ผู้วิจัย
นางสาวศิริภิญญา ตระกูลรัมย์
บทคัดย่อ
การศึกษารายกรณีของเด็กและวัยรุ่น CASE STUDY OF CHILD AND ADOLESCENCE ศิริภิญญา ตระกูลรัมย์* Siripinya Tragoonram ขัตติยา ยืนยง** Kattiya Yuenyong บทคัดย่อ การศึกษารายกรณี เป็นกระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวและพัฒนาตัวเองได้ การศึกษารายกรณี ประกอบด้วยสาระสำคัญ ได้แก่ ความหมายของการศึกษารายกรณี วัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณี เหตุผลของการใช้การศึกษารายกรณี การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษารายกรณี การคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการศึกษารายกรณี ลำดับขั้นของการทำการศึกษารายกรณี และจุดแข็งและข้อจำกัดของการศึกษารายกรณี ซึ่งทางการศึกษาเด็กและวัยรุ่นนั้น การศึกษารายกรณีจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเข้าใจพฤติกรรมของบุคคล และหาแนวทางเพื่อช่วยแก้ไข ป้องกัน และพัฒนาเด็กและวัยรุ่น คำสำคัญ : การศึกษา, การศึกษารายกรณี, เด็ก, วัยรุ่น ABSTRACT This Study was Case Study and Method Studied about Detail of one Student and Students Continuous and Long Time. Objective was Study about Development and Adaptation Themselves. The Main of Study was Meaning of Case Study, Objective and Reason to Study, Process of Case Study and Strength and Weakness of Case Study. This Study is Probable Benefit to Understand Behavior of Child and Adolescent in Students Group for helps them to Solve, Protect and Develop their Personality Behavior. Keywords: Education, Case Study, Child, Adolescence _________________________________ * อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อีเมล: sci_siri@hotmail.com ** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลยุวประสาทโยปถัมภ์ กรมสุขภาพจิต อีเมล: kattiya2net@gmail.com
บรรณานุกรม
จำเนียร ช่วงโชติ. (2547). เทคนิคการแนะแนว. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2539). เอกสารคำสอนวิชาการแนะแนวเบื้องต้น. โครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้. เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การให้คำปรึกษาวัยรุ่น (Adolescent Counseling). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ประยูรสาสน์ไทย; 2560. ลักขณา สริวัฒน์. (2548). การศึกษารายกรณี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. Dawn M. Mcbride. (2010). The Process of Research in Psychology. California: Saga Publications. Inc. Geoff Payne and Judy Payne. (2004). Key Concept in Social Research. London : Sage Publications Inc. Philip R. Newman and Barbara M. Newman. (1997). Childhood and Adolescence. The United States of Amarica: an International Thomson Publish Inc. Allison James and Adrian James. (2012).Second edition. Key Concepts in Childhood Studies. California: Great Britain by Bell & Bain Ltd, Glasgow. Anthony D. Pellegrini, John Hoch and Frank J. Symons. (2013). Observing Children in Their Natural Worlds. 3rded. New York and London : Taylor & Francis Group. F. Philip Rice. (1999). The Adolescent: Development, Relationships and Culture. United States of America : Allyn & Bacon; 1999. Role E. Muss. (1990). Adolescent Behavior and Society. 4th ed. Singapore: McGraw-Hill Publishing Company; 1990. John. W. Santrock. (2014). Child Development. 14th ed. United Stated : McGraw- Hill Education.
