ผู้วิจัย

ปัทมาวดี วงษ์เกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานวิถีวัฒนธรรมของชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และสนทนากลุ่ม การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 19 คน และกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชน จำนวน 11 คน โดยเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการวิจัยพบว่า บริบทของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตีเหล็กบ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ซึ่งเป็น อัตลักษณ์ของชุมชนสวายจีกที่มีเรื่องราวทางวัฒนธรรม มีการสืบทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการตีเหล็กมาทั้งหมด 4 รุ่น มีลายเฉพาะที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นภูมิปัญญาที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 7 คน มีการผลิตผลิตภัณฑ์จากการตีเหล็กมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนในการตีเหล็กเป็นทั้งวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุหรือรูปธรรม ได้แก่ มีด จอบ เสียม ดาบ ตะขอช้าง กรรไกรตัดหมาก และสามารถผลิตสินค้าอื่นๆตามที่ลูกค้าต้องการได้ ส่วนวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุหรือนามธรรม ได้แก่ ความคิด ความเชื่อ ที่มีผลต่อการตีเหล็กของกลุ่ม ได้แก่ ความเชื่อในเรื่องของการเซ่นไหว้แม่สาวนาง เป็นความเชื่อว่าในอดีตคนที่ตีเหล็กคือผู้หญิง ในปัจจุบันคนตีเหล็กจึงต้องมีการทำพิธีเซ่นไหว้แม่สาวนางปีละครั้งด้วยพิธีบายศรีซึ่งเป็นพิธีแบบเขมรโบราณ จะช่วยให้ไม่เกิดอุบัติเหตุระหว่างการตีเหล็ก ทุกสิ่งอย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรค เมื่อมีการสืบทอดภูมิปัญญาการตีเหล็กจากรุ่นสู่รุ่นจะต้องมีการไหว้ครูโดยการเซ่นไหว้แม่สาวนางเช่นเดียวกัน หากความตั้งใจหรือภูมิปัญญาของผู้สืบทอดมีไม่ถึงก็จะไม่สามารถตีเหล็กได้อย่างราบรื่น จากอัตลักษณ์ วัตนธรรมชุมชนสวายจีกสามารถพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ได้ เช่น ของฝาก ของที่ระลึก โดยการใส่ความหมายและเรื่องราวของความเป็นวัฒนธรรมด้านความเชื่อเข้าไปในผลิตภัณฑ์ อย่างเช่น ตะขอช้าง ที่ปัจจุบันไม่มีการออกไปคล้องช้างป่าแล้ว คนในกลุ่มสามารถทำตะขอช้างเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ความหมายว่าสามารถเกี่ยวเงินเกี่ยวทองกลายเป็นของที่ระลึกที่มีคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งเป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงใหม่ ปรับเปลี่ยน ดัดแปลงมาจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ขายอยู่แล้วในตลาด มาทำให้สามารถตอบสนองความต้องการ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคได้มากขึ้น และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานวิถีวัฒนธรรมของชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มี 3 แนวทางดังนี้ 1) ต้องมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าและควบคุมระบบการผลิตให้มีความสม่ำเสมอ 2) จัดอบรมให้ความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และการให้ความหมายทางวัฒนธรรมในตัวผลิตภัณฑ์ 3) มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตีเหล็กให้เป็นที่รู้จัก

บรรณานุกรม

กรมส่งเสริมการเกษตร.(2548). วิสาหกิจชุมชน. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. กรรณิการ์ สายเทพ. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการส่งออกของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. เกษม กุณารี และคณะ.(2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วย ชมพูบนพื้นฐาการเลือกเอกลักษณ์ท้องถิ่น. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการ จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่. ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน.(2553).การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. เอกสารประกอบการเรียนการ สอนสาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ทยากร แซ่แต้. (2551). มายาคติทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในละครเกาหลีและการสร้างประโยชน์ ทางธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. เบญจวรรณ สุพันอ่างทอง. (2555). การใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ จังหวัดอุดรธานี.นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง.ในวาทกรรม อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส. ปานแพร เชาวน์ประยูร. (2555). ปาย : การสร้างอัตลักษณ์และการให้ความหมายเชิงสัญญะทาง วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว.ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาบริหารศาสตร์.มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ฝนวันจันทร์ ศรีจันทร์. (2543). การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของคนเมืองในประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา เมืองประวัติศาสตร์พิมาย. เชียงใหม่ วิทยานิพน์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พระอธิการทวน ผาสุโก.(2551). ประวัติหมู่บ้านสวายจีก.(online).available : https://sites.google.com/a/bru.ac.th/ เภา บุญเยี่ยม. (2557).ปะคำ:วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนเลี้ยงช้างภายใต้พลวัตการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาไทยศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. แนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์.(online).available : http://sucheeppost.blogspot.com/html มลชลีณา กิตติขจร และคณะ. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์กำแพงเพชรเพื่อพัฒนาศักยภาพ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหาร เชิงกลยุทธ์.มหาวิทยาลัยนเรศวร. มนัสนันท พจน์จิรานุกูล. (2559). องค์ประกอบเอกลักษณ์ การรับรู้ภาพลักษณ์แบรนด์วัฒนธรรม สุโขทัย และการมีบทบาทส่งเสริมแบรนด์ประเทศ. นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. เมธี พยอมยงศ์. (2544). เศรษฐกิจชุมชน:ทางเลือกเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. คณะธุรกิจ การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วิชิต นันทสุวรรณ. (2547). ขบวนการชุมชนใหม่ : การพัฒนาแบบแผนใหม่ทางเศรษฐกิจ และ สังคมของชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาทรัพยากรชุมชน. ศจี สุวรรณศรี. (2551). หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร.มหาวิทยาลัยนเรศวร. ศรีสุดา พรมทอง. (2550). วิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นบ้านกับการสืบสานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ของหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย-สุพรรณบุรี).นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. เสรี พงศ์พิศ (บก). (2544). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : _____________. (2546). แผนชีวิต เศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภูมิปัญญาไทย. สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการสงเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมสงเสริมการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ. (2548). คูมือการจดทะเบียนวิสาหกิจและเครือขายวิสาหกิจ ชุมชน สํานักพัฒนาการถายทอดเทคโนโลยีกรมสงเสริมการเกษตร. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชน พ.ศ. 2548. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). วิสาหกิจชุมชนคืออะไร .กรุงเทพมหานคร. (อัดสำเนา). อภิชัย พันธเสน. (2539). แนวคิดทฤษฎีและภาพรวมของการพัฒนา. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน). อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). การทบทวนทฤษฎี และกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : สํานักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์. แผนพัฒนาสามปี พ.ศ.2560-2562).งาน นโยบายและแผนองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. McCarthy, E. Jerome &. Perreault William D, Jr. (1990). Basic Marketing. (10th ed). Illinois. Ridchard D. Irwin,Inc.

ความคิดเห็น