วันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2563 ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการพัฒนาโจทย์วิจัยและการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 – 2565 ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 ชั้่น 2 เป็นโครงการที่ให้ความรู้และเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนสนับสนุน

โครงการพัฒนาโจทย์วิจัยและการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เป็นโครงการที่สร้างความรู้ความเข้าในให้นักนักวิจัยใหม่ที่ไม่เคยผ่านการอบรมหรือเขียนข้อเสนอเพื่อรับทุนสนับสนุนมาก่อน การเข้าอบรมในครั้งนี้จึงได้ประโยชน์อย่างมาก เริ่มจากช่องทางในการเขียนข้อเสนอโครงการในหน่วยสนับสนุนทุนการวิจัยมีหน่วยงานใดบ้าง และเป้าหมายผลการวิจัยแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน แม้จะเป็นประเด็นวิจัยเดียวกันแต่หากขอผิดหน่วยงานก็มีผลต่อการไม่ได้รับพิจารณา การศึกษาหน่วยงานที่ให้ทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญเริ่มต้นที่นักวิจัยต้องทำความเข้าใจ

 

หลังจากนั้นยังได้เรียนรู้เทคนิคในการเขียนข้อเสนอโครงการอย่างไรให้ผู้ทรงพิจารณา และยังทราบถึงมุมมองของผู้ทรงในการพิจารณาว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีเทคนิคในการประเมินข้อเสนอเบื้องต้นอย่างไร การเขียนข้อเสนอโครงการและการส่งข้อเสนอในระบบจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีเทคนิควิธี เพราะข้อเสนอบางข้อเสนอตกตั้งแต่ยังไม่ถึงมือของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากจะมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารตามเกณฑ์ที่กำหนด หากเอกสารข้อเสนอไม่เป็นไปตามเกณฑ์ก็มีโอกาสสูงที่ข้อเสนอจะไม่ถูกนำเสนอต่อไป ในการเขียนต้องเสนอข้อมูลให้หน้าสนใจ เพื่อชวนให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านรายละเอียดของข้อเสนอ นั่นคือ การตั้งชื่องานวิจัย วัตถุประสงค์และผลที่จะเกิดขึ้น 3 ประเด็นนี้เปรียบเสมือนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ที่จะทำให้ผู้อ่านอยากอ่านรายละเอียดของข่าว

 

ประการสุดท้าย เรื่องจริยธรรมในการวิจัย และการเขียนผลงานทางวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ ความเจริญของเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องท้าทายและก่อเกิดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมาก การเขียนผลงานทางวิชาการจึงต้องให้ความสำคัญและละเอียดรอบคอบ ตลอดถึงการพิจารณาวารสารและการนำเสนองานอย่างไรจึงจะสามารถใช้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งโครงการนี้โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ ดร.อลงกลด แทนออมทอง รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร วงศ์จันทรา และ ดร.วีระ ทองเนตร

 

ความคิดเห็น