ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

ไซเดอโรฟอร์หมายถึงสารชีวภาพ (ทำหน้าที่เป็นตัวพาเหล็ก) ที่ได้จากแบคทีเรีย รา และพืชบางชนิด แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ด้านการเกษตร และอื่นๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียจากดินปากปล่องและดินจอมปลวกภูเขาไฟวนอุทยาน เขากระโดงที่สามารถผลิตไซเดอโรฟอร์ได้ มาเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีปริมาณของเหล็กต่ำ SA แล้วแยกชนิดของไซเดอโรฟอร์ด้วยเทคนิค CAS ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของ ไซเดอโรฟอร์ ต้านเชื้อราก่อโรคของหอมแดง และกระเทียม ผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสม ไซเดอโรฟอร์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสมไซเดอโรฟอร์ให้กับชุมชน เพื่อลดต้นทุนการผลิตหอมแดงและกระเทียม ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำดินปากปล่อง และ ดินจอมปลวกบนภูเขาไฟมาลงในอาหาร 4 ชนิด คือ Plate Count Agar, Brain Heart Infusion Agar (BHIA), Nutrient Agar (NA) และ Soil Extract Agar (SEA) มีแบคทีเรียมากมายหลายลักษณะ แต่คัดแยกมาศึกษา 96 ไอโซเลต เพื่อทดสอบความสามารถในการผลิตไซเดอโรฟอร์ด้วยเทคนิค CAS พบว่า มีแบคทีเรีย 81 ไอโซเลต ที่ผลิตไซเดอโรฟอร์ได้ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของตัวชี้วัดจากสีน้ำเงินเป็นสีส้ม แล้วเลือกอย่างเจาะจงมา 5 ไอโซเลต คือ MHB12, MHB13, MHB14, VMBH17 และVMBH18 เพื่อผลิตไซเดอโรฟอร์เพิ่มขึ้นในอาหารเหลว SA ส่วนชนิดของไซเดอโรฟอร์จากแบคทีเรีย MHB12, MHB13 และ MHB14 เป็นชนิดแคทีคอล สำหรับไซเดอโรฟอร์ที่ผลิตจาก VMBH17 และ VMBH18 เป็นชนิดไฮดรอกซาเมท ไซเดอโรฟอร์ทั้งสองชนิดสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger, Aspergillus porri, Botryotinia squamosa, Colletotrichum circinans และ Sclerotinia sclerotiorum ได้ดีที่สัดส่วนความเข้มข้น 0.25 กรัม/มิลลิลิตร เมื่อนำไปผสมปุ๋ยอินทรีย์แล้วทดสอบกับแปลงทดลอง พบว่า นอกจากไซเดอโรฟอร์เหล่านี้จะต้านเชื้อราก่อโรคได้แล้ว ยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของหอมแดง และกระเทียมได้ดีอีกด้วย จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสมไซเดอโรฟอร์ให้กับชุมชน เพื่อลดต้นทุนการผลิตหอมแดง และกระเทียมให้กับเกษตรกรปลูกหอมแดง และกระเทียม บ้านโคกเพ็ก ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ แบคทีเรียทั้ง 81 ไอโซเลต ที่แยกได้จากงานวิจัยนี้ ควรนำไปผลิต ไซเดอโรฟอร์ เพื่อทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านเชื้อราหรือแบคทีเรียก่อโรคของพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ สัตว์ ตลอดจนโรคต่างๆ ที่เกิดกับมนุษย์อีกด้วย

