ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรพญาวานร (Pseuderatherumplatiferum) โดยการนำใบแห้งหนัก 588.39 g แช่ในตัวทำละลาย อินทรีย์เฮกเซน (hexane) ไดคลอโรมีเทน (dichloromethane) เอทิลแอซิเตต (ethyl acetate) เมทานอล (methanol) และเอทานอล (ethanol) ปริมาตร 600 mL ต่อครั้ง จำนวน 3 ซ้ำ (ระยะเวลา 3, 2 และ 2 วัน ตามลำดับ) แล้วนำสารสกัดหยาบที่ได้มาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ FRAP และทดสอบความสามารถในการต้านแบคทีเรีย E.coli, Klebsiella spp., Enterobacter spp. และ Citrobacter spp. พบว่าสารสกัดหยาบจากใบพญาวานรด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุดด้วยค่า เท่ากับ 656.27 ppm ส่วนความสามารถในการรีดิวซ์ (reduce) เหล็ก (วิธี FRAP) สารสกัดทั้งหมดมีความสามารถในการรีดิวซ์เหล็ก และมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นที่ใช้ โดยสารสกัดด้วยไดคลอโรมีเทนและเอทิลแอซิเตตมีความสามารถในการรีดิวซ์ดีที่สุด รองลงมาคือ สารสกัดของเมทานอล ส่วนสารสกัดของเอทานอลและเฮกเซน เป็นตัวรีดิวซ์อย่างอ่อน สำหรับผลการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย พบว่า สารสกัดของไดคลอโรมีเทนและเมทานอลสามารถต้านการเจริญเติบโตของ Klebsiella spp.,Enterobacter spp. และ Citrobacter spp. ได้ดี ในขณะที่สารสกัดจากเอทานอลต้านการเจริญเติบโตของ Klebsiella spp.และ Citrobacter spp. ได้ดี แต่ไม่มีสารสกัดชนิดใดที่สามารถต้านการเจริญเติบโตของ E.coli ได้ ดังนั้น สารประกอบทุติยภูมิจากใบพญาวานรจึงน่าจะได้รับการพัฒนาเป็นยารักษาโรคปอดอักเสบชุมชนอุจจาระร่วง และโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ คำสำคัญ : สมุนไพรวานร การต้านอนุมูลอิสระ การออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ฤทธิ์การต้านแบคทีเรีย

บรรณานุกรม

สมหมาย ปะติตังโข. (2553, กรกฎาคม-ธันวาคม). "การต้านอนุมูลอิสระและการ ต้านการเติบโตของแบคทีเรียของสารสกัดพญาวานร," วารสาร มฉก. วิชาการ. 14(27): 123-136,

ความคิดเห็น