด้านพลังงานของถ่านกะลามะพร้าว. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนาพลังงานจากไม้ส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตผลป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. เทคโนโลยีที่เหมาะสม, สมาคม. (2549) คู่มือเตาเผาถ่าน 200 ลิตร. กรุงเทพฯ : พรินติ้งเซ็นเตอร์. ณัฐวุฒิ ดุษฎี และคณะ. (2554). โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสมงานออกแบบและพัฒนาเตาอบย่างไร้ควันและเตาผลิตถ่านยาวสำหรับชุมชน. เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ณัฐกิตติ์ รัฐศิลป์โภคิน. (2553). การศึกษาเปรียบ เทียบประสิทธิภาพเตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร ระหว่างแบบแนวนอนกับแบบแนวตั้ง. พิจิตร : สำนักงานพลังงานจังหวัดพิจิตร. ประลอง ดำรงไทย. (2540). การศึกษาทดลองเปรียบเทียบวิธีการผลิตและคุณภาพของถ่าน ตามวิธีการเผาแบบท้องถิ่นกับวิธีของกรมป่าไม้. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 35 สาขาพืชส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร อุตสาหกรรมเกษตร. 3-5 กุมภาพันธ์ 2540, หน้า 709-717. ประมวล เจริญยิ่ง และคณะ. (2549). การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชนป่าละหอกกระสัง ตำบลเขาคอก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). มาลี ภานุนำภา และคณะ. (2540). การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 35. สาขาพืช ส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร อุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วินัย ปัญญาธัญญะ. (2541). เทคโนโลยีการผลิตถ่านสำหรับชนบท. เอกสารทางวิชาการ เลขที่ ร 523 กลุ่มพัฒนาพลังงานจากไม้ ส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตผลป่าไม้. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. สมิต อินทร์ศิริพงษ์ และคณะ. (2555). การผลิตถ่านคุณภาพสูงจากกะลามะพร้าว. ราชบุรี : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา และคณะ. (2560). รูปแบบการสร้างจิตสำนึกท้องถิ่นเพื่อการอนุกรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(1), 60-71.

ไฟล์แนบ

pdf บทความวิจัย ม.ราชมงคลสุรินทร์ แก้ไข Rev.1

ขนาดไฟล์ 454 KB | จำนวนดาวน์โหลด 4996 ครั้ง

ความคิดเห็น