การศึกษารายกรณีของเด็กและวัยรุ่น
CASE STUDY OF CHILD AND ADOLESCENCE
ศิริภิญญา ตระกูลรัมย์*
Siripinya Tragoonram
ขัตติยา ยืนยง**
Kattiya Yuenyong
บทคัดย่อ
การศึกษารายกรณี เป็นกระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวและพัฒนาตัวเองได้ การศึกษารายกรณี ประกอบด้วยสาระสำคัญ ได้แก่ ความหมายของการศึกษารายกรณี วัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณี เหตุผลของการใช้การศึกษารายกรณี การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษารายกรณี การคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการศึกษารายกรณี ลำดับขั้นของการทำการศึกษารายกรณี และจุดแข็งและข้อจำกัดของการศึกษารายกรณี ซึ่งทางการศึกษาเด็กและวัยรุ่นนั้น การศึกษารายกรณีจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเข้าใจพฤติกรรมของบุคคล และหาแนวทางเพื่อช่วยแก้ไข ป้องกัน และพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
คำสำคัญ : การศึกษา, การศึกษารายกรณี, เด็ก, วัยรุ่น
ABSTRACT
This Study was Case Study and Method Studied about Detail of one Student and Students Continuous and Long Time. Objective was Study about Development and Adaptation Themselves. The Main of Study was Meaning of Case Study, Objective and Reason to Study, Process of Case Study and Strength and Weakness of Case Study. This Study is Probable Benefit to Understand Behavior of Child and Adolescent in Students Group for helps them to Solve, Protect and Develop their Personality Behavior.
Keywords: Education, Case Study, Child, Adolescence
_________________________________
* อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อีเมล: sci_siri@hotmail.com
** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลยุวประสาทโยปถัมภ์ กรมสุขภาพจิต อีเมล: kattiya2net@gmail.com
บทนำ
การศึกษารายกรณี เป็นกระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลโดยใช้เครื่องมือ เทคนิค หรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดของข้อมูล แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจสภาพผู้ถูกศึกษา และหาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดการรู้จักและเข้าใจในด้านต่าง ๆ ของบุคคลได้อย่างแท้จริง เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม การศึกษารายกรณีเป็นประโยชน์อย่างมากในการเข้าใจพฤติกรรมของบุคคล และหาแนวทางเพื่อช่วยแก้ไข ป้องกัน และพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากทำให้เข้าใจสาเหตุของการเกิดพฤติกรรม และหาแนวทางเพื่อช่วยแก้ไข ป้องกันและพัฒนานักเรียน ทำให้เราเข้าใจช่วงวัยเริ่มต้นของพัฒนาการ ทั้งทางชีวภาพ กายภาพ และสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการศึกษาเด็กและวัยรุ่นจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย และเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกันไป
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือ ศึกษาแนวคิดเพื่อนำมาใช้ในการศึกษารายกรณีของเด็กและวัยรุ่น
ความหมายของการศึกษารายกรณี
ลักขณา สริวัฒน์ (2548 : 3) กล่าวว่า การศึกษารายกรณี หมายถึง กระบวนการของการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคคลติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง โดยศึกษาทั้งภูมิหลัง และการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูล และนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมเช่นนั้น หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมาจากสาเหตุอะไร รวมถึงการแปลความหมายของพฤติกรรมดังกล่าวว่า มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวที่ดี หรือลักษณะของการปรับตัวที่เป็นปัญหาของบุคคลนั้นอย่างไร อันจะทำให้เกิดการรู้จัก และเข้าใจในด้านต่าง ๆ ของตัวเขาอย่างแท้จริง เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การสนับสนุน หรือการให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
