ผู้วิจัย

บรรเจิด สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้แคโรทีนอยด์จากธรรมชาติเป็นแหล่งสารสีในอาหารปลาทอง แบ่งออกเป็น 2 การ ทดลอง คือการทดลองที่ 1 การศึกษาปริมาณแคโรทีนอยด์รวมในแครอท ฟักทอง มันเทศสีส้ม มันเทศสีม่วง และบีทรูท ซึ่งมีวิธีการเตรียมแตกต่างกัน คือ นึ่ง ต้ม และอบแห้ง พบว่าปริมาณแคโรทีนอยด์รวมในฟักทอง ทั ้งจากการนึ่งและต้ม มีค่าสูงสุด เท่ากับ 26.54±1.40และ 27.32±2.78 ไมโครกรัมต่อกรัม ตามล าดับ ปริมาณ แคโรทีนอยด์รวมจากการอบแห้งพบว่า แครอท มีปริมาณสูงที่สุด เท่ากับ 478±1.54 ไมโครกรัมต่อกรัม การทดลองที่ 2 เป็นการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการเกิดสีในปลาทอง วางแผนการทดลองแบบสุ่ม สมบูรณ์ มี 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ ้า ใช้ปลาทองน ้าหนักเริ่มต้นเฉลี่ยระหว่าง 18.21-18.98 กรัม อัตราการ ปล่อย 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร โดยใช้วัตถุดิบจากการอบแห้งผสมอาหารดังนี ้ อาหารสูตรควบคุม (T1) อาหารผสมแครอท (T2)อาหารผสมฟักทอง (T3)และอาหารผสมมันเทศสีส้ม (T4) โดยอาหารทุกสูตรมีปริมาณ โปรตีนเฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ ท าการชั่งน ้าหนัก วัดสี ค านวณปริมาณอาหารที่กินทุก ๆ 20 วัน ระยะเวลาการ ทดลอง 60 วัน พบว่า ปลามีอัตราการกินอาหารสูตร T3 สูงที่สุด อัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต จ าเพาะต่อวันและอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน ของปลาที่ได้รับอาหารทั ้ง 4 สูตร ไม่มีความแตกต่างกัน ทางสถิติ ปริมาณแคโรทีนอยด์รวมและปริมาณที่เพิ่มขึ ้นในเนื ้อปลาที่ได้รับอาหารสูตร T2 มีค่าสูงที่สุด ค่าความ สว่างและความเข้มสีแดงส้มในอาหารทุกสูตรไม่แตกต่างกัน ค่าเฉดสี hue ของปลากลุ่มที่ได้รับอาหารสูตร T2 ตั ้งแต่วันที่ 20 - 60 มีค่าสูงสุดเท่ากับ 70.88±8.87, 70.83±6.74 และ 80.76±4.34 ตามล าดับ ซึ่งมีความ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญ (p<0.05) ต้นทุนการผลิตอาหารปลาทดลองมีค่าอยู่ระหว่าง 38.61-39.93 บาทต่อกิโลกรัม จากการวิจัยสรุปได้ว่าเราสามารถใช้ฟักทองอบแห้งและแครอทอบแห้งเป็นแหล่งสารสีใน อาหารปลาทองได้ ซึ่งท าให้ปลามีสีแดงส้มและเฉดสี hue สูงที่สุด

บรรณานุกรม

Bandyopadhyay, P. Swain, S.K. and Mishra, S. 2005. Growth and dietary utilization in goldfish (Carassius auratusLinn.) fed diets formulated with various local agro-produces. Bioresource Technology 96: 731–740. Baranski, R., Allender, C. and Klimek-Chodacka, M. 2012. Towards better tasting and more nutritious carrots: Carotenoid and sugar content variation in carrot genetic resources. Food Research International 47: 182–187. Baron, M., Davies, S., Alexander, L., Grove, D.S. and Sloman, K.A. 2008. The effect of dietary pigments on the coloration and behavior of flame-red dwarf gourami, Colisa lalia. Animal Behaviour 75: 1041-1051. Britton, G., Liaaen-Jensen, S. and Pfander, H. 1995. Carotenoids. Volume 1A: Isolation and analysis. Birkhauser: Basel, Switzerland. 328 pp. Carvalho, L.M.J., Gomes, P.B., Oliveira Godoy, R. L., Pacheco, S., Monte, P.H.F., Carvalho, J.L.V., Nutti, M.R., Neves, A.C.L., Vieira, A.C.R.A. and Ramos, S.R.R. 2012. Total carotenoid content, α-carotene and β-carotene, of landrace pumpkins (Cucurbita moschata Duch): A preliminary study. Food Research International 47: 337-340.

ไฟล์แนบ

pdf ผลการใช้แคโรทีนอยด์จากธรรมชาติเป็ นแหล่งสารสีในอาหารปลาทอง

ขนาดไฟล์ 334 KB | จำนวนดาวน์โหลด 702 ครั้ง

ความคิดเห็น