นักวิจัย

ณัฐวุฒิ บุ่งง้าว, บุรัสกร พราหมณ์หิรัญ, เทพพร โลมารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรม ก่อนและหลังจัดกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม 2) เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วยการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง ความกดออากาศและลม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคมที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความกดอากาศและลมแบบประเมินทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม แบบประเมินการสร้างโมเดล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา แล้วสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาข้อสรุป สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 3.59 คะแนน (S.D. = 1.29) และมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 10.62 คะแนน (S.D. = 1.60) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการสอบก่อนเรียน-หลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการแก้ปัญหาการออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยภาพรวม นักเรียนมีทักษะอยู่ในระดับ ดี และดีมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจความชื่นชอบกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องความกดอากาศและลมอยู่ในระดับมากที่สุด

ลิงค์เอกสาร

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/BRUJE/article/view/267234/173936

ไฟล์แนบ

pdf ณัฐวุฒฺ บุรัสกร เทพพร

ขนาดไฟล์ 583 KB | จำนวนดาวน์โหลด 87 ครั้ง

ความคิดเห็น