ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเพิ่มฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติโดยวิธีกึ่งสังเคราะห์ ทดสอบสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารนาโนอินทรีย์และนาโนโลหะอินทรีย์โดยมีผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติเป็นตัวรีดิวซ์ต้านเพลี้ยแป้งและเพลี้ยกระโดด ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคนาโนอินทรีย์มีรูปร่างเป็นทรงกลม ส่วนอนุภาคนาโนโลหะอินทรีย์มีรูปร่างแบบแท่งและอนุภาคทั้ง 6 ชนิด สามารถออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยแป้ง (Nilaparvata lugens (Stal)) ได้ภายใน 30 นาที โดยสารตัวอย่าง C4 ออกฤทธิ์กำจัดได้ 100 % ที่ความเข้มข้นเพียง 0.10 M ในเวลา 10 นาที สารตัวอย่างทั้งหมดยังสามารถออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยกระโดด (Pseudococcus sp.) ได้ภายใน 10 นาที โดยสาร C4 ออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยกระโดด 100 % ในเวลาเพียง 2 นาที นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังได้นำสารตัวอย่างไปทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อราโรคพืช (A. niger, C. circinans และ S. sclerotiorum) และต้านอนุมูลอิสระ ผลพบว่า สาร C2 และ C4 มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านเชื้อราโรคพืชได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของทั้งอนุภาคนาโนโลหะและไอออนลบและยังพบว่า สารซิฟฟ์เบส (L1, L2) มีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้น้อยกว่าอนุภาคนาโนโลหะอินทรีย์ (C1, C2, C3 และ C4) ส่วนการต้านอนุมูลอิสระเทคนิค DPPH พบว่า สารตัวอย่างทั้งหมดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่สารที่ต้านอนุมูลอิสระได้ดีด้วยค่า IC50 ที่ต่ำคือ L1, C1 และ C3 สำหรับการต้านอนุมูลอิสระเทคนิค FRAP พบว่า สารที่รีดิวซ์ Fe3+ ไปเป็น Fe2+ ได้ดีที่สุดคือ L2 รองลงมาคือ C4 ผลจากการวิจัยในครั้งนี้จึงมีประโยชน์ทั้งต่อกลุ่มเกษตรกรที่เผชิญกับปัญหาโรคและศัตรูของพืชเศรษฐกิจและยังเป็นประโยชน์ต่อวงการเภสัชที่จะต้องนำสารเหล่านี้ไปทดสอบกับโรคที่เกิดกับมนุษย์อีกด้วย

บรรณานุกรม

จิระะเดช แจ่มสว่าง. (2550). การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี บนเส้นทางของการเกษตร ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2554 จาก http://www.thaigreenagro.com/Article. มัณฑนา ภาณุมาภรณ์. (2552). เครื่องสำอางเพื่อความงามและสุขภาพ= Cosmetics for Aesthetic and Health… พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. เยาวพา สุวัตถิ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2553 จาก http://www.thairath.co.th วท.รุกเพิ่มมูลค่าภาคอาหาร-เกษตร. (2553). สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2555 จาก http://www.thairath.co.th วิวัฒน์ ตัณพะพานิชกุล. (2550). นาโนเทคโนโลยีกับเทคโนโลยีอนุภาค : ใครยิ่งใหญ่กว่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรัญญา พรหมโคตร์. (2551). นาโนเทคโนโลยีขั้นต้น (เล่มที่ 1)= Introduction to Nanotechnology. ขอนแก่น : ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศิรศักดิ์ เทพาคำ. (2551). “นิยามละความสำคัญของนาโนเทคโนโลยี.” ใน นาโนเทคโนโลยี : งานวิจัยนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย. หน้า 4. ปทุมธานี : ศูนย์นาโนเทคโนโลยี แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ. ศิระศักดิ์ เทพาคำ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการเรียนรู้หลักสูตรนาโนเทคโนโลยีชีวภาพ. ปทุมธานี : ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ. สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555 : 3). สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2555 จาก http://www.atom.rmutphysics.com/charud/scibook/nanotech/Page/Unit4-3.html สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). “การใช้สารเคมีฆ่า แมลงในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ระบาด เขตภาคเหนือตอนล่างและ ภาคกลาง ปี 2554,” สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2555. ค้นจาก www.brrd.in.th โอภาษ บุญเส็ง. (2555). “เพลี้ยแป้ง… มหันตภัยต่อมันสำปะหลัง,” สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2555. ค้นจาก www.tapiocathai.org โอภาษ บุญเส็ง และคนอื่นๆ. (2550). สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ : นิวไทยมิตรการพิมพ์. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. He, Lili, et al. (2011). “Antifungal activity of zinc oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum,” Microbiological Research. 166 : 207-215. Hsu, Fu-Lan, et al. (2007). “Evaluation of antifungal properties of octyl gallate and its synergy with cinnamaldehyde,” Bioresource Technology. 98 : 734-738. Jo, Young-Ki, Kim, Byung H., and Jung, Geunhwa. (2009). “Antifungal activity of silver ions and nanoparticles on phytopathogenic fungi,” Plant Diseases. 93 : 1037-1043. Kumari, Avnesh, et al. (2011). “Nanoencapsulation and characterization of Albizia chinensis isolated antioxidant quercitrin on PLA nanoparticles,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 224-232. Lee, Juneyoung, et al. (2012). “The Silver Nanoparticle (Nano-Ag): a New Model for Antifungal Agents,” สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2012 จาก www.Google.com Leonard, Kwati, et al. (2011). “Insitu green synthesis of biocompatible ginseng capped gold nanoparticles with remarkable stability,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 391-396. Tsair – Bor Yon and Chang, Shang-Tzenb. (2008). “Synergistic effects of cinnamaldehyde in combination with eugenol against wood decay fungi,” Bioresource Technology. 99 : 232-236. Wang, Sheng-Yang, Chen, Pin-Fun and Chang, Shang-Tzen. (2005). “Antifungal activities of essential oils and their constituents from indigenous cinnamon (Cinnamomum osmophloeum) leaves against wood decay fungi,” Bioresource Technology. 96 : 813-818.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รายงานสมบูรณ์ เพลี้ยแป้งและเพลี้ยกระโดด 2556

ขนาดไฟล์ 10 MB | จำนวนดาวน์โหลด 289 ครั้ง

ความคิดเห็น