ผู้วิจัย
ชลาวัล วรรณทอง ,สมคิด สาลี ,วริษฐ์ กิตติ์ธนารุจน์ ,อาลัย จันทร์พาณิชย์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้น้ำ กรณีศึกษาหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 5 แห่งของจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนผังน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำ กรณีศึกษาหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 5 แห่งของจังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ศึกษาคือ ตำบลถลุงเหล็ก ตำบลโคกกลาง ตำบลหนองโสน ตำบลจรเข้มาก และตำบลบ้านยาง จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เจาะลึก การจัดเวทีสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ปัญหา การสังเกต และการเดินสำรวจภาคสนาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแปลความจากข้อมูลที่ได้ตามประเด็นในแบบสัมภาษณ์เจาะลึก และการระดมสมอง ผลการวิจัยพบว่า ประชากรในพื้นที่ศึกษาทั้ง 5 ตำบล ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีปริมาณฝนที่ตกน้อย ประกอบกับมีแหล่งกักเก็บน้ำไม่เพียงพอ ได้ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร แต่ในทุกตำบลก็มีลำน้ำไหลผ่านทำให้สามารถสร้างกลไกของการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้น้ำทั้ง 5 แห่ง เพื่อบริหารจัดการน้ำได้ ด้วยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้แทนประชาชนในตำบล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำ และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีกลไกดำเนินงานคือ 1) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำชุมชน 2) การจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการน้ำ 3) การเข้าร่วมกิจกรรมในเวทีนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำและเยือนถิ่นแผ่นดินปราชญ์ ภายใต้แนวคิดน้ำกับวิถีชีวิตชุมชนอีสาน และเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานการบริหารจัดการน้ำ 4) การเข้าร่วมเวทีจัดการข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้น้ำระดับตำบล เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ สถานการณ์ปัญหาด้านน้ำของตำบล และจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อประกอบแผนบริหารจัดการน้ำ และ 5) การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดทำแผนผังน้ำ จึงได้แผนผังน้ำของทุกตำบลคือ ตำบลถลุงเหล็กจัดทำแผนผังน้ำบริเวณลำห้วยแป้น ตำบลโคกกลางจัดทำแผนผังน้ำบริเวณลำปลายมาศ ตำบลหนองโสนจัดทำแผนผังน้ำบริเวณคลองช่องแมว ตำบลจระเข้มากจัดทำแผนผังน้ำบริเวณลำปะเทีย และตำบลบ้านยางจัดทำแผนผังน้ำบริเวณลำพังชู
บรรณานุกรม
กรมทรัพยากรน้ำ. (2557). ทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2556). โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการน้าน้ากลับมาใช้ใหม่ สำหรับชุมชนขนาดเล็ก (Decentralized System). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม กรมอุตุนิยมวิทยา. (2550). ภัยแล้ง. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559, จาก: https://www.tmd.go.th/ agromet_drought_situation.php กระทรวงมหาดไทย. (2560). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่งเที่ยว Otop นวัติวิถี. กรมการ ท่องเที่ยว กรุงเทพฯ กล พรมสำลี. (2550). การจัดการน้ำระดับชุมชนกรณีบ้านผาชัน จังหวัดอุบลราชธานี.อุบลราชธานี โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ. ณชพงศ จันจุฬา. (2552). การพัฒนาการมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการลุ่มน้ำสายบุรี กรณีศึกษา การจัดการนาแบบรัฐและแบบชาวบ้านในพื้นที่ตำบลกาเยาะมาตี อำเภอ บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปริศนา มัชฌิมา. (2556). การจัดการฐานข้อมูล. หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). (2560). คู่มือการจัดการ ทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11, กรุงเทพฯ สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2559). แผนพัฒนา 4 ปี พ.ศ. 2561-2564. บุรีรัมย์ สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี และคณะ. (2555).การจัดการทรัพยากรน้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ลุ่ม น้ำยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อคิน รพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและ วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์
ความคิดเห็น