บัณฑิต

ผู้วิจัย

สุภาพร ชื่นชูจิตร เสกสิทธิ์ ดวงคำ กิตติศักดิ์ นามวิชา สุภาพร บุญมี มณีนุช ให้ศิริกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต และเพื่อเปรียบเทียบ ความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตต่างหน่วยงาน ต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งถูกส่งไปยังหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานด้านองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดบุรีรัมย์ แบบสอบถามถูกส่งกลับคืน ร้อยละ 68 โดยเป็นผู้ใช้บัณฑิตจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข ร้อยละ 88.6 และ ร้อยละ 11.4 จากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงและเพศชายในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 48.5 และ ร้อยละ 51.5 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.5 มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี รองลงมา คือช่วงอายุ 31-40 ปี ร้อยละ 30.5 วุฒิการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามากที่สุด (ร้อยละ 74.9) รองลงมาเป็นระดับปริญญาโท (ร้อยละ 17.9) และปริญญาเอกน้อยที่สุด (ร้อยละ 0.6) ผู้ใช้บัณฑิตมีตำแหน่งงานปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมากที่สุด ร้อยละ 55.1 รองลงมา ได้แก่ ตำแหน่งอื่นๆ ร้อยละ 31.7 ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 7.2 และสาธารณสุขอำเภอ ร้อยละ 5.4 ระดับความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในภาพรวมทั้งหมด 11 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( \bar{x}= 4.33, S.D.= 0.48) โดยคุณลักษณะของบัณฑิต ที่ผู้ใช้บัณฑิตมีความคาดหวังสูงที่สุด ในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ( \bar{x}= 4.73, S.D.= 0.49) ด้านการจัดการสุขภาพในชุมชน ( \bar{x}= 4.48, S.D.= 0.61) และด้านสุขศึกษาและ การส่งเสริมสุขภาพ ( = 4.45, S.D.= 0.54) ตามลำดับ ส่วนด้านที่คาดหวังน้อยที่สุดในผู้ใช้บัณฑิต ทุกกลุ่ม คือ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ( = 3.74, S.D.= 0.93) การวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้บัณฑิต ทุกกลุ่มคาดหวังต่อคุณลักษณะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพมากที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ใช้บัณฑิตยังให้ความสำคัญกับทักษะและความสามารถด้านต่างๆ ในงานสาธารณสุขที่พึงมีในฐานะของนักวิชาการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การคุ้มครองผู้บริโภค และการฟื้นฟูสภาพ ตามลำดับ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแนวทางในปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ เพื่อผลิตบัณฑิตของหลักสูตรให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตต่อไป

ไฟล์แนบ

pdf 71791-Article-Text-169322-1-10-20161126

ขนาดไฟล์ 960 KB | จำนวนดาวน์โหลด 300 ครั้ง

ความคิดเห็น