Geoff Payne and Judy Payne (2004 : 31) กล่าวว่า การศึกษารายกรณี หมายถึง การศึกษาวิจัยอย่างมีรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างเดียว ของกลุ่มทางสังคม หรือองค์กร
Philip R. Newman and Barbara M. Newman (1997 : 36) กล่าวว่า การศึกษารายกรณี หมายถึง การศึกษารายละเอียดเชิงลึกของบุคคล ครอบครัว และกลุ่มทางสังคม โดยมีจุดประสงค์ของการศึกษารายกรณีที่จะศึกษาของพฤติกรรมของบุคคล
สรุปได้ว่า การศึกษารายกรณี หมายถึง กระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวและพัฒนาตัวเองได้
ความหมายของเด็กและวัยรุ่น
- ความหมายของเด็ก
Allison James and Adrian James (2012 : 8) ได้ให้ความหมายของเด็กว่า ช่วงของการเริ่มต้นชีวิตมนุษย์ ทางชีวภาพ ทางกายภาพ และทางสังคม ซึ่งเด็กเป็นสมาชิกของรุ่น อ้างถึงผลรวมโดยผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ใหญ่เป็นผู้สร้างพื้นที่ทางสังคมสำหรับเด็ก
Anthony D. Pellegrini, John Hoch and Frank J. Symons (2013 : 5) ได้ให้ความหมายของเด็กว่า เป็นวัยที่เริ่มจากพัฒนาการขั้นพื้นฐาน มีความแตกต่างจากวัยผู้ใหญ่ทั้งทางชีวภาพ และทางสังคม ซึ่งการศึกษาพัฒนาการของวัยเด็กจะช่วยทำให้เข้าใจเด็ก
โดยสรุป เด็กคือช่วงวัยเริ่มต้นของพัฒนาการ ทั้งทางชีวภาพ กายภาพ และสังคม ซึ่งจะมีความแตกต่างจากวัยผู้ใหญ่
- ความหมายของวัยรุ่น
เพ็ญนภา กุลนภาดล (2560 : 8) ได้ให้ความหมายของวัยรุ่นว่า การเจริญเติบโตไปสู่วุฒิภาวะโดยมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมกัน ซึ่งเด็กแต่ละคนจะเข้าสู่วุฒิภาวะไปพร้อมกัน
- Philip Rice (1999 : 1) ได้ให้ความหมายของวัยรุ่นว่า ระยะเวลาของการเจริญเติบโต ระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ โดยเปลี่ยนแปลงในแต่ละขั้นไปยังค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
John. W. Santrock (2014 : 14) ได้ให้ความหมายของวัยรุ่นว่า เป็นช่วงพัฒนาการของระหว่างจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างเห็นได้ชัดในส่วนสูงและน้ำหนัก และพัฒนาการทางลักษณะทางเพศ
Role E. Muss (1990 : 1) ได้ให้ความหมายของวัยรุ่นว่า การเจริญเติบโตไปสู่วุฒิภาวะของช่วงชีวิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
สรุปได้ว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่เจริญเติบโตระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่โดยมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณี
ลักขณา สริวัฒน์ (2548 : 3) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณี มีดังนี้
- 1. เพื่อศึกษารูปแบบพัฒนาการ ของบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือ และแก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- 2. เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมผิดปกติ และจะได้หาแนวทางในการช่วยเหลือแก้ไขได้ถูกต้องเหมาะสม และได้ผล
- 3. เพื่อให้บุคคลเกิดความเข้าใจในตนเอง ยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับตน เพื่อนำไปสู่การมีความสามารถพัฒนาตนเองได้ สามารถวางแผนชีวิต และเลือกแนวทางการศึกษาต่อและเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนได้ จนทำให้มีการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข
- 4. เพื่อช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคคลในครอบครัว หรือพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง หรือผู้ร่วมงานเกิดความเข้าใจเขาได้อย่างละเอียดลึกซึ้งถูกต้อง พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือและนำผลการศึกษารายกรณีไปหาแนวทางการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาได้
