ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ซึ่งหมายถึง ซอฟต์แวร์และระบบที่ใช้ในการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทานหลัก การผลิต การบริการ การเงิน และกระบวนการอื่นๆ ขององค์กร ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรสามารถใช้ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในองค์กรเป็นไปโดยอัตโนมัติและง่ายขึ้น เช่น ระบบการบัญชีและการจัดซื้อ การจัดการโครงการ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการดำเนินงานซัพพลายเชน
แอปพลิเคชั่น ERP แต่ละตัวสามารถนำเสนอซอฟต์แวร์เป็นบริการ (SaaS) ในขณะที่ชุดแอปพลิเคชั่น ERP ที่สมบูรณ์จะสร้างระบบ ERP ที่สามารถใช้ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและรวมกระบวนการทางธุรกิจเข้าด้วยกันเพื่อเปิดให้การไหลของข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชั่นเป็นไปอย่างเป็นระบบ
ERP เชื่อมต่อทุกแง่มุมขององค์กร ระบบซอฟต์แวร์ ERP ที่ดีช่วยให้มีประสิทธิภาพและการจัดการโครงการที่ดีขึ้น อีกทั้งช่วยวางแผนงบประมาณ คาดการณ์ และรายงานสถานะทางการเงิน รวมถึงกระบวนการขององค์กรได้อย่างแม่นยำ ทำให้ผู้บริหารองค์กรสามารถมองเห็นการดำเนินงานได้ทั้งระบบผ่านแดชบอร์ด
สำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลเข้ากับระบบอื่นๆ และรับข้อมูลการสั่งซื้อ จัดซื้อจัดจ้าง ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย (Sales) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป หรือฝ่ายอื่นๆ และทำการคำนวณรวบยอด ไปจนถึงพัฒนาเป็นกราฟ และการแสดงผลอื่นๆ ให้เข้าใจง่าย
ช่วยในการเลือกพนักงานเข้า ประเมินผลพนักงาน กำหนดแผน Training พนักงานแต่ละส่วน ขาดลา มาสาย การกำหนด Expense Claim หรือการเบิกเงินค่าเดินทาง และค่าอื่นๆ ก็สามารถทำได้ทั้งหมด
นอกจากเพื่อเพิ่มศักยภาพพนักงานให้สูงยิ่งขึ้น ยังสามารถใช้กำหนดงบประมาณโดยรวมของทรัพยากรบุคคล เพื่อง่ายต่อการจัดการงบประมาณในอนาคตอีกด้วย
ทำให้สามารถทำใบแจ้งหนี้ ใบเสนอราคา ไปจนถึงติดตามลูกค้าและบันทึกข้อมูลวัตถุดิบ และสินค้าได้ง่ายขึ้น และมีการส่งข้อมูลไปให้ระบบการเงินโดยอัตโนมัติ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน
ที่คอยรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ มาสรุปและนำเสนอในรูปแบบเข้าใจง่าย ให้ทุกฝ่ายสามารถดูรายละเอียดได้ ไปจนถึงวิเคราะห์ข้อมูลยิบย่อยในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพวกข้อมูลระบบการจัดการวัตถุดิบ ข้อมูลสต็อก ข้อมูลค่าเสื่อม และอื่นๆ อีกมากมาย โดยระบบ ERP นั้นสามารถสร้างรีพอร์ตผลลัพธ์ออกมาให้ดูภาพรวมแบ่งเป็นกราฟได้โดยง่ายอีกด้วย
นอกจากจะควบคุมข้อมูลของแต่ละฝ่ายได้แล้ว ทางฝั่งผู้บริหารยังสามารถดึงข้อมูลจากส่วนอื่นๆ เพื่อมาตรวจสอบความถูกต้องและทำเป็นกราฟแสดงผลข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้เห็นภาพรวมการทำงานของธุรกิจ
รวมถึงจัดงบประมาณและจัดสรรค่าใช้จ่ายได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อวางกลยุทธ์ในปีต่อไปได้อีกด้วย
Filter by Group type
Filter by Total Members number
การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP)
การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP)
การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP)
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ซึ่งหมายถึง ซอฟต์แวร์และระบบที่ใช้ในการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทานหลัก การผลิต การบริการ การเงิน และกระบวนการอื่นๆ ขององค์กร ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรสามารถใช้ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในองค์กรเป็นไปโดยอัตโนมัติและง่ายขึ้น เช่น ระบบการบัญชีและการจัดซื้อ การจัดการโครงการ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการดำเนินงานซัพพลายเชน
แอปพลิเคชั่น ERP แต่ละตัวสามารถนำเสนอซอฟต์แวร์เป็นบริการ (SaaS) ในขณะที่ชุดแอปพลิเคชั่น ERP ที่สมบูรณ์จะสร้างระบบ ERP ที่สามารถใช้ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและรวมกระบวนการทางธุรกิจเข้าด้วยกันเพื่อเปิดให้การไหลของข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชั่นเป็นไปอย่างเป็นระบบ
ERP เชื่อมต่อทุกแง่มุมขององค์กร ระบบซอฟต์แวร์ ERP ที่ดีช่วยให้มีประสิทธิภาพและการจัดการโครงการที่ดีขึ้น อีกทั้งช่วยวางแผนงบประมาณ คาดการณ์ และรายงานสถานะทางการเงิน รวมถึงกระบวนการขององค์กรได้อย่างแม่นยำ ทำให้ผู้บริหารองค์กรสามารถมองเห็นการดำเนินงานได้ทั้งระบบผ่านแดชบอร์ด
ระบบ ERP ประกอบไปด้วย
1. ระบบการจัดการการเงิน
สำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลเข้ากับระบบอื่นๆ และรับข้อมูลการสั่งซื้อ จัดซื้อจัดจ้าง ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย (Sales) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป หรือฝ่ายอื่นๆ และทำการคำนวณรวบยอด ไปจนถึงพัฒนาเป็นกราฟ และการแสดงผลอื่นๆ ให้เข้าใจง่าย
2. ระบบทรัพยากรบุคคล
ช่วยในการเลือกพนักงานเข้า ประเมินผลพนักงาน กำหนดแผน Training พนักงานแต่ละส่วน ขาดลา มาสาย การกำหนด Expense Claim หรือการเบิกเงินค่าเดินทาง และค่าอื่นๆ ก็สามารถทำได้ทั้งหมด
นอกจากเพื่อเพิ่มศักยภาพพนักงานให้สูงยิ่งขึ้น ยังสามารถใช้กำหนดงบประมาณโดยรวมของทรัพยากรบุคคล เพื่อง่ายต่อการจัดการงบประมาณในอนาคตอีกด้วย
3. ระบบจัดซื้อจัดจ้าง
ทำให้สามารถทำใบแจ้งหนี้ ใบเสนอราคา ไปจนถึงติดตามลูกค้าและบันทึกข้อมูลวัตถุดิบ และสินค้าได้ง่ายขึ้น และมีการส่งข้อมูลไปให้ระบบการเงินโดยอัตโนมัติ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน
4. ระบบการจัดการข้อมูล
ที่คอยรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ มาสรุปและนำเสนอในรูปแบบเข้าใจง่าย ให้ทุกฝ่ายสามารถดูรายละเอียดได้ ไปจนถึงวิเคราะห์ข้อมูลยิบย่อยในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพวกข้อมูลระบบการจัดการวัตถุดิบ ข้อมูลสต็อก ข้อมูลค่าเสื่อม และอื่นๆ อีกมากมาย โดยระบบ ERP นั้นสามารถสร้างรีพอร์ตผลลัพธ์ออกมาให้ดูภาพรวมแบ่งเป็นกราฟได้โดยง่ายอีกด้วย
5. ระบบสำหรับผู้บริหาร
นอกจากจะควบคุมข้อมูลของแต่ละฝ่ายได้แล้ว ทางฝั่งผู้บริหารยังสามารถดึงข้อมูลจากส่วนอื่นๆ เพื่อมาตรวจสอบความถูกต้องและทำเป็นกราฟแสดงผลข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้เห็นภาพรวมการทำงานของธุรกิจ
รวมถึงจัดงบประมาณและจัดสรรค่าใช้จ่ายได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อวางกลยุทธ์ในปีต่อไปได้อีกด้วย
ไฟล์แนบ