ผู้วิจัย
ผกามาศ บุตรสาลี1* แก้วมณี อุทิรัมย์2 และอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา3
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้า และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพในสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 20 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ใช้การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พบว่า บริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ เป็นกลุ่มองค์กรในชุมชนที่มีจำนวน 15 กลุ่ม อาทิ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ วัดส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเกษตรพอเพียงลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรแบบพอเพียงของชุมชน มีจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เช่น กลุ่มการจัดการขยะในชุมชน กลุ่มการจัดการเรื่องปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน และกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน และการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของชุมชน อาทิ กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มทอผ้าย้อมคราม สำหรับศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้า พบว่า การพัฒนาเอกลักษณ์สินค้ามีความต้องการในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าที่เป็นของกลุ่มเอง ในการสร้างเอกลักษณ์ต้องได้มาซึ่งการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติ และต้องเป็นเอกลักษณ์ที่ได้มาจากประวัติของหมู่บ้าน ในกระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์ สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันคิด และเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้าน “บ้านโพนก่อ” เพื่อหา เอกลักษณ์ที่นำมาทอเป็นลายผ้าต้องมีความสำคัญและสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน สมาชิกมีการร่วมกันเสนอชื่อลายผ้าที่จะนำมาทอเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม สรุปชื่อลายผ้าใหม่ เรียกว่า “ลายหมากก่อ” ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอชุมชนได้
บรรณานุกรม
ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล และคณะ. (2559). ศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, หน้า 1326 - 1336. ตรีวิทย์ แพทย์เพียร. (2557, มกราคม-มิถุนายน). การออกแบบสัญลักษณ์แสดงเอกลักษณ์องค์กรสำหรับศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ตำบลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 16(1), หน้า 1-14. พิมพ์ลภัทร ศรีมณฑา และพัชร พิลึก. (2554). ภาพลักษณ์ตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตจังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย, นนทบุรี : วิทยาลัยราชพฤกษ์. พิสมัย อาวะกุลพาณิชย์ และคนธาภรณ์ เมียร์แมน. (2555). การเพิ่มมูลค่าและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ล้านนาด้วยการออกแบบโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา. รายงานการวิจัย คณะวิจิตรศิลป์, เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ไพบูลย์ บูรณสันติ. (2559). การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันอย่างยั่งยืน. แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด พ.ศ.2559 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง). ตรัง : สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดตรัง. วงศ์ สีพรม. (2560). บทสัมภาษณ์ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ, ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร, 22 มีนาคม 2560. สมคิด ดิษพันลำ. (2560). บทสัมภาษณ์รองปลัดเทศบาลตำบลท่าก้อน, ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร, 23 มีนาคม 2560. สุพรรณ สมไทย และคณะ. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านโดยแนวคิดจากวัฒนธรรมชาวไทยทรงดำ. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สุวนาถ ทองสองยอด. (2560, มกราคม-เมษายน). ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP) จังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยบริการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), หน้า 14-24. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. อริณ เมืองสมบัติ. (2554, เมษายน-มิถุนายน). ความสำเร็จในการบริหารจัดการอาชีพกลุ่มอาชีพทำผ้าบาติกเทศบาล ตำบลหนองจอก. Local Administration Journal, 4(2), หน้า 30-42.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้า และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพในสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 20 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ใช้การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พบว่า บริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ เป็นกลุ่มองค์กรในชุมชนที่มีจำนวน 15 กลุ่ม อาทิ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ วัดส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเกษตรพอเพียงลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรแบบพอเพียงของชุมชน มีจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เช่น กลุ่มการจัดการขยะในชุมชน กลุ่มการจัดการเรื่องปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน และกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน และการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของชุมชน อาทิ กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มทอผ้าย้อมคราม สำหรับศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้า พบว่า การพัฒนาเอกลักษณ์สินค้ามีความต้องการในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าที่เป็นของกลุ่มเอง ในการสร้างเอกลักษณ์ต้องได้มาซึ่งการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติ และต้องเป็นเอกลักษณ์ที่ได้มาจากประวัติของหมู่บ้าน ในกระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์ สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันคิด และเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้าน “บ้านโพนก่อ” เพื่อหา เอกลักษณ์ที่นำมาทอเป็นลายผ้าต้องมีความสำคัญและสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน สมาชิกมีการร่วมกันเสนอชื่อลายผ้าที่จะนำมาทอเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม สรุปชื่อลายผ้าใหม่ เรียกว่า “ลายหมากก่อ” ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอชุมชนได้
ความคิดเห็น