ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์ มอร์โฟโลกีและฤทธิ์ทางชีวภาพของ สารนาโนอินทรีย์และนาโนโลหะอินทรีย์โดยมีผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติเป็นตัวรีดิวซ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH และ FRAP การต้านเชื้อราโรคพืช (A. niger, C. circinans และ S. sclerotiorum) ต้านเพลี้ยแป้ง (Pseudococcus sp.) และเพลี้ยกระโดด (Nilaparvata lugens (Stal)) ผลการศึกษาพบว่า ผลผลิตร้อยละของสารตัวอย่างสังเคราะห์ได้มากกว่า 80 % และขนาดของอนุภาคนาโนอินทรีย์ L1 เป็น 86 nm และ L2 เป็น 112 nm ส่วนขนาดของอนุภาคนาโนโลหะอินทรีย์อยู่ระหว่าง 48-62 nm รูปร่างของอนุภาคมีทั้งกลุ่มที่เป็นรูปเข็มและทรงหกเหลี่ยม ผลการต้านอนุมูลอิสระเทคนิค DPPH พบว่า สารตัวอย่างทั้งหมดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่สารที่ต้านอนุมูลอิสระได้ดีด้วยค่า IC50 ที่ต่ำคือ L1, C1 และ C3 สำหรับการต้านอนุมูลอิสระเทคนิค FRAP พบว่า สารที่รีดิวซ์ Fe3+ ไปเป็น Fe2+ ได้ดีที่สุดคือ L2 รองลงมาคือ C2 และ C4 ส่วนการต้านเชื้อราโรคพืช พบว่า สารตัวอย่างทั้ง 6 ชนิด สามารถต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคพืชแต่ละชนิดได้ โดยสารที่ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดีที่สุด คือ สาร C1 ส่วนการกำจัดเพลี้ยแป้ง พบว่า สารทั้งหมดกำจัดเพลี้ยแป้งได้ แต่สารตัวอย่าง L2 และ C1 สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้ดีที่สุด โดยกำจัดได้ 100 % ในเวลาเพียง 15 นาที ที่ความเข้มข้น 0.010 โมลาร์ สำหรับการต้านเพลี้ยกระโดด พบว่า สารตัวอย่างทั้งหมดสามารถออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยกระโดดได้ตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น และสารตัวอย่าง L2 และ C1 สามารถกำจัดเพลี้ยกระโดดได้ดีที่สุด โดยกำจัดได้ 100 % ใช้เวลาเพียง 3 นาที ที่ความเข้มข้น 0.010 โมลาร์ ผลจากการวิจัยในครั้งนี้จึงมีประโยชน์ทั้งต่อกลุ่มเกษตรกรที่เผชิญกับปัญหาโรคและศัตรูของพืชเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อวงการเภสัชที่จะต้องนำสารเหล่านี้ไปทดสอบกับโรคที่เกิดกับมนุษย์อีกด้วย คำสำคัญ : เชื้อราโรคพืช เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด ซิฟฟ์เบส และฤทธิ์ทางชีวภาพ

