ผู้วิจัย
เสกสิทธิ์ ดวงคำ และภัทรนันท์ ทวดอาจ
บทคัดย่อ
การวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบออนไลน์วิชาเคมีทั่วไป กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเจาะจง คือ นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนรายวิชาเคมีทั่วไป ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน chi-square และ Pearson’s correlation coefficient ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไปและปัจจัยด้านผู้เรียนไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
บรรณานุกรม
Dixon, W.B. (1992). An exploration study of self-directed learning readiness and pedagogical expectation about learning among built immature learners in Michigan. Dissertation Thesis, Ph.D. Michigan: Michigan State University. Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: a Guide for Learners and Teacher. New York Association Press. ทิพาดวง ตาเวียง. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความสามารถ ในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมกับการสอน ตามปกติ. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2564, 22 มิถุนายน). มาตรการจัดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เชื้อไวรัสโคโรนา 19 ฉบับที่ 9. วไลพรรณ อาจารีวัฒนา และปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2562). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาของนักศึกษาโครงการพิเศษ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1-8. สืบค้น 10 สิงหาคม 2564 จาก http://www.vl- abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/141 สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2561). การศึกษาออนไลน์ : ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ. แพร่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่ไทย อุตสาหการพิมพ์.
ความคิดเห็น