ผู้วิจัย

ภู่กัน เจ๊กไธสง

บทคัดย่อ

ผลงานสร้างสรรค์เรื่อง การดิ้นรนของชีวิต มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม โดยผู้สร้างสรรค์ได้แรงบันดาลใจมาจากรากของต้นไม้และเถาวัลย์ ที่มีรูปทรงคดเคี้ยวซึ่งเป็นส่วนประกอบของพืช ที่เจริญลงสู่ดิน ซึ่งมีหน้าที่ดูดซึมน้ำ แร่ธาตุและอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นของพืช และนอกจากนั้นยังช่วยพยุงให้ ลำต้นไม่ล้มง่าย หรือยึดเกาะกับต้นไม้อื่นๆอีกด้วย และแทรกรูปร่างของต้นไม้ที่ได้แรงบันดาลใจจาก ฮูปแต้มในสิมอีสาน โดยผู้สร้างสรรค์ได้แสดงออกผ่านรูปทรงของเส้นที่เกี่ยวพัน กอดรัดและเบียดเสียดกัน เพื่อ แสดงออกถึงชีวิตมนุษย์ตามวิถีของชีวิตที่ต้องอาศัยธรรมชาติ สังคม หรือสภาพแวดล้อม เมื่อได้เผชิญกับความ รู้สึกนี้จึงทำให้ผู้สร้างสรรค์มองว่าสังคมรอบข้างและมนุษย์ทั่วไปล้วนต้องมีการแก่งแย่งแข่งขัน ต่อสู้ ดิ้นรน รวม ทั้งการอยู่ร่วมกัน พึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะหาทางให้ตนเองนั้นมีความสุขหรือสามารถอยู่รอดในสังคมหรือ สภาพแวดล้อมที่ตนอยู่โดยผลงานแสดงออกผ่านรูปทรงของเส้นที่เกี่ยวพัน กอดรัดและเบียดเสียดกันในรูปแบบ นามธรรมที่แสดงถึงพลังของการดิ้นรนของชีวิต มีวิธีดำเนินการสร้างสรรค์โดยรวบรวมข้อมูลจากแรงบันดาลใจ เบื้องต้น ข้อมูลจากเอกสาร และอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความชัดเจนของแนวเรื่อง รูปทรงสัญลักษณ์ และเทคนิคกลวิธี สร้างสรรค์โดยใช้ทัศนธาตุและหลักการทางทัศนศิลป์ เพื่อตอบสนองแนว ความคิด เป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน การดิ้นรนของชีวิต เกิดขึ้นจากผู้สร้างสรรค์ได้พบเห็นสภาวะการ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในปัจจุบันที่มีทั้งการต่อสู้ ดิ้นรน แก่งแย่งแข่งขันกัน รวมทั้งการพึ่งพาอาศัยและการ อยู่ร่วมกันในสังคม โดยผู้สร้างสรรค์ได้แรงบันดาลใจของรูปทรงมาจากรากของต้นไม้และเถาวัลย์ที่มีการดิ้นรนเพื่อ จะหาอาหารหล่อเลี้ยงตนเองเพื่อเอาชีวิตรอด และรูปร่างของภาพวาด ฮูปแต้มของสิมอีสานผ่านรูปร่างต้นไม้ที่ ได้แรงบันดาลใจจากทิวทัศน์ของทิวต้นไม้ในทุ่งนา ผู้สร้างสรรค์ต้องการนำเสนอความรู้สึกของการดิ้นรนของชีวิตผ่านรูปทรงของเส้นที่กอดรัด เบียดเสียด กัน และแทรกรูปของทิวทัศน์ต้นไม้แบบอีสานที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงามการใช้ชีวิตอันเรียบง่ายถ้อยที ถ้อยอาศัยกันของชาวอีสาน ผ่านเทคนิคจิตรกรรมสีอะคริลิคในรูปแบบนามธรรม