บรรณานุกรม

จิระเดช แจ่มสว่าง. (2550). การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี บนเส้นทางของการเกษตร ยุคใหม่. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2554, จาก http://www.thaigreenagro.com/Aticle. ธิติมา เขียงถุ่ง. (2551). อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีและระยะปลูกต่อผลผลิตและคุณภาพ ของข้าวดอกมะละ 105. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ปฐพีศาสตร์). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เนื่องพณิช สินชัยศรี และสาทร สิริสิงห์. (2548). ข้อเท็จจริง การใช้สารเคมีกับการพัฒนา เกษตรไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. แผนชุมชนบ้านโคกเพ็ก หมู่ที่ 12. (2550). บุรีรัมย์ : บ้านโคกพ็ก ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. เยาวพา สุวัตถิ. (ม.ป.ป.) การใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2554, ค้นจาก http://www.gpo.or.th/rdi/html/microbe.html 2009. ศศิธร วุฒิวณิชย์. (2545). โรคของผัก และการควบคุมโรค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมศักดิ์ จีรัตน์. (ม.ป.ป.). ผลของปุ๋ยอินทรีย์- ชีวภาพต่อการเติบโตของพืชและ การเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของดิน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมศักดิ์ วังใน และธงชัย มาลา. (2541). อิทธิพลของปุ๋ยเคมีที่ต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตของถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบศักดิ์ สนธิรัตน. (2540). การจัดการโรคพืช = Plant disease management. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ. (2550). อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดต่อการฟื้นฟู คุณสมบัติของดิน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุนทร มั่นคง. (2551). การศึกษาคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบางชนิดที่มีผลต่อการ ปรับปรุงโครงสร้างของดิน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. Arnow, L.E. (1937). Colorimetric determination of the component of 3,4- Dihydroxyphenylalnine-tyrosine mixture. Journal of Biological Chemistry. 118 : 531-537. Barnum, D. W. (1977). Spectrophotometric determination of the component of catechol, epinephrine, dopa, dopamine and other aromatic vic-diols. Analytica Chimica Acta. 89 : 157-166. Cody, Y.S., and Gross, D.C. (1987). Characterization of Pyoverdin pss. The Fluorescent siderophore produced by Pseudomonas syringae pv. syringae. Applied Environment Microbiology. 53 : 9284-9288. Derylo, M. et al. (1994). Siderophore activity in Rhizobium species isolate from different legumes. Acta Biochem Pol. 1 : 7-11. Farald-Gomez, Jose D. and Sansom, Mark S.P., Acquisition of siderophores in gram- negative bacteria. (2003). Nature reviews : Molecular Cell Biology. 4 : 105-116. Gillam, A.H., Lewis, A.G., and Andersen, R.J. 1981. Quantitative determination of hydroxamic acids. Analytical Chemistry. 53 : 841-844. Henry, M.B. et al. (1991). Role of siderophore in the biocontrol of Ps. Tolaasii by fluorescent pseudomonad antagonists. Journal of Applied Bacteriology. 70 : 2153-2162. Kaur, P. and Russell, J. (1998, Jul). Biochemical coupling between the DrrA and DrrB proteins of the doxorubicin efflux pump of Streptomyces peucetius. J. Biol Chem. 10; 273 (28) :17933-17939. Kissalita, W.S. et al. (1993). Define media for optimal pyoverdin production by Ps. Fluorescens. 2-79. Applied Microbiology and Biotechnology. 39 : 750-755. Neilands, J. B. (1967). Hydroxamic acids in nature. Science. 156 (3781) : 1443-1447. Persmark, Magnus, Expert, Dominique and Neilands, J.B., (1989) Isolation, characterization, and synthesis of chrysobactin, a compound with siderophore activity from Erwinia chrysanthemi. Journal of Biological Chemistry. 264 (6) : 3187-3193. Roosenberg, John M., Lin, Yun-Ming, Lu, Yong and Miller, Marvin J., Studies and syntheses of siderophores, microbial iron chelators, and analogs as potential drug delivery agents. (2000). Current Medicinal Chemistry. 7 : 159-197 Schalk, Isabelle J., Yue, Wyatt W., and Buchanan, Susan K., Recognition of iron-free siderophores by TonB-dependent iron transporters. (2004). Molecular Biology. 54(1) : 14-22. Schwyn, B., and Neilands, J.B. (1987). Universal chemical assay for the detection And determination of siderophores. Analytical Biochemistry. 160 : 47-56. Suneja, D.A., Sharma, P.K., and Lakshminarayana, K. (1992). Production of hydroxamate type of siderophore by Rhizobium sp. (cicer). Indian Journal of Microbiology. 32(2) : 181-183.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf การถ่ายทอดฯ หอมแดงและกระเทียม

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 1099 ครั้ง

ความคิดเห็น