- 5. เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้แนวทางในการจัดกิจกรรมอย่างถูกต้องเหมาะสมกับบุคลิกลักษณะของเขา ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณี โดยสรุปวัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณีเพื่อศึกษารูปแบบพัฒนาการของบุคคล สาเหตุของพฤติกรรม เพื่อให้บุคคลเกิดความเข้าใจในตนเอง ยอมรับความเป็นจริง เพื่อให้บุคคลได้แนวทางในการจัดกิจกรรมอย่างถูกต้องเหมาะสมกับบุคลิกลักษณะของตน ในการศึกษารายกรณีของเด็กและวัยรุ่นนั้น จะให้ความสำคัญกับการศึกษาพัฒนาการตามธรรมชาติ ทั้งทางชีวภาพ กายภาพ สังคม อารมณ์ และสติปัญญา เพราะมีพัฒนาการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยไปค่อยไป และศึกษาพื้นฐานทางครอบครัว เพราะส่วนใหญ่เด็กจะมีผู้ปกครองดูแล ซึ่งมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่
เหตุผลของการใช้การศึกษารายกรณี
ในความสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ในการอภิปรายซึ่งเป็นข้อสังเกตในการถ่ายทอดซึ่งอ้างถึงประชากร และไม่ใช่ส่วนบุคคล เครื่องมือทางจิตวิทยาโดยส่วนใหญ่จะไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ของประชากร ซึ่งเราสามารถมองเห็นกฎทั่วไปของพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์ แต่ยังทำให้รู้สึกถึงความเป็นเอกลักษณะของรายบุคคล และบ่อยครั้งที่เราศึกษาเครื่องมือทางจิตวิทยาบางที่การแสดงออกของบุคคลบางที่จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ และค่อนข้างมีความแตกต่างในทางพฤติการณ์ ข้อยกเว้นจะเกิดขึ้นเพราะลักษณะทั่วไปไม่สามารถทำความเข้าในการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบุคคลได้ ในอีกทางหนึ่งจะต้องศึกษาความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคลในการศึกษารายกรณี ทั้งนี้ ถ้ามองในมุมการศึกษาเด็ก จะทำให้เข้าใจช่วงวัยเริ่มต้นของพัฒนาการ ทั้งทางชีวภาพ กายภาพ และสังคม ซึ่งจะมีความแตกต่างจากวัยผู้ใหญ่ (Allison James and Adrian James. 2012 : 8) การศึกษารายกรณี นำมาใช้ด้วยเหตุผล ดังนี้ (จำเนียร ช่วงโชติ, 2547 : 205)
- การใช้การศึกษารายกรณี เพื่อจุดประสงค์ให้การวิจัย (Research Purpose)
- การใช้การศึกษารายกรณี เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการวินิจฉัย (Diagnosis) และการรักษา (Treatment) ปัญหาพิเศษบางปัญหา
- การใช้การศึกษารายกรณี เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาบุคคลทั่วไปที่ไม่แสดงอาการของปัญหา ให้ได้มีการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม
- การใช้การศึกษารายกรณี เพื่อจุดประสงค์ในทางด้านวิชาการ (Instruction Purpose) ด้วยการช่วยให้บุคคลอื่นมีความเข้าใจเด็กได้ดีขึ้น เรียนรู้วิธีการจะศึกษาเด็ก และเรียนรู้วิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือ และแนะแนวเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
เหตุผลของการใช้การศึกษารายกรณี โดยสรุปแล้วมีเหตุผลของการใช้การศึกษารายกรณี
เพื่อจุดประสงค์ให้การวิจัย เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการ ช่วยให้บุคคลอื่นมีความเข้าใจเด็กได้ดีขึ้น และเรียนรู้วิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือ และแนะแนวเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การศึกษารายกรณีเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางดนตรีไทย เพื่อทำให้เข้าใจสิ่งจูงใจ อารมณ์ ความรู้สึก การมองโลกของเด็ก เป็นต้น
การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษารายกรณี
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารายกรณี มีวิธีการในการเก็บรวบรวม ดังนี้ (จำเนียร ช่วงโชติ, 2547 : 205-206)
- รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคนจากระเบียนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียน เช่น ระเบียนสะสม ระเบียบพฤติการณ์ ทะเบียนประวัติของนักเรียน เป็นต้น เรื่องระเบียนสะสมนั้นสำคัญมาก ถ้าโรงเรียนมีระบบเบียนสะสมที่ดีแล้ว ก็ย่อมจะช่วยให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็กได้มาก
- ใช้กลวิธีต่าง ๆ ของการศึกษาเด็กแต่ละคน เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลที่มีอยู่แล้วให้กว้างขวางขึ้น และเป็นการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องตรงความจริง และเชื่อถือได้ เช่น ใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ อัตชีวประวัติ แบบสอบถาม การรายงานเกี่ยวกับตนเอง การทดสอบ เป็นต้น
