ผู้วิจัย
กนิษฐา จอดนอก1*ยงยุทธ บรรจง2* รณชิต สมรรถนะกุล3* นธภร วิโสรัมย์4* ฐพัชร์ คันศร5* เยี่ยม คงเรืองราชุ6* และอานนท์ สังขะพงษ7*
บทคัดย่อ
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะวิศวกรสังคม สร้างนวัตกรเพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการบูรณา การเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่นคณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีการพัฒนาให้นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม จริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลเห็นปัญหาเป็นเรื่อง ท้าทาย นักศึกษานำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนได้อย่างไร สามารถสื่อสารองค์ความรู้ที่เรียนไปเพื่อนำไป แก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ นักศึกษาทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถที่จะระดมกำลังไม่ว่าจะภายในท้องถิ่น หรือนอกท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้ และนักศึกษามีทักษะในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาให้กับ ชุมชนท้องถิ่นได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 31 คน ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 149 คน เกณฑ์คัดเข้า ความ สมัครใจเข้าร่วมวิจัย เพศชายและเพศหญิง อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ต้องเข้าร่วมโครงการได้อย่างน้อย 2 เดือน เกณฑ์คัดออก คือ ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้อย่างน้อย 2 เดือน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาได้ผ่านกระบวนการอบรมวิศวกรสังคม สามารถพัฒนาตนเองเป็นนวัตกรได้ คิดเป็นร้อยละ 100 นักศึกษาเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุ และผลเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย ร้อยละ 93.75 นักศึกษาเกิดทักษะการสื่อสารกับอาจารย์ เพื่อนและประชาชนในชุมชนใน ท้องถิ่น ร้อยละ 100 นักศึกษาเกิดทักษะการประสานงานและทำงานร่วมกันกับผู้อื่น โดยเป็นผู้นำและผู้ตามในการออกแบบ กิจกรรม จัดกิจกรรมและประเมินผล ร้อยละ 93.75 และนักศึกษาสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อย่างเป็นระบบ ร้อยละ 96.88 โดยทักษะที่ดีที่สุดของนักศึกษาคือ ทักษะการสื่อสารกับอาจารย์ เพื่อนและประชาชนในชุมชน ในท้องถิ่น ร้อยละ 100 โดยได้รับการชื่นชมจากอาจารย์ คุณครู ผู้นำชุมชน เพื่อนด้วยกัน ประชาชนในพื้นที่ว่าเป็นทักษะที่ทำ ได้ดีที่สุด โดยการนำไปใช้ประโยชน์และการขยายผล การใช้ประโยชน์ในทางวิชาการแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน เกี่ยวกับรูปแบบของการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและการสร้างแกนนำสุขภาพที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ และการใช้ประโยชน์ในด้าน วิชาการในการบูรณาการ การเรียนการสอนรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ข้อเสนอแนะ ควรจัดโครงการต่อเนื่อง โดย เพิ่มระยะเวลา และขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง คำสำคัญ: การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ศตวรรษที่ 21 วิศวกรสังคม
บรรณานุกรม
Pitipornvivat, M. (2021). 21st-Century Skill, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://corporate.baseplayhouse.co/21st-century-skill. Abdoun, A. & Ibrahim, J. (2018). Business Model Canvas, the Lean Canvas and the Strategy Sketch: Comparison, International Journal of Scientific & Engineering Research. Volume 9, Issue 1, January, pp. 871-889. Barone, A. (2020). Social Enterprise. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.investopedia.com/terms/s/social-enterprise.asp. Bevlin, M. E. (1980). Design through Discovery. NY: Holt, Rinehart and Winston. Blank, S. (2010). “What’s A Startup? First Principles”. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://steveblank.com/2010/01/25/whats-a-startup-first-principles/ Brown, T. (2008). Design thinking. Harv Bus Rev, 86(6), p.84. Brown, T. (2009). Change by Design. New York: Harper Collins Publisher. Cox M. (2015). Design thinking in healthcare. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.researchgate.net/publication/281408556_Design_Thinking_in_Healthcare. Cox M. (2016). The role of design thinking in innovation. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://medium.com/pancentric-people/the-role-of-design-thinking-in-innovationba68a3d91683 Dam, R.F. & Siang, T. Y. (2021). 5 Stages in the Design Thinking Process. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.interaction-design.org/literature/article/5-stages-in-thedesign-thinking-process. Goldstein, H. (1968). Longitudinal Studies and the Measurement of Change. The Statistician 18 2, 93-117. LEANSTACK. (2021). Lean Canvas is used by over a million people that span startups, universities, and large enterprises. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://leanstack.com/lean-canvas. Mair, J. & Marti, I. (2004). Social Entrepreneurship Research: A Source of Explanation, Prediction, and Delight. IESE Business School, University of Navarra. Organization for Economic Cooperation and Development (OECD). (2003). Annual Report 2003. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.oecd.org/about/2506789.pdf. Osterwalder, A. & Pigneur, Y. (2010). Business Model Generation: A Handbook for Visionaries, Game Changers, and Challengers Paperback. jeroen kraaijenbrink Osterwalder, A. (2004). The Business Model Ontology a Proposition in a Design Science Approach. Universite De Lausanne. Preechakiat. B. (2015, 6 March). Interview by Pipitkul, T. at The Art and Craft Center of Pensiri Thai Silk Lamphun Province. Soffel, J. (2016). Ten 21st-century skills every student needs. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.weforum.org/agenda/2016/03/21st-century-skills-future-jobs-students/. Stanford d.school. (2021). Steps of Design Thinking Stanford University. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 จาก http://dschool.stanford.edu/dgift/. The Singapore Centre for Social Enterprise (raiSE). (2015). The State of Social Enterprise in Singapore. Singapore: Singapore Centre for Social Enterprise, raiSE Ltd. The Social Enterprise Fund, Inc. (SEF). (2564). วิสาหกิจเพื่อสังคม. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.socialenterprisefund.org/about_us_2.html. Vianna M. et al. (2012). Design thinking: business innovation. Rio de Janeiro: MJV Press. เกริก บุณยโยธิน. (2562). “Intergeneration Family” อยู่ร่วมกันหลายช่วงวัย เปิดเทรนด์สร้างสุขแบบอิน ฟินนิตี้ สานความสุขทุกเจเนอเรชั่น. สืบค้นวันที่ 7 สิงหาคม 2564 จาก https://propholic.com/prop-now/intergeneration-family. เกรียงศักดิ์ เจิรญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย. เบญจวรรณ บุ้งทอง. (2561). SEP for SDGs ด้วยศาสตร์แห่งพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. เอกสารการ วิเคราะห์ทุนการสร้างรูปแบบลวดลายจาก 3 มหัศจรรย์ของแผ่นดิน SEP for SDGs ด้วยศาสตร์แห่ง พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของสาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ วิทยาลัยอาชีพศึกษาอุดรธานี. โกศล ดีศีลธรรม. (2554). องค์กรทำดีเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ : MGR 360. โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2560). Innovative Startup (สตาร์ทอัพ คือ อะไร). สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.startup.su.ac.th/?p=84 ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Design Thinking: Learning by Doing). กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรมกิจการผู้สูงอายุ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). โครงการศึกษารูปแบบการ จัดการกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) สำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คณะกรรมการกำกับนโยบายและยุทธศาสตร์ Thailand 4.0. (2559). พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ประสานงานการขับเคลื่อน Thailand 4.0. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: (ท.ป.ม.). จตุพร จุ้ยใจงาม และพรชัย เทพปัญญา. (2557). กิจการเพื่อสังคม แนวโน้มระบอบทุนนิยมสมัยใหม่กรณีศึกษาที่ ประสบความสำเร็จ. ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ในวารสารวิชาการ Veridian EJournal ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน, หน้า 124-137. ชนินทร เพ็ญสูตร. (2561). สตาร์ทอัพไทยแลนด์: กรณีศึกษาสตาร์ทอัพในจังหวัดเชียงใหม่. บทความวิชาการ วารสารพัฒนศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561., หน้า 253-291. ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2562). Set Your Startup Business Guide เริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพ ด้วย Design Thinking และ Lean Canvas. กรุงเทพฯ: ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนา ความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี. นุชจรี กิจวรรณ. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ : มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการ พยาบาล ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม, หน้า 5-14. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับวิสาหกิจเพื่อสังคม. (2559). วิสาหกิจเพื่อสังคม ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 เล่ม 133 ตอนที่ 76 ก. พาศนา ตัณฑลักษณ์. (2526). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : พิทักษ์อักษร. ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด และคณะ. (2563). การวิจัยและพัฒนาสังคมรากหญ้า เศรษฐกิจภูมิปัญญา ประชารัฐมีส่วน ร่วมผสาน นวัตวิถีอีสานบูรณาการท่องเที่ยววัฒนธรรมลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด และคณะ. (2564). การยกระดับศักยภาพกลุ่มอาชีพในชุมชนวัดประชาระบือธรรมตาม บริบทชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.). ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด. (2552). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด. (2561). การออกแบบลายผ้าซิ่นวิถีวัฒนธรรมคำชะโนดความเชื่อพญานาคด้วยวิธีมัดหมี่ ลวดลายผ้าทอมือ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด. (2562). บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในครอบครัวของหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจ พอเพียง. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมเครือข่ายชุมชนเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อการท่องเที่ยวระดับโลก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด. (2564). นวัตวิธี วิถีพัฒนา ภูมิปัญญาภัฏพัฒน์. กรุงเทพฯ: ดีวิทย์. มูลนิธิชัยพัฒนา. (2549). กังหันน้ำชัยพัฒนา. กรุงเทพฯ: กรมประปานครหลวง. มูลนิธิชัยพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ยุทธ ไกยวรรณ์. (2553). หลักสถิติวจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬา ลงกรณมหาวิทยาลัย. ยุทธนา เจียมตระการ. (2559). ความท้าทายของธุรกิจสตาร์ทอัพในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_25602561/PDF/8489sc/8489.pdf. ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก, ลง วันที่ 22 พฤษภาคม 2562. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์. วิรุณ ตั้งเจริญ. (2527). ศิลปะร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: วิฌอลอาร์ต. วีรินยาอร เหลืองบริบูรณ์. (2564). นวัตกรรม คือ อะไร?. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/28953/ การออกแบบและสร้างนวัตกรรมของวิศวกรสังคม 4 ศศิวัลย์ พูลสวัสดิ์ และคณะ. (2562). การศึกษาบทบาทและแนวทางการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมใน กลุ่มธุรกิจขนาดย่อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. งานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2542). “เทคโนโลยีนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ” การ ประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2542. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2542 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญ ต่อการเป็นผู้ประกอบการ. ในวารสารบริหารธุรกิจ คณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ปีที่ 33 ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2553, หน้า 49-65. สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. วารสาร “ไทยคู่ฟ้า”, เล่มที่ 33 มกราคม - มีนาคม, หน้า 1-44. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อ ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2548). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงาน นวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม. (2564). ความสำเร็จของวิสาหกิจเพื่อสังคม ปั้นแบรนด์ชุมชน สู่ตลาด สากล. สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.osep.or.th. สิทธิศักดิ์ ธัญศรีสวัสดิ์กุล. (2529). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ อารี สุทธิพันธุ์. (2527). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
หน่วยงานการอ้างอิง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ความคิดเห็น