ผู้วิจัย

อาจารย์อุกฤษฎ์ นาจำปา

บทคัดย่อ

พลังงานทดแทนกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรม สำหรับการพัฒนาภาคเกษตรกรรมในอดีตนั้นเรามีการใช้พลังงานทดแทนในภาคเกษตรกรรม เช่น แสงอาทิตย์  พลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น ได้มีการใช้พลังงานทดแทนเหล่านี้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติร่วมกับการใช้แรงงานคนและสัตว์ เพื่อผลิตสินค้าภาคเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด  มันสำปะหลัง แต่การผลิตดังกล่าวนั้นเป็นการผลิตเพื่อการยังชีพหรือเพียงพอต่อการดำรงเท่านั้น แต่ในปัจจุบันการผลิตสินค้าภาคเกษตรกรรมต้องตอบสนองต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ทำให้กระบวนการผลิตต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและสัตว์ เครื่องจักรดังกล่าวต้องมีการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงในการขับเคลื่อนเครื่องจักร ส่งผลให้ลงทุนในการผลิตสินค้าเกษตรมีราคาเพิ่มสูงขึ้นและราคาน้ำมันดังกล่าวยิ่งมีระดับราคาที่ขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร พลังงานทดแทนดังกล่าว อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ การนำพลังงานทดแทนเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาภาคเกษตร พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาดปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออก เป็น 2 รูปแบบ คือ การใช้พลังงานงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานต้องมีการใช้เทคโนโลยีควบคู่กันไปสำหรับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า   พลังงานถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสําคัญต่อต้นทุนของประเทศในทุกด้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมือง และสังคม ล้วนแล้วแต่มีส่วนเชื่อมโยงกับพลังงานแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดํารงชีวิตประจําวันการประกอบอาชีพ การผลิตวัตถุดิบ หรือแม้แต่ต้นทุนการผลิตภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของประชากรและมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ทําให้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พลังงานมีจํากัดและขาดแคลน รวมถึงสถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทย และ  ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีดังนั้น จึงต้องมีการจัดหาพลังงานให้มีปริมาณที่เพียงพอ มีราคาที่เหมาะสม และมีคุณภาพที่ดีสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน และสามารถตอบสนองความต้องการการพลังงานใช้ในกิจกรรมการผลิตต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้จัดทําแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551 – 2565) โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการจัดหา ดําเนินการ และพัฒนาพลังงานทดแทนด้านต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้ประเทศมีความยั่งยืน และมั่นคงในด้านพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่สามารถนํามาเป็นพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงทําให้ได้รับแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง และคงที่ตลอดทั้งปีซึ่งมีความเข้มของรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นที่ทั่วประเทศพบว่ามีค่าเท่ากับ 18.0 เมกกะจูลต่อตารางเมตรต่อวัน (MJ/m2/day) หรือ 5.0 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน kWh/m2/day)จัดอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ (คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน  ชุดที่ 2 พลังงานแสงอาทิตย์, 2558) ดังนั้น ปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์จึงถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลาย  โดยหลักการทํางานของเซลล์แสงอาทิตย์เป็นขบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนํา จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกันพลังงานจากแสงจะทําให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า (อิเล็กตรอน) ขึ้นในสารกึ่งตัวนํา   จึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้อุปกรณ์ที่นําพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้คือแผ่นโซลาร์เซลล์  (Solar Cell) จึงจัดว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะใด ๆ ต่อโลก พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ทางเลือกของพลังงานทดแทน, 2558) จังหวัดบุรีรัมย์มีหน่วยงานด้านพลังงาน ได้แก่ สำนักงานพลังงานจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ศูนย์ราชการจังหวัดบุรีรัมย์ชั้น 2 เลขที่ 1159 เขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมทางเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์ในปี พ.ศ. 2554 พบว่า สัดส่วนของอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 28 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดบุรีรัมย์ สัดส่วนของการเกษตรกรรม การล่าสัตว์และป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดบุรีรัมย์ สัดส่วนด้านอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 16 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดบุรีรัมย์สัดส่วนด้านการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 14 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดบุรีรัมย์สัดส่วนด้านขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดบุรีรัมย์

หน่วยงานการอ้างอิง

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

1. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการดำเนินการโครงการ

ในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงาน      จากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมีปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตเส้นศูนย์สูตร  มีภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม  มีแดดจัดตลอดปี  ทำให้มีการใช้พยังงานจากน้ำมัน  เพื่อนำมาใช้ทางการเกษตรมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงขึ้น ประเทศไทยไทยกำลังดำเนินการใช้พลังงานตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก   คาดว่าในปี 2580 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียนจะอยู่ที่ระดับ 20% หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายพลังงาน Energy for All พลังงานเพื่อทุกคน ที่จะเกิดโรงไฟฟ้าชุมชนซึ่งใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของพลังงานทางเลือกในประเทศไทย

 

ไฟล์แนบ

pdf Solar-system-64_2

ขนาดไฟล์ 4 MB | จำนวนดาวน์โหลด 205 ครั้ง

jpg 142219913_4489182957774935_6121418287134980820_o

ขนาดไฟล์ 436 KB | จำนวนดาวน์โหลด 142 ครั้ง

jpg 142075926_4489174204442477_843018572530390886_o

ขนาดไฟล์ 521 KB | จำนวนดาวน์โหลด 137 ครั้ง

jpg 141741914_4489180751108489_7202556420995916817_o

ขนาดไฟล์ 560 KB | จำนวนดาวน์โหลด 132 ครั้ง

jpg 141683025_4489180387775192_1086425542985435202_o

ขนาดไฟล์ 194 KB | จำนวนดาวน์โหลด 138 ครั้ง

jpg 141055910_4489182864441611_4533184939583700510_o

ขนาดไฟล์ 250 KB | จำนวนดาวน์โหลด 124 ครั้ง

jpg 142242274_4489183244441573_7179654434878758980_o

ขนาดไฟล์ 603 KB | จำนวนดาวน์โหลด 142 ครั้ง

ความคิดเห็น