ผู้วิจัย

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา* และ ไชยา โฉมเฉลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการออกแบบรูปแบบการทดลองเปรียบเทียบความแข็งของเหล็กเพลาตันคาร์บอนต่ำระหว่างอุณหภูมิและชนิดสารตัวกลางลดการเย็นตัว มี 2 ปัจจัยการทดลองที่ 3 ระดับการทดลอง ซึ่งเป็นการทดลองแฟคทรอเรียล (Factorial Designs) สามารถศึกษาปัจจัยได้หลายปัจจัยพร้อมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความเป็นไปได้ของการเพิ่มความแข็งของหัวค้อนย้ำหมุด ด้วยกระบวนการชุบแข็งและหาระดับความเหมาะสมของอุณหภูมิและชนิดของตัวกลางที่ใช้ในการลดอุณหภูมิ ทั้งยังได้ศึกษาผลกระทบร่วมระหว่างปัจจัยด้วยซึ่งจะบ่งบอกถึงความเหมาะสมในการออกแบบการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า ถ้าอุณหภูมิสูงที่ 900 องศาเซลเซียส จะให้ผลที่ได้จากการเปลี่ยนโครงสร้างเหล็กเป็นออสเทนไนท์และทาให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วด้วยน้าประปาจะทาให้ค่าความแข็งที่ผิวชิ้นงานมีมากขึ้น จากเดิมที่ไม่ผ่านกระบวนการมีค่าประมาณ 90 HRB มีค่าเพิ่มขึ้นที่ได้จากการทดลองประมาณ 111 HRB เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 23.3 และอุณหภูมิที่ต่ำลงมา สารตัวกลางลดอุณหภูมิ ได้แก่ น้ำผสมเกลือ, น้ำมัน จะให้ค่าความแข็งในการชุบผิวน้อยลงมาเป็นลำดับ โดยไม่มีผลกระทบร่วมกันจากค่า F เท่ากับ 0.74 ตกอยู่ในเขตสมมติฐานหลักและค่า P-Value เท่ากับ 0.574 มากกว่าที่ ระดับนัยสาคัญ (อัลฟ่า) เท่ากับ 0.05

ไฟล์แนบ

pdf ST 012

ขนาดไฟล์ 977 KB | จำนวนดาวน์โหลด 894 ครั้ง

ความคิดเห็น