บรรณานุกรม

การระบาดของเพลี้ยแป้งปี 53. (2553). ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2555 ค้นจาก http://www.tapiocathai.org/pdf/MealyBug/5_bug.pdf การระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง. (2555 : 1) ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555 ค้นจาก http://www.moac.go.th จิระะเดช แจ่มสว่าง. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2555 ค้นจาก http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=1768&keyword=hydroponic 2009. ณัฐพันธุ์ ศุภกา และ วราภรณ์ ถิรสิริ. (2549). นาโนเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : ศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ. เนื่องพณิช สินชัยศรี และสาทร สิริสิงห์. (2548). ข้อเท็จจริง การใช้สารเคมี กับ การพัฒนา เกษตร ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เยาวพา สุวัตถิ. (2009). ค้นจาก http://www.gpo.or.th/rdi/html/microbe.html ปิยนุช ทองผาสุก. (2550). ผลของรังสีแกรมมาต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารเคอร์คูมินอยด์ใน ขมิ้นชัน. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10 : 16-17 สิงหาคม 2550. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ. พรรณี เด่นรุ่งเรื่อง. (2550). “ฤทธิ์การการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกต้นวงศ์อบเชย”. ในรายงานผลงานวิจัย ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยการจัดการป่าไม้ และผลิตผลป่าไม้. รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวดสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรัญญา พรหมโคตร์. (2551). นาโนเทคโนโลยีขั้นต้น (เล่มที่ 1)= Introduction to Nanotechnology. ขอนแก่น : ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศิรศักดิ์ เทพาคำ. (2551 : 4). “นิยามละความสำคัญของนาโนเทคโนโลยี.” ใน นาโนเทคโนโลยี : งานวิจัยนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย. หน้า 4. ปทุมธานี : ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ศิระศักดิ์ เทพาคำ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการเรียนรู้หลักสูตรนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ. ปทุมธานี : ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนา- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. โอภา วัชระคุปต์. (2549). สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ : พีเอสพริ้นท์. โอภาษ บุญเส็ง. (2552). เพลี้ยแป้ง...มหันตภัยต่อมันสำปะหลัง. ค้นเมื่อ 3 เม.ย. 2555 ค้นจาก www. http://www.thaitapiocastarch.org/article20_th.asp Afrasiabi, Zahra, Sinn, Ekk, Lin, Weissheng, Ma, Yinfa, Campana, Charles, and Padhye, Subhash, (2005). Nickel (II) complexes of naphthaquinone thiosemicarbazone and semicarbazone: Synthesis, structure, spectroscopy, and biological activity, Journal of Inorganic Biochemistry, 99, 1526-1531. Al-Haiza, M.A., Mostafa, M.S., and El-Kady, M.Y. (2003). Synthesis and biological evaluation of some new coumarin derivatives, Molecules, 8, 275-286. Azmi, Asfar Sohail, Bhat, Showket Hussain and Hadi, S.M., (2005). Resveratrol-Cu(II) induced DNA breakage in human peripheral lymphocytes : Implications for anticancer properties, FEBS Letters, 579, 3131-3135. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity.” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. Dutta, Sabari, Padhye, Subhash, Priyadarsini, K. Indira, and Newton, Chris. (2005). Antioxidant and antiproliferative activity of curcumin semicarbazone. Bioorganic & Medicinal Chemistry Letters. 15, 2738-2744. He, Lili, Liu, Yang, Mustapha, Azlin, and Lin, Mengshi. (2011). “Antifungal activity of zinc oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum.” Microbiological Research. 166 : 207-215. Hsu, Fu-Lan, Chang, Hui-Ting, and Chang, Shang-Tzen. (2007). Evaluation of antifungal properties of octyl gallate and its synergy with cinnamaldehyde. Bioresource Technology. 98, 734-738. Jo, Young-Ki, Kim, Byung H., and Jung, Geunhwa. (2009). Antifungal activity of silver ions and nanoparticles on phytopathogenic fungi. Plant Diseases. 93, 1037-1043. Kostova, Irena, et al. (2005). Cytotoxic activity of new lanthanum (III) complexes of bis- coumarins. EJ Med Chem. 40 : 542-551. Kumari, Avnesh, et al. (2011). Nanoencapsulation and characterization of Albizia chinensis isolated antioxidant quercitrin on PLA nanoparticles. Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 224-232. Lee, Juneyoung, et al. (2012). “The Silver Nanoparticle (Nano-Ag): a New Model for Antifungal Agents,” ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2012 จาก www.Google.com Leonard, Kwati, et al. (2011). Insitu green synthesis of biocompatible ginseng capped gold nanoparticles with remarkable stability. Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 391-396. Lopez, Lidia M., et al., (2002). Effect of the lipophilic o-naphthoquinone CG 10-248 on rat liver mitochondria structure and function. Biocell. 26(2): 237-245. Lewis, Anne., et al. (2004). Treatment of pancreatic cancer cells with dicumarol induces cytotoxicity and oxidative stress. Clinical Cancer Research. 10 : 4550- 4558. Mahajan, R.K., Kaur Inderpreet, and Lobana, T.S. (2003). A mercury (II) ion-selective electrode based on neutral salicylaldehyde thiosemicarbazone. Talanta. 59 : 101-105. Smid, Eddy J., et al. (1995). Secondary plant metabolites as control agents of postharvest Penicillium rot on tulip bulbs, Postharvest Biological and Technology. 6 : 303-312. Tsair – Bor Yon and Chang, Shang. (2008). “Synergistic effects of cinnamaldehyde in combination with eugenol against wood decay fungi,” Bioresource Technology. 99 : 232-236. Wang, Sheng-Yang, Chen, Pin-Fun and Chang, Shang-Tzen. (2005). “Antifungal activities of essential oils and their constituents from indigenous cinnamon (Cinnamomum osmophloeum) leaves against wood decay fungi,” Bioresource Technology. 96 : 813-818.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคโลหะ Schift bases

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 697 ครั้ง

ความคิดเห็น