ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

เกษตรกรชุมชนบ้านลิ่มทองมีการรวมกลุ่มปลูกและแปรรูปข้าวพื้นเมือง (rice landraces)หลากหลายสายพันธุ์ สร้างรายได้โดยขายพันธุ์ข้าว สีเป็นข้าวสาร ข้าวกล้อง ทำข้าวกล้องงอก เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประการทางเคมี สมบัติทางโภชนาการและฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุร่วมกับชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ประชุมได้คัดเลือกข้าวพื้นเมือง 3 สายพันธุ์ คือ ข้าวจิ๊บ ข้าวมะลิดำ และข้าวปะกาอำปึล มาทำการวิเคราะห์ พบว่า ข้าวปะกาอำปึลมีโปรตีน ฟอสฟอรัส ไฟเบอร์ วิตามินบี1 โซเดียม อมัยโลส (amylose) และไนอซีน (Niacin) สูงที่สุด ข้าวหอมมะลิดำให้พลังงาน ไขมันรวม แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และทองแดงสูงที่สุด ส่วนข้าวจิ๊บมีคาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม และแมกเนเซียมสูงที่สุด สำหรับผลการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ข้าวพื้นเมืองทั้ง 3 สายพันธุ์มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดี แต่ข้าวที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุด คือ ข้าวหอมมะลิดำ เนื่องจากในข้าวชนิดนี้มีสารแอนโทไซยานินในปริมาณที่สูง รองลงมา คือ ข้าวจิ๊บ และข้าวปะกาอำปึล ตามลำดับ จากนั้นทำการกำหนดสูตรเพื่อผลิตน้ำข้าวกล้องงอกได้ 3 สูตร คือ 1) สูตรที่ 1 น้ำข้าวกล้องงอก และเกลือ 2) สูตรที่ 2 น้ำข้าวกล้องงอก น้ำผึ้งเดือนห้า และงาดำ 3) สูตรที่ 3 น้ำข้าวกล้องงอกผสมธัญพืช ส่วนผล การทดสอบผลิตภัณฑ์ของข้าวมะลิดำ มีคะแนนการยอมรับแต่ละคุณภาพผลิตภัณฑ์สูงกว่า ข้าวปะกาอำปึล และข้าวจิ๊บอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการวิจัยทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น คำสำคัญ : ข้าวพันธุ์พื้นเมือง อาหารเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ

บรรณานุกรม

กัญญาณี สวัสดิ์สลุง และคณะ. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม. จันทนี อุริยะพงศ์สรรค์. (2549). ศึกษาผลของกระบวนการแปรรูปต่อคุณลักษณะและความคงตัว ของเครื่องดื่มที่ทำจากข้าวเป็นวัตถุดิบหลัก. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จามรี พระสุนิล. (2557). พฤติกรรมบริโภคอาหารเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นพรัตน์ จันทร์ไชย. (2546). ศึกษาการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่ามะไฟจีนด้วยการทำเครื่องดื่ม จากมะไฟจีน. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วท.ม. (วิทยาศาสตร์การเกษตร). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. เบญจมาส ช่วยนุ้ย และสุกัญญา ไหมเครือแก้ว. (2547). โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปลูกจันทน์เทศ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านร่อนนา เลขที่ 41 หมู่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. สุราษฏร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี. พนอจิต นิติสุข และคนอื่นๆ. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากข้าว โดยศึกษากรณี ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากข้าวกล้องงอกของกลุ่มวิสาหกิจบ้านหนองตอกแป้น. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วิลาสินี ยนต์วิกัย. (2557). กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ประเภทอาหารเสริมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บ.ด. (การบริหารธุรกิจ). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ศรีนวล สถิตวิทยานันท์. (2554). อาหารเพิ่มสุขภาพผู้สูงอายุ, ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2555, จาก http://blog.stouhealth.org/?p=319 สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2554). สืนค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, Nations, 2007. อนันต์ วงศ์กระจ่าง สญชัย เข็มเจริญ และชลิตต์ มธุรสมนตรี. (2550). การพัฒนากระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ในโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP). ปทุมธานี : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. อรวรรณ ปานศิริ. (2545). การศึกษากระบวนการแปรรูปเครื่องดื่มจากน้ำนมข้าวกล้อง น้ำนมถั่วเหลือง และรำข้าวบรรจุกระป๋อง. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์การอาหาร). กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ. (2555). ค้นเมื่อ 6 ก.ย. 2555, จาก http://www.108health.com

หน่วยงานการอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รวม

ขนาดไฟล์ 7 MB | จำนวนดาวน์โหลด 268 ครั้ง

ความคิดเห็น