ผู้วิจัย

ทิพวัลย์ แสนคำ สกรณ์ บุษบง

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบจัดการคลังเลือดออนไลน์พร้อมชุดอุปกรณ์แจ้งเตือนอุณภูมิตู้เก็บเลือดโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง กรณีศึกษา โรงพยาบาลพุทไธสง ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมจัดการระบบคลังเลือด (รับเลือด-จ่ายเลือด) ตรวจสอบอุณหภูมิภายในตู้เย็นจัดเก็บหมู่เลือด พร้อมทั้งแจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิออกนอกช่วงควบคุมให้แสดงผ่านไลน์บอท และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบคลังเลือดออนไลน์จากนักเทคนิคการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย NodeMCU และ Sensor DHT22/AM2302 โดยชุดโปรแกรมพร้อมชุดอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นจะทำหน้าที่ในการส่งค่าการควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เก็บเลือด และกล่องเก็บความเย็นที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเลือดที่ใกล้หมดอายุ เมื่ออุณหภูมิตู้เก็บเลือดต่ำกว่า 2 หรือ สูงกว่า 6 องศาเซลเซียส แล้วส่งค่าอุณหภูมิไปที่เว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อบันทึกข้อมูลแบบ Real-time ลง Google Firebase พร้อมแจ้งเตือนผ่านไลน์บอท สามารถแสดงค่าอุณหภูมิบน NETPIE Freeboards และส่งเสียงสัญญาณเตือนที่ตู้เก็บเลือดและกล่องเก็บความเย็นโดยใช้ Buzzer รวมทั้งสามารถตรวจสอบอุณหภูมิผ่านจอ LCD ที่ติดตั้งอยู่กับตู้เก็บเลือดได้ ผลการวิจัยพบว่า ชุดอุปกรณ์สามารถบันทึกค่าอุณหภูมิลงเว็บแอพพลิเคชั่น แล้วทำการส่งค่าอุณหภูมิตู้เก็บเลือดไปยังไลน์บอทแบบ Real-time ในกรณีที่อุณหภูมิไม่อยู่ในช่วง 2-6 องศาเซลเซียส หมู่เลือดที่ใกล้หมดอายุ โดยไลน์บอทจะทำการแจ้งเตือนอุณหภูมิและแจ้งเตือนหมู่เลือด 7 วันก่อนหมดอายุทันที นอกจากนั้น ยังสามารถติดตามตำแหน่งของกล่องเก็บความเย็นที่อยู่บนรถขนส่งกล่องเก็บความเย็นได้จาก RFID Tag แบบ Real-time โดยจะเห็นกล่องเก็บความเย็นเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่รถขนส่งกล่องเก็บความเย็นกำลังเดินทางในขณะนั้น โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการคลังเลือดออนไลน์พร้อมชุดอุปกรณ์แจ้งเตือนอุณภูมิตู้เก็บเลือด โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยที่ 4.43 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีผลการใช้งานด้านการใช้งานชุดอุปกรณ์แจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เก็บเลือดมากที่สุด เป็น 4.68

บรรณานุกรม

ชูวงศ์ สีตะพงศ์ และเฉลิมชัย. (2560). BloodBankTH ตัวช่วยจัดการข้อมูลการบริจาคโลหิต. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560 จาก http://www.digitalagemag.com/bloodbankth. ณัฐพล อิสโรฬาร. (2556). Arduino & Raspberry Pi สำหรับวัดความชื้นในอากาศ. วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2553). “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง,” การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี 2010 (Proceeding) ครั้งที่ 6, มิถุนายน 2553. ลำปาง : มหาวิทยาลัยโยนก. พรพิมล กันทะวงศ์ และคณะ. (2557). การควบคุมตู้อบแห้งแบบใช้ปั๊มความร้อนด้วยระบบสมองกลฝังตัว. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560 จาก https://prezi.com/wif-rg4q_ize/presentation/. มุหัมมัด มั่นศรัทธา, มูฆอฟฟัล มูดอ, อับดุลเลาะ สะนอยานยา และ ซุลกีฟลี กะเด็ง. (2560). “ระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติภายในห้องน้ำโดยใช้โครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย ESP8266/NodeMCU,” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(2) : 73-82. วีรศักดิ์ ฟองเงิน, สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และ รัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561). “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควขคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า,” วารสารการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม. 5(1) : 172-182. Andrej Škraba, Andrej Koložvari, Davorin Kofjač, Radovan Stojanović, Vladimir Stanovov and Eugene Semenkin . (2017). Prototype of Group Heart Rate Monitoring with NODEMCU ESP8266. Retrieved September 3, 2015 from https://ieeexplore.ieee.org/document/7977151. C. Gaja Priya M. AbishekPandu และ B. Chandra. (2017). Automatic Plant Monitoring and Controlling System over GSM Using Sensors. Retrieved September 5, 2015 from https://ieeexplore.ieee.org/document/8273710 Hari Shankar Singh and Uma Shankar Singh. (2017). Study on Google Firebase for Website Development (The real time database). Retrieved September 21, 2015 from www.ijetsr.com/images/short_pdf/1491130534_mit382_ijetsr_m.pdf. K.N.Manog Kumar Kailasa Akhi Sai Kumar Gunti และ M.Sai Prathap Reddy. (2016). Implementing Smart Home Using Firebase. Retrieved September 5, 2015 from http://euroasiapub.org/implementing-smart-home-using-firebase/.

ไฟล์แนบ

doc 203294-Article Text-649761-1-18-20190808-Edited newest

ขนาดไฟล์ 365 KB | จำนวนดาวน์โหลด 473 ครั้ง

ความคิดเห็น