ผู้วิจัย
สมหมาย ปะติตังโข กิ่งแก้ว ปะติตังโข และครุปกรณ์ ละเอียดอ่อน
บทคัดย่อ
การวิจัยข้าวพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูล ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ (2) สำรวจข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ (3) ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ (4) ศึกษาการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ โดยทำการสำรวจ และทำการสัมภาษณ์ แล้วนำมาทดลองปลูกในแปลงนา ผลการวิจัยพบว่า (1) จังหวัดสุรินทร์มีประเพณีแซนโดนตาที่นำข้าวไปประกอบการทำบุญ (2) ชนิดและพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ มีทั้งหมด 33 ชื่อ จำแนกเป็นข้าวเหนียว 8 ชื่อ ได้แก่ ก่ำ ป้องแอ้ว สันป่าตอง เหนียวดำต้นขาว เหนียวกอเดียว เหนียวขาวใหญ่ อีเตี้ย เหนียวลอย จำแนกเป็นข้าวเจ้า 25 ชื่อ ได้แก่ กรึม ข้าวไร่ คาบูร เจ้าลอย เจ้าเหลือง นางคง นางร้อย นางสะอาด เนียงกวงแดง เนียงทน บองกษัตริย์ ปะกาลำดวน ปะกาอำปึล ตาแห้ง มะลิแดง หอมนิล มะลินิลสุรินทร์ เมล็ดเล็ก ไรซ์เบอร์รี ลูกปลาแดง ลืมผัว สเน็ดเสาะ หน่วยเขือ ลูกปลา อีลอยแดง (3) ลักษณะสัณฐานวิทยาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง พบว่า มีความหลากหลายของลักษณะต่างๆ ได้แก่ การมีขนบนแผ่นใบ สีของแผ่นใบ สีของกาบใบ มุมของยอดแผ่นใบ สีของลิ้นใบ รูปร่างของลิ้นใบ ความยาวเยื่อกันน้ำฝน สีของหูใบ สีของข้อต่อใบกับกาบใบ สีของปล้อง และทรงกอ (4) การใช้ประโยชน์เพื่อบริโภคเป็นอาหาร เป็นสมุนไพร และการเลี้ยงสัตว์
ความคิดเห็น