บรรณานุกรม

นิทรรศการศิลปกรรม อนุภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 5

หน่วยงานการอ้างอิง

ศิลปกรรมอนุภาคลุ่มน้ำโขง

บทนำ
แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน การดิ้นรนของชีวิต เกิดขึ้นจากผู้สร้างสรรค์ได้พบเห็นสภาวะการ
ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในปัจจุบันที่มีทั้งการต่อสู้ ดิ้นรน แก่งแย่งแข่งขันกัน รวมทั้งการพึ่งพาอาศัยและการ
อยู่ร่วมกันในสังคม โดยผู้สร้างสรรค์ได้แรงบันดาลใจของรูปทรงมาจากรากของต้นไม้และเถาวัลย์ที่มีการดิ้นรนเพื่อ
จะหาอาหารหล่อเลี้ยงตนเองเพื่อเอาชีวิตรอด และรูปร่างของภาพวาด ฮูปแต้มของสิมอีสานผ่านรูปร่างต้นไม้ที่
ได้แรงบันดาลใจจากทิวทัศน์ของทิวต้นไม้ในทุ่งนา
ผู้สร้างสรรค์ต้องการนำเสนอความรู้สึกของการดิ้นรนของชีวิตผ่านรูปทรงของเส้นที่กอดรัด เบียดเสียด
กัน และแทรกรูปของทิวทัศน์ต้นไม้แบบอีสานที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงามการใช้ชีวิตอันเรียบง่ายถ้อยที
ถ้อยอาศัยกันของชาวอีสาน ผ่านเทคนิคจิตรกรรมสีอะคริลิคในรูปแบบนามธรรม
วัตถุประสงค์การสร้างสรรค์
1.เพื่อศึกษาการนำเสนอความรู้สึกของการดิ้นรนของชีวิตมนุษย์ตามวิถีของชีวิตที่ต้องอาศัยธรรมชาติ
สังคม หรือสภาพแวดล้อม ผ่านทางกระบวนการทางทัศนศิลป์
2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในรูปแบบนามธรรมแสดงออกผ่านรูปทรงของเส้นที่เกี่ยวพัน กอดรัด
และเบียดเสียดกันที่แสดงถึงพลังของการดิ้นรนของชีวิต
กระบวนการสร้างสรรค์
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.1 ข้อมูลจากแรงบันดาลใจเบื้องต้น
เก็บข้อมูลจากต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย เถาวัลย์ และต้นไม้ประเภทต้นไทร ที่มีการใช้รากในการ
ดิ้นรนเพื่อหารอาหารและมีพลังในการบีบรัด เบียดเสียดในสภาพแวดล้อมอันบีบคั้นเพื่อที่จะเอาชีวิตรอด
1.2 ข้อมูลภาคเอกสารผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาทฤษฎีทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกและการแสดงออก รวมไปถึงปรัชญาทาง
พุทธและหลักจิตวิทยา อันเป็นที่มาของความรู้สึกของพลังการดิ้นรน ซึ่งได้ศึกษาจากทั้งตำรา บทความ รวมถึง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงาน
1.3 อิทธิพลจากผลงานศิลปกรรม
ในการสร้างสรรค์ผลงานของผู้สร้างสรรค์นอกจากการศึกษาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมและข้อมูล
ในด้านเอกสารแล้ว การได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะของศิลปินท่านอื่นๆ จึงทำให้เกิดการวิเคราะห์ในแนวความ
คิด รูปแบบ และเทคนิควิธีการ เพื่อจะนำไปประยุกต์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 การวิเคราะห์เพื่อหาความชัดเจนของแนวเรื่อง
ผู้สร้างสรรค์ได้นำเอาแรงบันดาลใจเบื้องต้น และข้อมูลในด้านเอกสารมาศึกษาและทำความเข้าใจ โดย
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์เพื่อให้แนวเรื่องสามารถแสดงตัวบนรูปทรงและเทคนิคของผลงานที่ต้องการแสดงออก
รูปทรงบริสุทธิ์ด้วยการประสานกันของทัศนธาตุต่างๆ หลีกเลี่ยงรูปทรงที่ดูรู้เรื่องว่าเป็นรูปอะไร เพื่อไม่ให้ความรู้
เข้ามาแย่งความงามหรือความรู้สึกที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการแสดงออก
2.2 การวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปทรงสัญลักษณ์
ผู้สร้างสรรค์ได้นำเอารูปทรงข้อมูลแรงบัลดาลใจ และข้อมูลจากภาพถ่ายมาวิเคราะห์และสร้างจิตนา
การผ่านภาพร่างในหลายๆ แบบเพื่อพยายามหารูปทรงที่เป็นเอกภาพและเป็นสัญลักษณ์ของการดิ้นรนของชีวิต
3. การสร้างสรรค์ผลงาน
3.1 การจัดทำภาพร่าง
วิเคราะห์เพื่อทำภาพร่าง เป็นการวิเคราะห์เพื่อประเมินความคิดให้เกิดความสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้
สร้างสรรค์ต้องการที่จะนำเสนอโดยใช้จินตนาการในการสร้างสรรค์รูปทรงที่นำเสนอในรูปแบบของความรู้สึกที่
เกิดการดิ้นรน
3.2 การสร้างสรรค์ผลงาน
การวิเคราะห์ถึงอารมณ์ของผลงานทั้งในฐานะของผู้สร้างสรรค์และผู้รับชมผลงานนั้น เป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อเรารู้สึก ผู้อื่นก็ต้องรู้สึกคล้อยตามเช่นกันไม่ใช่รู้เพียงผู้เดียว ผลงานที่สมบูรณ์ย่อมหมายถึงทั้งอารมณ์ ความ
รู้สึกและองค์ประกอบของผลงาน ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้เลือกที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่จะสื่อถึงอารมณ์ที่ทำให้ผู้ชมผล
งานรู้สึกได้ถึงการดิ้นรนของชีวิตเมื่อได้รับชมผลงาน
สรุปผลการสร้างสรรค์
ผลการสร้างสรรค์พบว่า ผลการสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์ โดยผลงานสร้างสรรค์
ได้สะท้อนให้เห็นถึงการดิ้นรนของชีวิตของมนุษย์ในสภาวะอันบีบคั้นของช่วงชีวิตของมนุษย์ตามวิถีของชีวิตที่ต้อง
อาศัยธรรมชาติ สังคม หรือสภาพแวดล้อม เพื่อที่จะหาทางให้ตนเองนั้นมีความสุขหรือสามารถอยู่รอดในสังคม
หรือสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่ โดยผลงานได้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และทัศนคติด้วยเทคนิควิธีการสร้างสรรค์
ผลงานศิลปะผ่านผลงานรูปแบบนามธรรมให้เป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตนสอดคล้องกับแนวคิด และสามารถ
ให้อารมณ์ความรู้สึกตามที่ผู้สร้างสรรค์ได้มุ่งหวังได้

ความคิดเห็น