ผู้วิจัย

นิตยา บรรณประสิทธิ์ มัลลิกา เจริญพจน์ วราลี โกศัย วิไลวรรณ ศิริเมฆา ธนากร เทียมทัน และวิภารัตน์ อิ่มรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2558 มีค่าความเชื่อมั่น 0.954 ซึ่งข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบการอธิบาย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัว รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านลักษณะของสาขาวิชา และปัจจัยด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ ABSTACT This Research aimed to study factors of motivation in selection to Study Early Childhood Education at Faculty of Education, Buriram Rajabhat University in the academic year 2015. The population used in this Study consisted of 1st year student in Early Childhood Education curriculum totally 53 students. The research instrument was questionnaire, and the reliability value was 0.954. All data was analyzed by using frequency, percentage and standard deviation The analysis was presented in form of table. It revealed that the highest factor affected the students’ decision making was personal reason, followed by economic status, social value, the characteristic of profession and related person respectively.

บรรณานุกรม

คณาจารย์สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. (2554). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. นงเยาว์ นุชนารถ. (2553). ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยของ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ปฐมวัยศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นรงฤทธิ์ สุรชิต. (2547). แรงจูงใจในการเลือกเรียน สาขาพาณิชยกรรมของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนพาณิชยการหัวหิน. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. นิตยา บรรณประสิทธิ์ และศิระ เพ็ชรจำเริญสุข. (2554). ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกศึกษา ต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ปรียาพร วงศ์อนุโรจน์. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ. ปิยะนาถ สรวิสูตร. (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม กรณีศึกษาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ ศาสตร์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2559). คู่มือนักศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วราลี โกศัย และคณะ. (2557). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2557. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. _______. (2558). ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2557. บุรีรัมย์ : สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. อเนก ณะชัยวงศ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมวิชาการและงาน ทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ความคิดเห็น