- สัมภาษณ์เด็กนั้นโดยตรง
- สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือคุ้นเคยกับเด็กนั้น เช่น บิดามารดา ผู้ปกครอง ครูอาจารย์และเพื่อน เป็นต้น
การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษารายกรณี โดยสรุปการรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษารายกรณีจะเป็นการรวบรวมข้อมูลของเด็ก โดยใช้กลวิธีต่าง เพื่อทำความเข้าใจเด็ก เข้าใจสภาพปัญหาของเด็ก เข้าใจพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริม ป้องกัน และวางแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมเด็ก ยกตัวอย่างเช่น การศึกษารายกรณีเด็กขาดแรงจูงใจในการเรียน ในการสังเกตจึงต้องเลือกสังเกตในบริบทที่เด็กมีการแสดงออกของพฤติกรรมขาดแรงจูงใจในการเรียน เช่น ห้องเรียน เพราะเป็นสถานที่ที่เด็กแสดงออกถึงพฤติกรรมทางด้านการเรียน
การคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการศึกษารายกรณี
ลักขณา สริวัฒน์ (2548 : 14) ได้ศึกษาการเลือกบุคคลเพื่อทำการศึกษารายกรณีควรพิจารณาบุคคลที่มีลักษณะดังนี้
- 1. บุคคลที่ประสบความสำเร็จอาจเป็นด้านการศึกษา หรือด้านอาชีพการงาน
- 2. บุคคลที่มีความสามารถพิเศษบางอย่าง เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา ฯลฯ
- 3. บุคคลที่มีปัญหามาก เช่น ปัญหาส่วนตัว ปัญหาในการทำงาน ปัญหาในการปรับตัว หรือปัญหาในการศึกษาเล่าเรียน
- 4. บุคคลที่มีความทะเยอทะยาน มีใจหนักแน่น มีกำลังใจเข้มแข็งในการเอาชนะอุปสรรค
- 5. บุคคลที่เรียนอ่อนไม่สามารถทำงานในระดับที่เรียนอยู่ได้
- 6. บุคคลที่มีพฤติกรรมดีเด่นสมควรเป็นแบบอย่างในสังคม
- 7. บุคคลที่มีพฤติกรรมปกติทั่ว ๆ ไป
นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2539 : 210) ได้กล่าวว่า การคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการศึกษารายกรณีควรพิจารณาดังนี้
- นักเรียนที่กำลังประสบปัญหา และต้องการความช่วยเหลือพิเศษหรืออย่างรีบด่วน เช่น
1.1 ปัญหาด้านการเรียน เช่น ขาดเรียนบ่อย มาโรงเรียนสายเป็นประจำ ผลการเรียนลดลง เรียนไม่ผ่านหลายวิชาอยู่ให้สภาพรอพินิจ เป็นต้น
1.2 ปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ใจร้อนวู่วาม อิจฉาริษยา วิตกกังวล อ่อนไหวง่ายมาก เป็นต้น
1.3 ปัญหาทางด้านความประพฤติ บุคลิกภาพและด้านสังคม เช่น พูดปดพูดจาหยาบคาย ลักขโมย ติดยาเสพติด ไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นในตนเอง ประหม่ากลัว เก็บตัว ปรับตัวไม่ได้ ขาดทักษะทางสังคม เป็นต้น
- นักเรียนที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง หรือมีความสามารถพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
2.1 ฉลาดเกินวัย
2.2 เรียนหนังสือเก่งมาก
2.3 เล่นดนตรี หรือแต่งเนื้อเพลงเก่ง
2.4 มีความสามารถสูงทางด้านศิลปะ
2.5 มีความเพียรพยายามสูง
2.6 เล่นกีฬาเก่งมาก
2.7 มีวาทศิลปะทางการพูดที่ดี
2.8 มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูง
2.9 มีสามารถทางการเขียนบทประพันธ์ได้อย่างยอดเยี่ยม
ฯลฯ
การคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการศึกษารายกรณี โดยสรุปการคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการศึกษารายกรณี ครูจึงควรพิจารณาจากนักเรียนที่มีลักษณะต่าง ๆ นักเรียนที่กำลังประสบปัญหา และต้องการความช่วยเหลืออย่างรีบด่วน และนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
ลำดับขั้นของการทำการศึกษารายกรณี
ลำดับขั้นของการทำการศึกษารายกรณี (นิรันดร์ จุลทรัพย์, 2539 : 210) มีดังนี้
- คัดเลือกนักเรียนที่จะทำการศึกษา โดยทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนว่าใครประสบปัญหาด้านใดบ้าง เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาด้านความประพฤติ ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม เป็นต้น หรือเป็นนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเป็นที่สนใจของคนส่วนใหญ่ในโรงเรียน ผลการเรียนดีเป็นเยี่ยมเป็นนักกีฬายอดเยี่ยม มีความสามารถสูงทางศิลปะ เป็นต้น
