[บทความทางวิชาการ] เผยแพร่ในชั้นเรียน
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475-2560
- รัฐธรรมนูญในอดีต
หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ได้มีการนำรัฐธรรมนูญมาใช้เป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจการปกครอง
แนวคิดการนำรัฐธรรมนูญมาใช้ในการเมืองการปกครองไทย ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ประเทศไทยได้ติดต่อกับประเทศตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 และค่อยพัฒนาการที่ชัดเจนขึ้นจนสุกงอมและเกิดการปฏิวัติ เมื่อ พ.ศ. 2475 รวมทั้งประเทศไทยได้นำเอารัฐธรรมนูญมาใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก นั่นคือ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยในครั้งนั้นเรียกกันว่า “กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” จนต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัฐบาลก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร คือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475” จึงเปลี่ยนมาเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” และถือเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย
- รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
- http://pa.bru.ac.th/2021/08/15/constitution2560/
-
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ โดยเป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันทางการเมืองในการจัดองค์กรบริหารของรัฐ รวมถึงการคุ้มครองและรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่น ๆ จึงกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง เพราะเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญทุกประเทศต่างบัญญัติเรื่องของอำนาจการบริหารประเทศไว้ทั้งสิ้น ไม่ว่าประเทศนั้นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ระบอบคอมมิวนิสต์ หรือระบอบการปกครองอื่น ต่างก็บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเรื่องเดียวกัน คือ เรื่องอำนาจการบริหารประเทศ
ความคิดเห็น