ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และกิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการผลิตและแยกสารไซเดอโรฟอร์จากแบคทีเรียชนิดไรโซเบียมจากปมรากถั่วฝักยาวที่เลี้ยงในอาหาร SA medium ในสภาวะที่มีธาตุเหล็กต่ำ ทำให้แบคทีเรียผลิตไซเดอโรฟอร์ แล้วแยกไซเดอโรฟอร์ออกจากเซลล์ของแบคทีเรีย จากเลี้ยงแบคทีเรีย 4 ลักษณะ คือ R-ชมพู R-เขียว R-ขาวขุ่น และ R-ขาวใส พบว่า ไซเดอโรฟอร์ที่สกัดได้ทั้งหมดเป็นชนิด Hydroxamate Siderophore สำหรับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH พบว่า ไซเดอโรฟอร์แต่ละชนิดมีค่า IC๕๐ เฉลี่ยเท่ากับ 3040.18, 6559.88, 10515.80 และ 0.00 ppm จากแบคทีเรีย R-ชมพู R-ขาวขุ่น R-เขียว และ R-ขาวใส ตามลำดับ และความสามารในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP พบว่า ไซเดอโรฟอร์ที่ได้จากแบคทีเรีย R-เขียว มีความสามารถในการรีดีวซ์ Fe3+ ไปเป็น Fe2+ ได้ 0.908 ± 0.00 mM เมื่อศึกษาความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด พบว่า ไซเดอโรฟอร์จาก R-ชมพู สามารถต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ 3 ชนิด คือ Escherichia coli, Klebsiella spp. และ Citrobacter spp. ส่วน R-เขียว มีความสามารถในการเจริญเติโตของ Eschrtichia coli R-ขาวขุ่นสามารถต้านการเจริญเติบโตของ Eschrtichia coli และ Klebsiella spp.และ R-ขาวใส มีความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของ Klebsiella spp. เท่านั้น แต่ไม่มีไซเดอโรฟอร์จากแบคทีเรียชนิดใดที่มีความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Enterbacter spp.

บรรณานุกรม

สมหมาย ปะติตังโข และกิ่งแก้ว ปะติตังโข. (2562, มกราคม-มิถุนายน). "การ แยกและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของไซเดอโรฟอร์จากไรโซเบียมที่คัดแยก จากปมรากถั่ว," วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(1): 57-74.

ความคิดเห็น