- รวบรวมข้อมูลเป็นการค้นหารายละเอียดข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวผู้ถูกศึกษาโดยพยายามรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อนำไปวิเคราะห์และวินิจฉัยต่อไป ข้อมูลที่รวบรวมนั้นควรได้มาจากตัวนักเรียนเองหรือผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียน เช่น บิดามารดา หรือผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท ครูประจำชั้น ครูประจำวิชา เป็นต้น โดยใช้เครื่องมือ เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การเยี่ยมบ้าน สังคมมิติ และแบบทดสอบชนิด
ต่าง ๆ เป็นต้น - วิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการแยกแยะให้เห็นรายละเอียดของข้อมูล และสภาพของข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
- วินิจฉัยข้อมูล (Diagnosis) เป็นการนำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาพิจารณาหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา หรือพฤติกรรมในทางบวกโดยใช้หลักทฤษฎีทางจิตวิทยามาเป็นพื้นฐานประกอบการพิจารณา การสรุปผลจากการวินิจฉัยในขั้นนี้อาจจะยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ก็เป็นแนวทางที่จะนำไปประกอบการสังเคราะห์ข้อเท็จจริงในขั้นต่อไป
- การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มารวมกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความมั่นใจในการวิเคราะห์ และวินิจฉัยได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น
- การให้ความช่วยเหลือ (Treatment) เป็นการคิดหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ให้ความช่วยเหลือ และแนะแนวทางในการแก้ปัญหา ตลอดจนช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจตนเองได้อย่างถูกต้อง และปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถตัดสินใจได้อย่างฉลาดโดยแบ่งวิธีการให้ความช่วยเหลือเป็น 3 วิธีการ คือ
6.1 การแก้ไข (Curative) ผู้ศึกษาสามารถใช้วิธีการแก้ไขเพื่อให้ความช่วยเหลือได้ดังนี้
6.1.1 ให้คำปรึกษา (Counseling) เพื่อให้คลายความกังวลใจโดยให้ผู้รับคำปรึกษา (Counselor) ได้เข้าใจในปัญหาจนกระทั่งสามารถหาทางแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
6.1.2 ส่งให้ผู้มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญในปัญหานั้น ๆ โดยตรงในกรณีที่ผู้ศึกษาพบว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่พบนั้น มีผู้ที่มีความสามารถช่วยเหลือได้อยู่ตรงประเด็นหรือในกรณีที่ผู้ศึกษาขาดความมั่นใจในการให้ความช่วยเหลือในปัญหานั้น ๆ
6.1.3 ถ้าเป็นปัญหาที่รุนแรงเกี่ยวกับทางด้านจิตใจจนเกิดความสามารถของผู้ศึกษาต้องหาทางส่งต่อ (Refer) ไปยังจิตแพทย์ หรือผู้มีความชำนาญโดยเฉพาะเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
6.2 การป้องกัน (Prevention) โดยการหาทางป้องกัน หรือสกัดกั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นในอนาคตโดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้รับการศึกษา เพื่อแนวทางในการปฏิบัติ
6.3 การส่งเสริม (Promotion) เป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้รับการศึกษามีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม กับสภาพการณ์ต่าง ๆ เป็นแรงเสริมให้เกิดกำลังใจในการสร้างเสริมสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้ดีขึ้น
- การติดตามผล (Follow-Up) เป็นการศึกษาถึงวิธีการต่าง ๆ ที่ได้ให้ความ
ช่วยเหลือแล้วนั้นว่าได้ผลประการใด มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่ควรต้องปรับปรุงแก้ไข
หรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง
โดยปกติการศึกษารายกรณี จะให้ความสำคัญไปที่กรณีศึกษาที่หาได้ยากหรือผิดปกติ ที่ได้รับข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ไม่แสดงออกของบุคคล พฤติกรรมถูกตรวจสอบในการศึกษารายกรณี ซึ่งจะไม่เป็นลักษณะทั่วไปของบุคคล เพื่อลดสภาพทั่วไปของพฤติกรรมการศึกษารายกรณีอาจไม่ถูกยืนยันด้วยการใช้แบบทดสอบ ผู้ศึกษาต้องระวังในการหาข้อสรุปของการศึกษารายกรณี แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษารายกรณีจะช่วยให้ผู้ศึกษาได้เริ่มต้นการตรวจสอบพฤติกรรม หรือการลำดับของพฤติกรรม ดังนั้น ผู้ศึกษาต้องมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา และการให้ความสนใจคำถามการวิจัย (Dawn M. Mcbride, 2010 : 52)
