วันที่ 14 สิงหาคม 2564 ได้เข้าร่วมกิจกรรมการบรรในหัวข้อ “การวิจัยทางคติชนวิทยา” ซึ่งจัดโดยหลักสูตรภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยากรคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัยทางคติชนวิทยา โครงการนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนมาก ทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกและนักวิชาการทางด้านคติชนวิทยา เวลา 09.00 12.00 น. ในระบบออนไลน์ Zoom
เนื้อหาการบรรยายประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องการสนับสนุนทุนการวิจัยของหน่วยให้ทุนที่สามารถขอในสายคติชนวิทยา ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยทางคติชนวิทยาในประเทศไทย และส่วนที่สามความสนใจทางคติชนวิทยาในสังคมโลก
การวิจัยทางคติชนวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้การสนับสนุนทุนการวิจัยอย่างประเด็น แต่การที่จะได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยนั้นต้องเน้นการบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ และรวมไปถึงการบูรณาการกับการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์ จากการอบรมครั้งนี้ทำให้เห็นมุมมองของการพัฒนาประเด็นการวิจัยที่ใช้ศาสตร์ความรู้ทางคติชนวิทยา โดยเฉพาะข้อคิดสำคัญในการเขียนร่างข้อเสนอโครงการวิจัยที่นักวิจัยชอบกล่าวว่า “ไม่มีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเราเลย” แต่นักวิจัยคือผู้ที่จะต้องออกแบบงานวิจัยให้เกี่ยวข้องกับประเด็นการให้ทุน
ประการต่อมาการวิจัยทางคติชนวิทยาทั้งในสังคมไทยและสังคมโลกพัฒนามาเป็นลำดับ การวิจัยทางคติชนรูปแบบใหม่ New Folklore ที่เปลี่ยนพื้นที่และพรมแดนการวิจัยทางคติชนให้ขยายวงกว้างออกไปจากในอดีตอย่างมาก มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการวิจัยและการพัฒนางานวิจัยคติชนวิทยาเป็นอย่างมาก
ความคิดเห็น