ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

ข้าวพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดบุรีรัมย์มีความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าว ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สำหรับปรับปรุงให้เป็นข้าวพันธุ์ดีต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูล ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรผู้ปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมือง (2) สำรวจพันธุ์ข้าวพื้นเมือง (3) เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง (4) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการสำรวจ ศึกษาจากการทดลองปลูกในแปลงนา และทำการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ในอดีตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพื้นเมืองมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีการทำนาที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีความเชื่อ ความเคารพและศรัทธาในเทพีแห่งข้าว เช่น มีพิธีแรกไถนา แรกหว่าน แรกเกี่ยว การทำขวัญข้าวท้อง การลงแขกดำนาเกี่ยวข้าว การรับขวัญข้าวเข้าลาน การรับข้าวเข้ายุ้ง การนำข้าวออกจากยุ้ง เป็นต้น ซึ่งพิธีดังกล่าวมีผู้จัดทำน้อยลง บางครอบครัวเลิกจัดทำเนื่องจากผู้ทำนารุ่นใหม่ๆ ไม่มีเวลา หรือไม่ให้ความสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ (2) พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในจังหวัดบุรีรัมย์ที่พบ 60 ชื่อพันธุ์ เป็น ข้าวเหนียว 15 ชนิด ได้แก่ ก่ำ บักหม่วย ป้องแอ้ว ปิดตานก ลืมผัว เล้าแตก สันป่าตอง หอมนางนวล เหนียวดำ เหนียวดำเจ้าพระยา เป็นต้น ข้าวเจ้า 45 ชนิด ได้แก่ กษัตริย์ ขาวพระเทพ เจ้าขาว เจ้าลอย เจาะจ๊าบต้นขาว ซุกรวง ดอกเหมย ดองเดียว ตะโก ตาเจริญ ตายา ตำเปรื้อน ไต้หวัน นางคง นางร้อย เนียงกวง ฟ้าลั่น มหาชัย รูจจำเปี๊ยะ ไรซ์เบอร์รี ละออง ยายเล็ม เป็นต้น (3) ลักษณะสัณฐานวิทยาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง พบว่า มีความหลากหลายของลักษณะต่างๆ ได้แก่ การมีขนบนแผ่นใบ สีของแผ่นใบ สีของกาบใบ มุมของยอดแผ่นใบ สีของลิ้นใบ รูปร่างของลิ้นใบ ความยาวเยื่อกันน้ำฝน สีของหูใบ สีของข้อต่อใบกับกาบใบ สีของปล้อง และทรงกอ (4) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ กินเพื่อสุขภาพ ด้านความเชื่อเรื่องคลำ ขายเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจของครัวเรือน และแปรรูป คำสำคัญ: พันธุ์ข้าวพื้นเมือง การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บรรณานุกรม

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2543). ข้าวพันธุ์ดี. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร. ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง=Sufficiency Economy. กรุงเทพฯ : วังอักษร. กิตติชาติ ชาติยานนท์. (2550). การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรให้ได้มาตรฐานตาม โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฎจันทรเกษม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. ฉวีวรรณ วุฒิญาโณ. (2543). พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร. ชาญ มงคล. (2536). ข้าว. กรุงเทพฯ : ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู. ทรายแก้ว มีสิน. (2547). โครงสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ข้าว พื้นเมืองไทย. ธีรยุทธ ตู้จินดา อภิชาต วรรณจิตร และสมวงศ์ ตระกูลรุ่ง. (2548). “ความก้าวหน้าของ การวิจัยข้าว” ใน ข้าว-มัน-กุ้ง ผลผลิตคู่ชีวิตคนไทย. ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ กัญญวิมว์ กีรติ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. ธีระ ธรรมวงษ์. (๒๕๕๙). การสำรวจความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจังหวัดชัยภูมิ. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. บุรีรัมย์ภูมิหลังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. (2555). บุรีรัมย์ : คณะกรรมการบริหารสภา วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. ประภา เหล่าสมบูรณ์. (2552). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของ เกษตรกรรายย่อย อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง. พีรเดช ทองอำไพ. (๒๕๕๘). “ทิศทางวิจัยข้าวรับสภาพ ‘อากาศเปลี่ยนแปลง’”. หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก. วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘. หน้า ๑๐. เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ. (๒๕๕๘). “ข้าวพื้นเมืองมีดีกว่าที่คิด”. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘. ร่วมจิตร นกเขา และคนอื่นๆ. (2550). การรวบรวมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ และ การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไร่ของจังหวัดชุมพร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ (วช.). สงกรานต์ จิตรากร. (2545). เอกสารประกอบการบรรยายในงานสัมมนาและนิทรรศการ “ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพข้าว”. กรุงเทพฯ : ศูนย์พันธุกรรม- วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 28 ตุลาคม 2545. สถาบันวิจัยข้าว. (2544). ฐานข้อมูลเชื้อพันธุ์พืช : ข้าว. (Plant Germplasm Database : Rice). ปทุมธานี : สำนักคุ้มครองพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร. สถาบันวิจัยข้าว. (2545). ข้าวกับคนไทย. ปทุมธานี : สำนักคุ้มครองพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร. สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว. (2557). คู่มือการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในครัวเรือน. กรุงเทพฯ : สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว. สุรพล ใจดี และไพฑูรย์ ทองพิทักษ์. (2531). สภาพการปลูกข้าวพื้นเมืองในเขต 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สถาบันข้าว กรมวิชาการเกษตร. เสถียร ฉันทะ. (2554). ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนใน ภาพตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรด. (ความหลากหลายทาง ชีวภาพ). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. IRRI-IBPRG Rice Advisory Committee. (1980). “Descriptors for Rice Oryza Sativa L. International Rice Research Institute and International Board for Plants Genetic Resources,” International Rice Research Institute. IRRI Rice Almanac 1993-1995. 142p.

ไฟล์แนบ

pdf รวม_compressed (1)

ขนาดไฟล์ 8 MB | จำนวนดาวน์โหลด 509 ครั้ง

ความคิดเห็น