งานวิจัยเครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำมีวัตถุประสงค์ในการออกแบบและสร้างเครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำเพื่ออำนวยความสะดวกทางการรักษาในการตรวจหาเส้นเลือดดำรวมไปถึงลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำที่มีราคาสูง โดยใช้แอลอีดีไฮพาวเวอร์ ที่ความยาวคลื่น 665 นาโนเมตร และ 605 นาโนเมตร ในการฉายแสงตรวจหาเส้นเลือดดำทั้งในเด็กแรกเกิด  0-3 เดือน และผู้ใหญ่ที่มีระดับความรู้สึกตัวปกติและสามารถทำตามคำสั่งได้

จากการทดสอบการใช้งานเครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำสำหรับผู้ใหญ่ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจำนวน 20 คน ที่ความสว่างของห้อง 30 และ 50 ลักซ์ ในการทดสอบที่บริเวณ หลังมือ แขนท่อนบน และแขนท่อนล่าง พบว่าในกลุ่มตัวอย่างมีกลุ่มที่สามารถตรวจเห็นเส้นเลือดดำได้ชัดเจนเฉลี่ยร้อยละ 64.2

จากการประเมินความพึงพอใจโดยพยาบาลโรงพยาบาลมหาสารคามในการทดสอบการใช้งานเครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำสำหรับผู้ใหญ่ในกลุ่มผู้ป่วยนอก พบว่ามีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างพอใจ จากกลุ่มตัวอย่าง 10 คน

จากการประเมินความพึงพอใจโดยพยาบาลโรงพยาบาลมหาสารคามในการทดสอบการใช้งานเครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำสำหรับเด็กแรกเกิด 0-3 เดือน พบว่ามีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างพอใจ จากกลุ่มตัวอย่าง 10 คน

คณะผู้วิจัยได้ออกแบบเครื่องตรวจหาเส้นเลือดดำโดยใช้ LED HIGH POWER ในการฉายแสงเพื่อค้นหาเส้นเลือดดำ และเพื่อความง่ายต่อการใช้งานทางผู้วิจัยจึงต้องออกแบบเครื่องให้มีขนาดเล็กเพื่อง่ายต่อการใช้งานและอำนวยให้แพทย์ พยาบาล สามารถใช้งานได้ในขณะที่ปฏิบัติงานเพียงคนเดียวในการเจาะเลือดผู้ป่วย

การออกแบบวงจร LED 1 หลอดต้องการแรงดันไฟฟ้าที่ 2.4 โวลต์ จำนวนที่ใช้คือ 8 หลอด ในการต่ออนุกรมจำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายที่มีแรงดันไฟฟ้า 19.2 โวลต์ ขึ้นไปจึงจะทำให้ LED สว่างได้ดี ทว่าแหล่งจ่ายจะมีขนาดใหญ่และจะทำให้เครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้ไม่เหมาะในการใช้งานจริง จึงเลือกใช้วงจรผสมสองชุดคือ อนุกรมฝั่งละ 4 หลอด จะได้แรงดันไฟฟ้าที่ 9.6 โวลต์ ใช้กับแหล่งจ่าย 12 โวลต์

 

ความคิดเห็น