โครงงานนี้ทำการศึกษาการสร้างเครื่องระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ
เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ มีจุดประสงค์ดังนี้ เพื่อสร้างระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะควบคุมด้วยไทม์เมอร์ ลดการใช้ไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองได้ และพัฒนาผลงานที่ประดิษฐ์ให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ จากการทดลองแผงเซลล์สุริยะจำนวน 2 แผงที่มีขนาด 10V และ 6V ต่อเข้ากับแบตเตอรี่ขนาด 12V 7AH ในการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ โดยใช้ไดโอดต่อเข้าที่แผงควบคุมของแผง
เซลล์สุริยะทั้ง 2 แผงเพื่อควบคุมทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะเข้าแบตเตอรี่ และนำไฟสปอร์ตไลท์ขนาด 60W ต่อเข้ากับไทม์เมอร์ขนาด 12V จากนั้นนำไฟสปอร์ตไลท์และไทม์เมอร์ต่อเข้าแบตเตอรี่ที่ได้ชาร์จไฟจากแผงเซลล์สุริยะแล้ว จากการศึกษาพบว่า เมื่อตั้งเวลาควบคุมการเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อทดลองเปิดไฟไว้ระยะเวลา 1, 2, 3, 4, 5, 6, และ 7 ชั่วโมง พบว่าได้ค่าความสว่างโดยเฉลี่ยสูงสุดเป็น 121 ลักซ์ และค่าแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการจ่ายโหลดสูงสุดคือ 0.29 จากการศึกษาแบตเตอรี่ขนาด 12V 7AH เมื่อใช้กับไฟฟ้าขนาด 60W สามารถใช้ได้นานโดยถึง 7 ชั่วโมง
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน การทดสอบเรื่อง ระบบเปิด-ปิดไฟส่องสว่างอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ
1 ตารางบันทึกผลการทดลอง
ตารางที่ 1 การทดลองการจ่ายพลังงานของแบตเตอรี่ และผลการทดสอบการวัดแสงจาก Lux meter
(ชั่วโมง)
จากตารางบันทึกผล สรุปได้ว่า
จากการทดลองพบว่าเมื่อทำการเปิดใช้งาน ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ พบว่าใช้เวลาในการทดลองแต่ละครั้งตั้งแต่เวลา 18.15 ถึง 01.15 นาฬิกา ส่งผลให้ได้ค่าความสว่างดังนี้ 121, 111.7, 101.3, 91.7,85.7, 67.7 และ 56.00 ลักซ์ ตามลำดับและพบว่าแรงดันไฟฟ้ามีค่าลดลงตามชั่วโมงการใช้งาน และสามารถใช้ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติได้นานถึง 7 ชั่วโมง ซึ่งมีค่าความสว่างสูงสุด เท่ากับ 121.00 ลักซ์ และค่าความสว่างต่ำสุด เท่ากับ 56.00 ลักซ์ โดยมีค่าแรงดันไฟฟ้าที่ลดลงสูงสุด เท่ากับ 0.29 โวลต์ และค่าแรงดันไฟฟ้าที่ลดลงต่ำสุด เท่ากับ 0.06 โวลต์
ตารางที่ 2 การทดลองการเก็บประจุแบตเตอรี่จากแผงเซลล์สุริยะ
(mA)
(Volt)
จากตารางบันทึกผลที่ 2 สรุปได้ว่า
จากการทดลองพบว่าเมื่อนำแผงเซลล์สุริยะไปชาร์จเข้ากับแบตเตอรี่ ใช้เวลาในการทดลองตั้งแต่ เวลา 08.00 ถึง 16.00 นาฬิกา โดยใช้ระยะเวลาในการชาร์จ 8 ชั่วโมง ส่งผลให้ได้ค่ากระแสที่สามารถไหลเข้ากับแบตเตอรี่ลดลง และค่าแรงดันของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีค่าแรงดันไฟฟ้าต่ำสุด เท่ากับ 12.18 โวลต์ และมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุด เท่ากับ 12.94 โวลต์ โดยมีค่ากระแสที่สามารถไหลเข้าแบตเตอรี่ได้ต่ำสุด เท่ากับ 4.5 มิลลิแอมป์ และค่ากระแสที่สามารถไหลเข้าแบตเตอรี่ได้สูงสุด เท่ากับ 7.6 มิลลิแอมป์
Tags: พลังงานเซลล์สุริยะ, ระบบเปิด-ปิดไฟ, อัตโนมัติ, โครงงาน, ไทม์เมอร์
Filter by Group type
Filter by Total Members number
ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ
ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ
โครงงานนี้ทำการศึกษาการสร้างเครื่องระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ
เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ มีจุดประสงค์ดังนี้ เพื่อสร้างระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะควบคุมด้วยไทม์เมอร์ ลดการใช้ไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองได้ และพัฒนาผลงานที่ประดิษฐ์ให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ จากการทดลองแผงเซลล์สุริยะจำนวน 2 แผงที่มีขนาด 10V และ 6V ต่อเข้ากับแบตเตอรี่ขนาด 12V 7AH ในการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ โดยใช้ไดโอดต่อเข้าที่แผงควบคุมของแผง
เซลล์สุริยะทั้ง 2 แผงเพื่อควบคุมทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะเข้าแบตเตอรี่ และนำไฟสปอร์ตไลท์ขนาด 60W ต่อเข้ากับไทม์เมอร์ขนาด 12V จากนั้นนำไฟสปอร์ตไลท์และไทม์เมอร์ต่อเข้าแบตเตอรี่ที่ได้ชาร์จไฟจากแผงเซลล์สุริยะแล้ว จากการศึกษาพบว่า เมื่อตั้งเวลาควบคุมการเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อทดลองเปิดไฟไว้ระยะเวลา 1, 2, 3, 4, 5, 6, และ 7 ชั่วโมง พบว่าได้ค่าความสว่างโดยเฉลี่ยสูงสุดเป็น 121 ลักซ์ และค่าแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการจ่ายโหลดสูงสุดคือ 0.29 จากการศึกษาแบตเตอรี่ขนาด 12V 7AH เมื่อใช้กับไฟฟ้าขนาด 60W สามารถใช้ได้นานโดยถึง 7 ชั่วโมง
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน การทดสอบเรื่อง ระบบเปิด-ปิดไฟส่องสว่างอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ
1 ตารางบันทึกผลการทดลอง
ตารางที่ 1 การทดลองการจ่ายพลังงานของแบตเตอรี่ และผลการทดสอบการวัดแสงจาก Lux meter
(ชั่วโมง)
จากตารางบันทึกผล สรุปได้ว่า
จากการทดลองพบว่าเมื่อทำการเปิดใช้งาน ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติจากพลังงานเซลล์สุริยะ พบว่าใช้เวลาในการทดลองแต่ละครั้งตั้งแต่เวลา 18.15 ถึง 01.15 นาฬิกา ส่งผลให้ได้ค่าความสว่างดังนี้ 121, 111.7, 101.3, 91.7,85.7, 67.7 และ 56.00 ลักซ์ ตามลำดับและพบว่าแรงดันไฟฟ้ามีค่าลดลงตามชั่วโมงการใช้งาน และสามารถใช้ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติได้นานถึง 7 ชั่วโมง ซึ่งมีค่าความสว่างสูงสุด เท่ากับ 121.00 ลักซ์ และค่าความสว่างต่ำสุด เท่ากับ 56.00 ลักซ์ โดยมีค่าแรงดันไฟฟ้าที่ลดลงสูงสุด เท่ากับ 0.29 โวลต์ และค่าแรงดันไฟฟ้าที่ลดลงต่ำสุด เท่ากับ 0.06 โวลต์
ตารางที่ 2 การทดลองการเก็บประจุแบตเตอรี่จากแผงเซลล์สุริยะ
(mA)
(Volt)
จากตารางบันทึกผลที่ 2 สรุปได้ว่า
จากการทดลองพบว่าเมื่อนำแผงเซลล์สุริยะไปชาร์จเข้ากับแบตเตอรี่ ใช้เวลาในการทดลองตั้งแต่ เวลา 08.00 ถึง 16.00 นาฬิกา โดยใช้ระยะเวลาในการชาร์จ 8 ชั่วโมง ส่งผลให้ได้ค่ากระแสที่สามารถไหลเข้ากับแบตเตอรี่ลดลง และค่าแรงดันของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีค่าแรงดันไฟฟ้าต่ำสุด เท่ากับ 12.18 โวลต์ และมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุด เท่ากับ 12.94 โวลต์ โดยมีค่ากระแสที่สามารถไหลเข้าแบตเตอรี่ได้ต่ำสุด เท่ากับ 4.5 มิลลิแอมป์ และค่ากระแสที่สามารถไหลเข้าแบตเตอรี่ได้สูงสุด เท่ากับ 7.6 มิลลิแอมป์
ไฟล์แนบ
Tags: พลังงานเซลล์สุริยะ, ระบบเปิด-ปิดไฟ, อัตโนมัติ, โครงงาน, ไทม์เมอร์