ด้วยความมุ่งมั่นของศูนย์ที่อยากจะให้การให้คำปรึกษาเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายและฟรีมาโดยตลอด
จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามาปรึกษา
พบว่า ภาวะซึมเศร้าและอาการทางจิตใจเป็นสิ่งที่สามารถพบได้โดยทั่วไป
แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นกันได้
เพื่อให้การช่วยเหลือด้านจิตใจสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นจึงได้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมาค่ะ

งานเสวนาและกิจกรรมเชิงปฏิบัติการนี้ดำเนินการใน 2 วัน
ในวันที่ 20-21 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกการฟังการให้คำปรึกษาตลอดจนเป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือทางจิตใจให้แก่ผู้อื่นได้

อย่างไรก็ดีในกิจกรรมลักษณะนี้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสและเปลี่ยนมุมมองทัศนคติ
ตลอดจนได้ฝึกการฟังและการให้คำปรึกษา การจัดกิจกรรมจำเป็นที่จะต้องจัดเป็นกลุ่มย่อยและใช้เวลามากพอสมควรจำนวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นที่น่าพอพึงพอใจของทีมผู้จัดงาน
เพราะพวกเราจะได้สร้างสังคมที่ทำให้การช่วยเหลือทางจิตใจเป็นเรื่องที่ฟรีและเข้าถึงง่ายต่อไป

หลังจากที่องค์การได้จบลง ทางศูนย์ได้นำเสนอรูปแบบกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้
ในรูปแบบโปสเตอร์ในโครงการของโดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพ
โดยส่วนตัวได้มีบทบาทในการเรียบเรียงและออกแบบจัดทำโปสเตอร์

ในงานประชุมวิชาการด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษา ประจำปี 2566
“บทบาทสำคัญในงานพัฒนานิสิตนักศึกษาหลังการแพร่ระบาดโควิด-19”
ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

รู้สึกเป็นเกียรติและดีใจมากที่มีโอกาสได้เผยแพร่และสร้างเครือข่ายค่ะ

ความคิดเห็น