ผู้วิจัย

อนล สวนประดิษฐ์ 1 บรรพต วงศ์ทองเจริญ2 มิตรธิศาล อื้อเพชรพงษ์3 สัญชัย ครบอุดม4 โยธิน จ่าแท่นทะรังค์5 กรนาลิน สาริยา6 วิทวัส สหวงษ์7 เลอสันต์ ฤทธิขันธ์8

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาบริบทและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ 3. เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย คือคณะครูในโรงเรียนกองทุนการศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 โรง ได้แก่ โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 5 โรงเรียนบ้านแท่นทัพไทย โรงเรียนบ้านน้อยหนองหว้า และโรงเรียนบ้านลำนางรอง รวมทั้งหมด จำนวน 81 คน โดยแบ่งระยะของการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะศึกษาบริบทและความต้องการ (2) ระยะร่างหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตร (3) ระยะการประเมินการใช้หลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพบริบทและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ด้านข้อมูลพื้นฐาน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นหญิง ร้อยละ 61.72 เป็นชาย ร้อยละ 38.27 เป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 30ปี ร้อยละ 24.26 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 22.13 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 22.13 อายุ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.56 จบปริญญาตรีอื่นที่ไม่ใช่ทางการศึกษา ร้อยละ 28.16 ปริญญาตรีทางการศึกษา ร้อยละ 31.00 สูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 40.84 เป็นครู ร้อยละ 91.36 และ มีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร ร้อยละ 8.64 ในด้านความต้องการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศมีความต้องการ ร้อยละ 60.28 โดยต้องการหลักสูตรฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับการเห็นด้วยกับผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานมีค่าเฉลี่ย ( ) อยู่ระหว่าง 4.42 ถึง 4.58 แสดงว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู เห็นด้วยผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในระดับ มากที่สุด 2. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัยได้ทำการยกร่างหลักสูตรทั้ง 3 ขั้นตอนคือ (1) การดำเนินการยกร่างหลักสูตร (2) การหาคุณภาพของหลักสูตร และ (3) การปรับปรุงหลักสูตร ผลจากการหาคุณภาพของหลักสูตรผ่านผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน แสดงระดับของความเหมาะสมเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.40 ถึง 4.80 แปลความหมายว่าคุณภาพของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับของความสอดคล้อง แสดงเป็นค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรมีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์ 3. ผลประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ให้ผู้เข้าฝึกอบรมประเมินความ เหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม 4 ประเด็น พบว่า ภาพรวมการประเมินหลักสูตรผู้เข้าฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.58, S.D.=0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมของหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.58, S.D.=0.60) รองลงมาคือ ด้านความเป็นไปได้ในการนำความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ ( =4.57, S.D.=0.58) และด้านความเหมาะสมของกิจกรรมฝึกอบรม ( =4.52, S.D.=0.55) ตามลำดับ และผลการทดสอบหลังการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า ผู้ได้คะแนนระหว่าง 24 - 30 มีจำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 69.13 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด แสดงว่า หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ : หลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ, โรงเรียนกองทุนการศึกษา, ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

บรรณานุกรม

กชกร พิเดช. (2558).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง คอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ด้านคอมพิวเตอรสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. เฉลิม จักรชุม. (2559).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อ เสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการ จัดการเรียนรู้. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. พรชัย หนูแก้ว.(2549). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. สุวรรณา พงษ์ศรีศุภกร. (2553).การพัฒนาหลักสูตรอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. อาทิตย์ จิรวัฒน์ผล. (2560).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บ (WebQuest).วารสารการอาชีวะ และเทคนิคศึกษา Vol.8, No.1 January-June 2017.

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขนาดไฟล์ 149 KB | จำนวนดาวน์โหลด 396 ครั้ง

ความคิดเห็น