การออกแบบเรื่องราวและขั้นตอนการเล่นเกม
Designing the story and gameplay flow

จากเรื่องราวที่สร้างขึ้นนำไปสู่รูปแบบของการเล่น โดยเกมแต่ละแบบก็จะมีรูปแบบการไหลที่แตกต่างกัน โดยมีรูปแบบคร่าว ๆ (Penazzo, D., 133-137) ดังนี้

1.  Linear Gameplay

เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดในการออกแบบการเล่นเกม ซึ่งทุกเหตุการณ์ ทุกสถานการณ์จะต่อเนื่องกัน และจะไม่มีทางออกนอกเส้นทางได้เลย (เป็นการบังคับให้ตามสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องการ

2.  Branching gameplay

เป็นรูปแบบที่เมื่อเล่นไปเรื่อย ๆ ก็จะซับซ้อนไปเรื่อย ๆ ผลลัพธ์ก็จะแตกต่าง ๆ กันไปเมื่อมีการเลือก โดยที่ไม่ซ้ำรูปแบบกันเลย เหมือนการแตกกิ่งก้านสาขา

3.  Parallel gameplay

ขั้นตอนการเล่นเกมแบบแยกส่วน มีข้อเสียอย่างมากคือจัดการได้ยากมากและไม่เหมาะกับเกมที่ “เป็นเชิงเส้นมากกว่า” จริง ๆ นี่คือจุดที่มีการเล่นเกมคู่ขนาน

4.  Threaded gameplay

เป็นรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกันสำหรับเวอร์ชัน threaded ซึ่งรูปแบบที่การเริ่มต้นเกม กลางเกมหรือกลางเรื่อง และตอนจบที่หลายหลาย ซึ่งโดยปกติจะใช้กับเกมที่ใช้ตัวละครที่แตกต่างกัน แต่อยู่ในโลกของเกมเดียวกัน จึงทำให้เรื่องราวที่แตกต่างและยังมีบางส่วนที่คล้ายกันเพราะเป็นโลกเดียวกัน

รูปแบบนี้จะช่วยให้สามารถเล่นซ้ำได้มากขึ้น โดยการให้เรื่องราวที่แตกต่างและเกี่ยวพันกันมากมายที่ช่วยให้เข้าใจในภาพรวมบางอย่างได้ดีขึ้น ซึ่งขั้นตอนการเล่นเกมแบบนี้อาจมีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากต้องทดสอบเส้นทางและทางข้ามที่เป็นไปได้ทั้งหมด

5.  Episodic gameplay

วิธีการเล่าเรื่องแบบ “เชิงวัตถุ” เพิ่มเติมสามารถทำได้โดยการสร้างตอนเล็ก ๆ (เช่น มินิสตอรี่) โดยมีจุดเข้าและออกจำนวนมาก

6.  Adding parallel paths

เป็นรูปแบบที่ผสมผสานหรือนำเอารูปแบบต่าง ๆ มาสร้างให้เป็นในรูปแบบของเกมให้ดีขึ้นตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นขั้นตอนการเล่นเกมที่ได้รับความนิยมและใช้เป็นอย่างมาก คือการมีเรื่องราวเชิงเส้นพร้อมเควสต่าง ๆ ระหว่างทางมากมายเพื่อให้ความแตกต่างจากการเล่นเกมปกติ และทำให้เกิดการเล่นซ้ำ เพราะเนื่องจากผู้คนมักจะพลาดเควสต่าง ๆ ระหว่างการเล่น ซึ่งทำให้ไม่ได้รับประสพการณ์ทั้งหมดที่ผู้ออกแบบพยายามนำเสนอ

เอกสารอ้างอิง

Penazzo, D. (2021). 2D Game Development: From Zero To Hero (pseudocode edition, version 0.6.6).

ความคิดเห็น