ลำดับขั้นของการทำการศึกษารายกรณี เริ่มต้นคัดเลือกนักเรียน รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล วินิจฉัยข้อมูล การสังเคราะห์ การให้ความช่วยเหลือ และการติดตามผล ตามกระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัว และพัฒนาตัวเองได้ โดยหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ให้ความช่วยเหลือ และแนะแนวทางในการแก้ปัญหา ช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจตนเองได้อย่างถูกต้อง และปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ต่าง ๆ ได้
จุดแข็งและข้อจำกัดของการศึกษารายกรณี
Philip R. Newman and Barbara M. Newman (1997 : 36) ได้ศึกษาจุดแข็ง และข้อจำกัดของการศึกษารายกรณี กล่าวโดยสรุปได้ว่า การศึกษารายกรณีมีข้อได้เปรียบก็คือ ทำให้เห็นการแสดงออกของพฤติกรรมที่มีความซับซ้อน และความเป็นเอกลักษณ์ของชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งการศึกษารายกรณีนำไปสู่การแยกแยะหลักทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้เข้าใจความเฉพาะเจาะจงที่เป็นรูปธรรมของแต่ละบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง บางกรณีจะให้รายละเอียดของประสบการณ์ที่ลึกซึ้ง แต่มีข้อจำกัดคือบางที่อาจะไม่ใช่การศึกษาในกลุ่มขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงปัญหาที่ผู้วิจัยให้ความสนใจผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษา การศึกษารายกรณีเคยถูกวิจารณ์ว่าไม่ถือว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่ชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นถ้าข้อมูลเป็นการรวบรวมด้วยความอคติ ดังนั้นข้อสรุปของการศึกษาจะไม่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการศึกษารายกรณี แต่ที่สิ่งสำคัญก็คือ การทำให้เกิดความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการศึกษา และไม่อคติเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการรวบรวมข้อมูล
จำเนียร ช่วงโชติ (2547 : 205) ได้กล่าวว่าข้อจำกัดของการศึกษารายกรณี มีดังนี้
- การศึกษารายกรณีต้องการเวลาเป็นจำนวนมากในการรวบรวบข้อมูล และการแปลความหมายของข้อมูลต่าง ๆ
- ในบางกรณีมีความลำบากมากในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตของเด็ก ข้อมูลที่ได้มาบางครั้งอาจไม่เพียงพอ อาจไม่ถูกต้อง และอาจมีปัญหาน่าสงสัย เป็นความจริงที่ว่า การทำประวัติรายกรณี และการศึกษาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของเด็กที่ได้รับการบันทึก และศึกษาจากบุคคลที่แตกต่างกันในเวลาที่แตกต่างกัน ย่อมอาจให้ข้อแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
- ความรู้ ความสามารถ ของบุคลาการทางด้านแนะแนว ทำให้การศึกษารายกรณีอยู่ในขอบเขตที่จำกัด กล่าวคือ ผู้แนะแนวหรือผู้ให้คำปรึกษาอาจจะ
3.1 ตัดทอน ย่อย่นกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ
3.2 ดำเนินงานแบบรวบรัด หรือข้ามขั้นไปสู่การสรุปรวบเร็วไป
3.3 ไม่มีความสามารถเพียงพอในการประเมินผลคุณค่าของข้อมูล
3.4 ขาดความเข้าใจเด็ก และเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผล
จุดแข็งและข้อจำกัดของการศึกษารายกรณี โดยสรุปจุดแข็ง และข้อจำกัดของการศึกษารายกรณีต้องการเวลาในการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ในบางกรณีมีความลำบากมากในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตของเด็ก ทั้งนี้ ผู้ทำการศึกษารายกรณีจำเป็นต้องฝึกฝนตัวเอง และมีประสบการณ์ในการศึกษารายกรณี และจุดแข็งของการศึกษารายกรณี ทำให้เห็นการแสดงออกของพฤติกรรมของแต่ละบุคคลได้อย่างมีรายละเอียดและชัดเจน
สรุป
