ผู้วิจัย

อาจารย์อุกฤษฎ์ นาจำปา

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วัตถุประสงค์ของโครงการ :

  1. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะ ในชุมชนท้องถิ่น
  2. สร้างต้นแบบชุมชนอนุรักษ์พลังงาน
  3. เพื่อนำองค์ความรู้ / นวัตกรรมมาพัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง
  4. วิเคราะห์และประมวลผลปัญหาของชุมชนเรื่องการจัดการพลังงานไฟฟ้า

เป้าหมายของแผนงาน 

  • ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน สำรวจแหล่งผลิตพลังงานเซลล์สุริยะเพื่ออธิบายความแตกต่างแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เพื่อปรับฐานองค์ความรู้ให้สอดคล้อง และตรงกับความต้องการของชุมชน
  • ส่งเสริมการใช้งานพลังงานเซลล์สุริยะอย่างถูกต้องตามกฏหมายเพื่อให้เกิดสิทธิภาพสูงสุดสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดกระบวนการในการจัดการพลังงานเซลล์สุริยะอย่างถูกวิธีและปลอดภัยให้แก่ชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
  • นักศึกษาได้จัดทำโครงงานเกี่ยวกับชุดทดลองพลังงานเซลล์สุริยะ
  • จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในชุมชน โดยทีมนักศึกษา (ยุวชน)การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะ  ประเภทแสงสว่าง และ ระบบสูบน้ำ  ให้สามารถเข้าใจในระบบการผลิตกระแสไฟฟ้า  สามารถเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำให้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุด  โดยคำนึงถึงประโยชน์ตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกา

ผลการดำเนินงาน (ความก้าวหน้า)

  • ได้มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสำรวจแหล่งผลิตพลังงานเซลล์สุริยะในพื้นที่ จัดทำแผนปฏิบัติงานรายบุคคล  และแบ่งหน้าที่รับผิชอบให้นักศึกษาแต่ละคน  ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง  จัดทำเป็นคู่มือการจัดการพลังงานเซลล์สุริยะในชุมชน
  • ติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบและข้อกฎหมายในการติดตั้งและการใช้งานพลังงานเซลล์สุริยะให้กับชาวบ้านในชุมชนบ้านยางได้รับทราบและทำความเข้าใจ
  • ได้มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดกระบวนการในการผลิตพลังงานเซลล์สุริยะ โดยนักศึกษาได้แบ่งกลุ่มตามส่วนประกอบของอุปกรณ์  เช่น  แผงรับแสงเซลล์สุริยะ  วงจรแปลงกระแสไฟฟ้า   ระบบสูบน้ำ   ระบบแสงสว่างและความปลอดภัยในการใช้งานการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานเซลล์สุริยะ
  • นักศึกษาได้นำความรู้ในการศึกษาเกี่ยวกับระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะ  เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็นโครงงาน  ประกอบรายวิชา และสามารถนำเสนอให้กับประชาชนในท้องถิ่น  โดยแยกตามประเภทความสนใจในระบบสูบน้ำ  วงจรแปลงกระแสไฟฟ้าและประเภทของแผนพลังงานเซลล์สุริยะ

ไฟล์แนบ

jpg Screenshot_12

ขนาดไฟล์ 51 KB | จำนวนดาวน์โหลด 116 ครั้ง

jpg Screenshot_13

ขนาดไฟล์ 63 KB | จำนวนดาวน์โหลด 106 ครั้ง

jpg Screenshot_14

ขนาดไฟล์ 55 KB | จำนวนดาวน์โหลด 109 ครั้ง

jpg Screenshot_15

ขนาดไฟล์ 52 KB | จำนวนดาวน์โหลด 104 ครั้ง

jpg Screenshot_16

ขนาดไฟล์ 54 KB | จำนวนดาวน์โหลด 102 ครั้ง

jpg Screenshot_17

ขนาดไฟล์ 63 KB | จำนวนดาวน์โหลด 152 ครั้ง

jpg Screenshot_18

ขนาดไฟล์ 49 KB | จำนวนดาวน์โหลด 109 ครั้ง

jpg Screenshot_19

ขนาดไฟล์ 53 KB | จำนวนดาวน์โหลด 112 ครั้ง

ความคิดเห็น