ผู้วิจัย

กนิษฐา จอดนอก, อัครเดช ดีอ้อม และ ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก

บทคัดย่อ

การวิจัยรูปแบบการวิจัยในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัตเหตุสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนวัดโพธิ์ทอง  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด120 คน  คือนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 60 คน  และผู้ปกครองจำนวน 60 คน  แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ  คือ วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุในนักเรียน  วางแผนปฏิบัติเพื่อหาแนวทางป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียน  ทดลองใช้รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุ  และประเมินผล  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  คิอแบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม  ซึ่งแบบสอบถามหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 0.86 ในกลุ่มของนักเรียนและกลุ่มผู้ปกครอง  ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา Pair sample t-test  ผลการวิจัยพบว่า  เมื่อนำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปใช้  พบว่า  มีผลช่วยเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและลดการบาดเจ็บของนักเรียน  มีการบริหารจัดการเพื่อสร้างความปลอดภัย  ที่สำคัญพบว่า  นักเรียนและผู้ปกครองมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ถ้าจะนำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปใช้ต้องปรับให้เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียนอื่น ๆ คำสำคัญ : อุบัติเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน  นักเรียนประถมศึกษา

บรรณานุกรม

จีรนันท์ ฮังกาสี. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาและคุณลักษณะของนักเรียนโรงเรียนศิริราษฎร์วิทยาคาร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2551. ยุพิน สาเรือง, วนิดา ดุรงค์ ฤทธิชัย และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. การพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพเพื่อป้องกันการบาดเจ็บให้แก่เด็กวัยเรียนใน ชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข.28(2), 2557; 39-50. สมจินตนา คำพินิจ, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และวนิดา ดุรงค์ ฤทธิชัย. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี. วารสาร มฉก.วิชาการ 1. 2550; 11(21), 1-15. สุธีร์ รัตนะมงคลกุล. โครงการศึกษาปัญหาและการควบคุมอุบัติเหตุในเด็กนักเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. กรุงเทพ ฯ : ภาควิชาเวช ศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2555. Hofman K, Primack A, Keusch G, Hrynkow S. Addressing the Growing Burden of Trauma and Injury in Low- and Middle-Income Countries. American Journal of Public Health. 2005; 95(1):13-7. Peden M, McGee K, Krug E. Injury: a leading cause of the global burden of disease, 2000. Geneva: World Health Organisation 2002.

หน่วยงานการอ้างอิง

คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

Abstract

The purpose of this design study was to develop an injury prevention model for primary students in Wadphoetong School, Mueang Buriram District, Buriram Province. The samples used in this study, with a total of 120 samples, were composed of 60 students studying in the level of Prathomsuksa 1 – 6 and 60 samples of their parents. The study was divided into 4 phases : 1) situation analysis  of an accident happened in the classroom, 2) planning  for guideline performance in injury prevention in the classroom , 3) trial of the injury prevention model, and  4) evaluation. The data were collected by using the data recording form and the questionnaire developed by researcher. The questionnaires were tested for reliability using Cronbach’ s alpha coefficient. Reliabilities of the questionnaires on injury prevention behavior were 0.82 and 0.86 on a group of students and their parents, respectively. The questionnaires data  were analyzed by descriptive statistics, paired samples t – test. The results showed that : The injury prevention  model effectively increased the injury prevention behavior and also reduced the injury in the students. Additionally, this study indicated that the behavior in injury prevention significantly increased in both the students and their parents (p < 0.001). This injury prevention model should be considerably modified depending on the school context.

ไฟล์แนบ

pdf br-acd-pvt-ptsch

ขนาดไฟล์ 758 KB | จำนวนดาวน์โหลด 256 ครั้ง

ความคิดเห็น