การศึกษารายกรณีเป็นกระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณีเพื่อศึกษารูปแบบพัฒนาการของบุคคล สาเหตุของพฤติกรรม เพื่อให้บุคคลเกิดความเข้าใจในตนเอง ยอมรับความเป็นจริง ซึ่งเหตุผลของการใช้การศึกษารายกรณีเพื่อจุดประสงค์ให้การวิจัย เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการ ส่วนการรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษารายกรณี โดยสรุปการรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษารายกรณี จะเป็นการรวบรวมข้อมูลของเด็ก โดยใช้กลวิธีต่าง เพื่อทำความเข้าใจเด็ก เข้าใจสภาพปัญหาของเด็ก เข้าใจพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริม ป้องกันและวางแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมเด็ก ในการคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการศึกษารายกรณี จึงควรพิจารณาจากนักเรียนที่มีลักษณะต่าง ๆ นักเรียนที่กำลังประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลืออย่างรีบด่วน และนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษลำดับขั้นของการทำการศึกษารายกรณี เริ่มต้นคัดเลือกนักเรียน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล วินิจฉัยข้อมูล การสังเคราะห์ การให้ความช่วยเหลือ และการติดตามผล ซึ่งขอบเขตจำกัดของการศึกษารายกรณีต้องการเวลาในการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ในบางกรณีมีความลำบากมากในการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตของเด็ก จะเห็นได้ว่า การศึกษารายกรณีเป็นกระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลโดยใช้เครื่องมือ เทคนิค หรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดของข้อมูลแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจสภาพผู้ถูกศึกษา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงออกมา สาเหตุของพฤติกรรม เพื่อการวินิจฉัยในอันจะเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือนักเรียนและการช่วยส่งเสริม และพัฒนาความสามารถต่าง ๆ และช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจนักเรียนในความปกครองของตน ได้ดีขึ้นและสามารถที่จะให้ความร่วมมือแก่ทางโรงเรียนแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเด็กได้ด้วยดี
ข้อเสนอแนะ
การศึกษารายกรณีเด็กและวัยรุ่น ควรคำนึงถึงผลกระทบทางบวกและลบที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของประเทศไทยในแต่ละภูมิภาค
บรรณานุกรม
จำเนียร ช่วงโชติ. (2547). เทคนิคการแนะแนว. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2539). เอกสารคำสอนวิชาการแนะแนวเบื้องต้น. โครงการบริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การให้คำปรึกษาวัยรุ่น (Adolescent Counseling).
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ประยูรสาสน์ไทย; 2560.
ลักขณา สริวัฒน์. (2548). การศึกษารายกรณี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Dawn M. Mcbride. (2010). The Process of Research in Psychology. California: Saga
Publications. Inc.
Geoff Payne and Judy Payne. (2004). Key Concept in Social Research. London :
Sage Publications Inc.
Philip R. Newman and Barbara M. Newman. (1997). Childhood and Adolescence.
The United States of Amarica: an International Thomson Publish Inc.
Allison James and Adrian James. (2012).Second edition. Key Concepts in Childhood Studies. California: Great Britain by Bell & Bain Ltd, Glasgow.
Anthony D. Pellegrini, John Hoch and Frank J. Symons. (2013). Observing Children in Their Natural Worlds. 3rded. New York and London : Taylor & Francis Group.
- Philip Rice. (1999). The Adolescent: Development, Relationships and Culture.
United States of America : Allyn & Bacon; 1999.
Role E. Muss. (1990). Adolescent Behavior and Society. 4th ed. Singapore:
McGraw-Hill Publishing Company; 1990.
John. W. Santrock. (2014). Child Development. 14th ed. United Stated : McGraw-
Hill Education.
ศิริภิญญา ตระกูลรัมย์. (2563) การศึกษารายกรณีเด็กและวัยรุ่น วารสารศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 (มกราคม-มีนาคม 2563)
ความคิดเห็น