บทคัดย่อ
ดินและหินภูเขาไฟประกอบด้วยแร่ธาตุหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชนต่อการบํารุงผิว ดังนั้นการวิจัยครั้ง
นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสบู่ดินและหินภูเขาไฟร่วมกับรังไหม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจสบู่ ดําเนินการผลิตสบู่
5 สูตร ใด้แก่ สบู่ดินภูเขาไฟ สบู่หินภูเขาไฟ สบู่รังไหม สบู่ดินภูเขาไฟและรังไหม สบู่หินภูเขาไฟและรังไหม โดยใช้
น้ำมันบัว (ร้อยละ 28) น้ำมันรําข้าว (ร้อยละ 21) น้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 21) น้ำ (ร้อยละ 21) โซเดียมไฮดรอกไซด์
(ร้อยละ 9.9) ดินภูเขาไฟ (ร้อยละ 0.8) หินภูเขาไฟ (ร้อยละ 0.8) และรังไหม (ร้อยละ 0.8) ตรวจสอบลักษณะ
กายภาพและทางเคมีของสบู่ ก่อนนําไปศึกษาความพึงพอใจกับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จํานวน 50 คน
ผลการศึกษาพบว่า สบู่ทุกสูตรไม่มีสิ่งแปลกปลอม ค่ากรดด่างระหว่าง 9.89-9.99 ปริมาตรฟอง 73.33-79.00
มิลลิลิตร ความคงทนของฟอง 69.00-74.67 มิลลิลิตร และความสึกกร่อนร้อยละ 40.27-48.49 ซึ่งมีคุณภาพตาม
เกณฑ์มาตรฐาน มผช. 94/2552 สําหรับผลการศึกษาความพึงพอใจสบู่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจสบู่ด้านการไม่
ระคายเคืองมากที่สุด รองลงมา ใด้แก่ ปริมาตรฟอง สี ประสิทธิภาพการชําระสิ่งสกปรก กลิ่นและความแข็งของสบู่
ตามลําดับ การศึกษาสรุปใด้ว่า รังใหมที่เสียจากการเลี้ยงใหมของกลุ่มทอผ้าใหม บ้านสนวนนอก อําเภอห้วยราช
จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถนํามาเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปร่วมกับดินและหินภูเขาไฟเพื่อผลิตสบู่ที่เป็นเอกลักษณ์ของ
ชุมชนและจังหวัดบุรีรัมย์
อ่านฉบับเต็ม การผลิตสบู่ดินและหินภูเขาไฟร่วมกับรังไหม จังหวัดบุรีรัมย์
ความคิดเห็น