วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ที่บูรณาการการจัดการเรียนรู้กับคณาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ภายใต้โครงการ “การพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2563 ระยะที่ 2”
กิจกรรมสำคัญในโครงการนี้ เป็นการเล่าประสบการณ์ของการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่ตนได้รับทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้มีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความถ้าทายใหม่สำหรับคณาจารย์ที่มีความสนใจในงานด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ อันเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ในสายงานด้านครุศาสตร์ที่เน้นพัฒนางานวิจัยด้านการเรียนการสอน เพราะจะก่อให้เกิดงานวิจัยที่มีความหลายหลาก และเป็นงานที่บูรณาการไปสู่ชุมชน เป็นการทำงานวิจัยที่ได้หลายต่อ อาทิ ได้ผลงานวิจัยที่บูรณาการการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา ได้บทความ/ตำราทางวิชาการ ได้ห้องเรียนชุมชนสำหรับนักศึกษา ได้บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม เป็นต้น
การทำงานในพื้นที่ทำให้ทราบว่า พื้นที่มีข้อมูลมากมายที่คณาจารย์สามารถนำมาขยายผลหรือพัฒนาเป็นงานวิจัย และงานวิจัยดังกล่าวสามารถที่จะส่งเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการในโอกาสต่อไป นอกจากนี้การทำงานเชิงพื้นที่ทำให้เรามีเครือข่ายความร่วมมือมากขึ้น ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่พร้อมเป็นภาคีเครือข่าย และพร้อมที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในพื้นที่
ความคิดเห็น