ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และสมศักดิ์ จีวัฒนา

บทคัดย่อ

การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดสมุนไพรผักเม็ก โดยการสกัดสารจากใบแห้งหนัก 300 กรัม ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ ได้แก่ เฮกเซน (hexane) ไดคลอโรมีเทน (dichloromethane) เอทิลแอซิเตต (ethylacetate) เมทานอล (methanol) และ เอทานอล (ethanol) ได้สารสกัดหยาบที่มีน้ำหนัก 22.21 60.01 80.14 42.36 และ 90.03 กรัม ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดหยาบแต่ละชนิดไปหาปริมาณของ polyphenolic content ทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค 2,2-Dipheny1-1-picry1hydrazy1 radical (DPPH) และ ferric reducing/antioxidant power (FRAP) และความสามารถในการต้านแบคทีเรียชนิด E.coli, Klebsiella spp.,Enterobacter spp. และ Citrobacter spp. พบว่า สารสกัดหยาบที่มีปริมาณของ polyhenolic conten สูง ได้แก่ crude methanol และ crude ethanol ส่วนความสามารถในการต้านอนุทูลอิสระ DPPH พบว่า สารสกัดหยาบจากตัวทำละลาย methanol และ ethu1 acetate ออกฤทธิ์ได้ดีด้วยค่า IC50 ที่ต่ำในระดับ 53.019 และ 59.910 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP พบว่า สารสกัดหยาบที่มีความสามารถในการรีดีวซ์ Fe3+ ได้มากที่สุด คือ crude dichloromethane ส่วนความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย พบว่า crude dichloromethane crude ethy1 acetate crude methanol และ crude ethanol สามารถต้านการเจริญเติบโตของ E.coli, Klebsiella spp., Etherobacter spp. และ Citrobacter spp. ได้ดี

บรรณานุกรม

สมหมาย ปะติตังโข และสมศักดิ์ จีวัฒนา. (2553). "ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัด จากสมุนไพรผักเม็ก," วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 38(4): 520-531.

ความคิดเห็น